svasdssvasds

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก

ในปี 2017 มีการประเมินว่าผู้คนกว่า 792 ล้านคน ประสบกับปัญหาสุขภาพจิต หรือ อาจเป็นผู้ป่วยจิตเวช แต่คิดเป็นเพียง 10.7% ของประชากรทั่วโลกเท่านั้น ในปี 2021 ผ่านโควิดมาแล้วกว่า 2 ปี ต้องยิ่งใส่ใจดูแลสุขภาพจิตให้ดี

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากทำกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ไปทั่วโลก หลายประเทศสั่งล็อกดาวน์ ทำให้คนหลายคนต้อง Work From Home ต้องอยู่แต่ในบ้านไม่ได้ออกไปไหน ซึ่งก็ทำให้หลายคนเครียดมาก แต่บางคนที่ตกงาน ป่วย เจอบิลค่ารักษา จนความเครียดเหล่านี้ก่อตัวอันนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต

มีรายงานที่เผยแพร่ใน Our World in Data ซึ่งถูกจัดทำโดย Institute for Health Metrics and Evaluation ทำการศึกษาภาระโรคระดับโลก ประเมินว่า ในปี 2017 ก่อนเกิดโควิดเป็นเวลา 2 ปี ประเมินว่าผู้คนกว่า 792 ล้านคนกำลังประสบกับปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งคิดเป็น 10.7% ของประชากรทั้งหมด (ปัจจุบันโลกเรา ในปี 2021 มีประชากรอยู่ที่ 7.9 พันล้านคน)

โดยพบว่า ผู้หญิงประสบกับปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ชาย เนื่องด้วยมีจิตใจที่อ่อนไหวกว่าผู้ชาย แต่ปัญหาสุขภาพจิตที่มาจากแอลกอฮอล์และสารเสพติดกลับพบว่าเพศชายมีมากกว่าเพศหญิงถึง 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ป่วยในประเภทนี้

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก

ใน 792 ล้านคน สามารถแบ่งเป็นจิตเวชได้ทั้งหมดคร่าวๆ 7 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

  • โรควิตกกังวล 35.5% (3.8% จากประชากรทั้งหมด)
  • โรคซึมเศร้า 32.7% (3.4% จากประชากรทั้งหมด)
  • โรคไบโพลา 5.6% (0.6% จากประชากรทั้งหมด)
  • โรคจิตเภท 2.8% (0.3% จากประชากรทั้งหมด)
  • โรคกินผิดปกติ 1.9% (0.2% จากประชากรทั้งหมด)
  • จิตเวชจากการติดแอลกอฮอล์ 13.1% (1.4% จากประชากรทั้งหมด)
  • จิตเวชติดสารเสพติด 8.4% (0.9% จากประชากรทั้งหมด)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ภาวะวิตกกังวล
เป็นภาวะจิตเวชที่พบได้มากที่สุดถึง 284 ล้านคน หรือคิดเป็น 35.5% ของผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด แต่ก็เพียง 3.8% ของประชากรทั่วโลก ซึ่งภาวะวิตกกังวลสามารถเกิดได้จากหลายรูปอาการ เช่น โรคกลัวสิ่งต่างๆ จำพวก Phobic ต่างๆ , โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder: OCD) , โรคจิตเวชหลังประสบสถานการณ์รุนแรง  (Post-Traumatic Disorder: PTSD) เช่นจากสงคราม การข่มขืน และโรควิตกกังวลทั่วไป

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก

โดยผู้ประสบภาวะวิตกกังวล เป็นผู้หญิงมากถึง 62.7% ในขณะที่เป็นผู้ชายเพียง 37.3%

-----------------------------

ภาวะซึมเศร้า
เรียกได้ว่าภาวะซึมเศร้า เป็นอาการที่ได้ยินบ่อยมากที่สุด จากการที่พบผู้ป่วยภาวะซึมเศร้ามากยิ่งขึ้น และการให้ความสำคัญกับผู้ป่วยซึมเศร้ามากขึ้น อย่างซีรี่ย์เรื่อง 13 Reasons Why ที่พูดถึงนักเรียนซึ่งป่วยเป็นภาวะซึมเศร้าตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง ซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากสภาพสังคม

ในปี 2017 ประเมินว่ามีผู้ที่เป็นภาวะซึมเศร้าอยู่ 264 ล้านคน ซึ่งมีมากเป็นลำดับที่สอง รองจากภาวะวิตกกังวล คิดเป็น 32.7% ของผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก

ภาวะซึมเศร้ามีความรุนแรงที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่น้อยจนถึงมากแต่อย่างไรในผู้ป่วยทุกระดับ จะพบอาการดังต่อไปนี้ :

