svasdssvasds

เปิดชะตากรรม ‘ธุรกิจสายการบิน’ บนน่านฟ้าไทย ต้องเจอมรสุมอะไร ? ยุคโควิด-19

เปิดชะตากรรม ‘ธุรกิจสายการบิน’ บนน่านฟ้าไทย ต้องเจอมรสุมอะไร ? ยุคโควิด-19

อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้ธุรกิจอื่น ๆ คือ ธุรกิจสายการบิน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ต่างชาติ ที่มาทำธุรกิจน่านฟ้าไทย หรือแบรนด์ไทยแท้ ก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่นกัน วันนี้จะพาไปติดตามเรื่องนี้กันว่าที่ผ่านมามีสายการบินไหนดิ้นรนยังไงบ้าง

การระบาดของโควิด-19 ในไทย ที่ยอดยังคงพุ่งสูงต่อเนื่องรายวัน ทำให้ต้องมีการล็อกดาวน์เพื่อเร่งคุมสถานการณ์ให้ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ก็ต้องหยุดชะงักจากการล็อกดาวน์ด้วยเช่นกัน หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักสุด คือ ธุรกิจสายการบิน ต้องเงียบสงัดมาแล้วกว่า 2 ปีเต็ม ๆ และก็ยังไม่รู้ว่าจะฟื้นตัวได้ตอนไหน ที่สำคัญตอนนี้ธุรกิจสายการบินกำลังต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อมาเสริมสภาพคล่องอย่างมาก

สนามบินหลายแห่งยังเงียบเหงาจากโควิด-19 สนามบินหลายแห่งยังเงียบเหงาจากโควิด-19

วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาไล่เลียงดูว่าจากวันนั้นเมื่อ 2 ปีก่อน จนถึงวันนี้ที่โควิด-19 ยังไม่มีทีท่าที่ซาลงเลย ธุรกิจการบินเจออะไรมาบ้าง ตามรายละเอียดดังนี้

เปิดชะตากรรม ‘ธุรกิจสายการบิน’ บนน่านฟ้าไทย ต้องเจอมรสุมอะไร ? ยุคโควิด-19

1.ถูกสั่งงดบินหลายเส้นทาง

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ไม่ค่อยสู้ดีนักช่วงกลางเดือน ก.ค. 2564 จึงทำให้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้สั่งสายการบินห้ามเดินทางพื้นที่สีแดงเข้ม เริ่ม 21 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา ยกเว้นภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ พร้อมเน้นย้ำให้ทุกเที่ยวบินคุมผู้โดยสารห้ามเกิน 50%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• หยุดบินพื้นที่แดงเข้ม ฝันร้ายครั้งแล้ว ครั้งเล่า ‘ธุรกิจสายการบิน’

• reaking News : กพท.สั่งสายการบินห้ามบินในประเทศแล้ว โดยให้บินได้เฉพาะคาร์โก้ มีผล 21 ก.ค.นี้

• 4 สายการบิน พานักท่องเที่ยวบินตรงโครงการ ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์

2.ปรับจากเส้นทางบินไปอู่ตะเภา

หลังจากที่มีคำสั่งให้ธุรการบินหยุดบินในประเทศเพื่อคุมโควิด-19 ช่วงแรก ๆ มีสายการบินนกแอร์ ได้ประกาศเปิดฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา จ.ระยอง ที่ตอนนั้นยังไม่ได้ถูกจัดอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดพื้นที่สีแดงเข้ม แต่สุดท้ายระยองก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่สีแดงเข้มในเวลาต่อมา จึงทำให้ดับฝันไป

3.ลดเงินเดือนบางส่วน  พักงาน ไม่จ่ายเงินเดือน 100 %

ต้องยอมรับว่ามีหลายธุรกิจเลิกจ้างพนักงาน บางแห่งมีลดเงินเดือนเป็นจำนวน % ตามลำดับขั้น หรือบางแห่งก็ให้หยุดงานแบบไม่รับเงินเดือนไปเลย ในส่วนของธุรกิจสายการบิน ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น สายการบินไทยแอร์เอเชีย จ่ายเงินเดือน ก.ค. ให้พนักงาน 50% ที่เหลือเลื่อนไปจ่าย ก.ย.นี้ ทั้งจะหยุดประกอบกิจการทั้งหมดเป็นการชั่วคราวในเดือนส.ค. 2564 นี้เพื่อให้พนักงานทั้ง100% ไปเข้าเงื่อนไขช่วยเหลือของประกันสังคม

4.ปรับตัวขายอาหาร

ไม่เพียงแต่ธุรกิจโรงแรมเท่านั้น ที่ปรับตัวขายอาหาร หารายได้เพิ่มหลังจากที่นักท่องเที่ยวหดหาย ธุรกิจสายการบินก็ปรับตัวมาขายอาหารเช่นกัน ไม่เพียงแค่ในไทยเท่านั้นสายการบินต่อชาติ อย่างสายการบินอิสราเอล ก็ปรับตัวขายอาหารในยุคโควิด-19 ในส่วนของไทยก็มีหลายสายการบินที่ขายอาหาร อย่างเช่น การบินไทย ไทยแอร์เอเชีย และอื่น ๆ

5. 7สายการบิน เดินหน้าขอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

ก่อนหน้านี้มีสายการบิน 7 สาย ที่ได้ขอความอนุเคราะห์ ให้รัฐบาลในการอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อรักษาสภาพการจ้างงานพนักงาน ล่าสุ มีความคืบหน้า นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ นายกสมาคมสายการบินประเทศไทย ออกเปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้เพื่อรักษาสภาพการจ้างงาน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างปรับเงื่อนไขค้ำประกันสินเชื่อจากบสย.

 

 

related