  • ความสนใจในสิ่งต่างๆ ลดลง
  • ความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเอง ลดลง
  • ความรู้สึกผิดและความรู้สึกไร้ค่า มากขึ้น
  • มองโลกในแง่ร้าย และความเย็นชา มากขึ้น
  • ความต้องการทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาย มากขึ้น
  • การนอนหลับ ลดลง
  • ความอยากอาหาร ลดลง

-----------------------------

ภาวะไบโพลา
ไบโพลา หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ โรคอารมณ์แปรปรวน ก็เป็นอีกโรคที่เคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แต่กลับมีผู้ป่วยภาวะไบโพลาไม่เยอะอย่างที่คิด โดยประเมินว่ามีผู้ป่วยอยู่ที่ราว 5.6% ของผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด และเพียง 0.6% ของประชากรทั้งหมด หรือ 46 ล้านคนทั่วโลก

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก

ทางองค์การอนามัยโลก ระบุไว้ว่า :

"ความผิดปกตินี้มีลักษณะซ้ำ ซึ่งอารมณ์ของผู้ป่วยและระดับกิจกรรมของผู้ป่วยจะถูกรบกวนอย่างมีนัยสำคัญ ความผิดปกตินี้ประกอบด้วยบางครั้งของอารมณ์ที่เพิ่มขึ้น และพลังงานในการทำกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น เป็นอาการคึก หรือ ภาวะ Hypomania และเมื่อผ่านไปสักพัก ระดับอารมณ์ลดลง และพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ต่ำลง เป็นภาวะซึมเศร้า ซึ่งภาวะของทั้งสองอาการจะพบในปริมาณที่เท่ากัน วนกันไปเป็นลูปๆ จากการที่ผู้ป่วยทนทุกข์ทรมานจากภาวะคลุ้มคลั่งและซึมเศร้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า จะถูกจัดอยู่ในประเภท ไบโพลาร์"

-----------------------------

ภาวะจิตเภท
มีผู้ป่วยภาวะจิตเภท ราว 20 ล้านคน ซึ่งเป็น 2.8% ในผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด ซึ่งในผู้ป่วยจิตเวทนี่มีชาย-หญิงอย่างละครึ่งๆ ซึ่งโรคจิตเภท ที่ถูกกำหนดโดย IHME ตามคำจำกัดความของ WHO's International Classification of Diseases (ICD-10) เป็น:

"ข้อกำหนดปกติสำหรับการวินิจฉัยโรคจิตเภทคือต้องมีอาการที่ชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งอาการ และมักมีอาการอย่างน้อย 2 อาการหรือมากกว่านั้นหากไม่ชัดเจน"

-----------------------------

ภาวะกินผิดปกติ
ภาวะกินผิดปกติ หมายถึง ภาวะทางจิตเวชที่กำหนดโดยรูปแบบของการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นระเบียบ นี่จึงรวมเอาพฤติกรรมการกินที่ไม่เป็นระเบียบไว้ด้วย แต่โดยหลักแล้วสามารถแบ่งได้สองประเภท คือ กินมากเกินไป ซึ่งเป็นโรคบูลิเมีย (Bulimia Nervosa) กับ อาการเบื่ออาหาร (Anorexia)

ปัญหาสุขภาพจิต ประสบกับผู้คนมากกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก

ซึ่งในภาวะกินผิดปกติ เป็นจิตเวชที่พบน้อยสุดในทั้งหมด 7 ประเภทที่แบ่งมา พบเพียง 16 ล้านคน หรือคิดเป็น 1.9% ของจิตเวชทั้งหมด โดยจะพบว่าผู้หญิงเป็นภาวะกินผิดปกติได้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า

-----------------------------

ซึ่งนี่เป็นข้อมูลที่ประเมินขึ้นในปี 2017 ก่อนเกิดโควิด 2 ปี ปัจจุบันปี 2021 ซึ่งผ่านโควิดมาแล้ว 2 ปี จากความเครียดสะสมต่างๆ จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่า น่าจะมีผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตมากกว่า 10.7% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งทางสปริงนิวส์ ก็ได้มี 6 วิธีดูแลสุขภาพจิตใจท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ของ วัยรุ่นยุค New Normal มาให้เราดูแลรักษาใจกัน หรือ ใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเริ่มมีปัญหาสุขภาพจิตหรือยัง ก็มี หลายเหตุการณ์ชวนเครียด มาเช็กสุขภาพจิตใจ ผ่าน MENTAL HEALTH CHECK IN ให้ได้เช็กกัน

related