svasdssvasds

ข่าวปลอม!!! ผลิตภัณฑ์ Efferin ช่วยกำจัดไขมัน ต้านภาวะซึมเศร้า

ข่าวปลอม!!! ผลิตภัณฑ์ Efferin ช่วยกำจัดไขมัน ต้านภาวะซึมเศร้า

ข่าวปลอม!!! จากการพบโฆษณาผลิตภัณฑ์ Efferin ทางสื่อออนไลน์ โดยระบุสรรพคุณ กระตุ้นการเผาผลาญได้อย่างดีเยี่ยม ส่งเสริมการกำจัดไขมันขั้นสุด มีประสิทธิภาพในการต้านภาวะซึมเศร้า และยังช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น ได้ตรวจสอบกับทาง อย. แล้วว่าเป็นการโฆษณาเกินจริง

Efferin โฆษณาผลิตภัณฑ์ Efferin ทางสื่อออนไลน์  โดยระบุสรรพคุณ “กระตุ้นการเผาผลาญได้อย่างดีเยี่ยม ส่งเสริมการกำจัดไขมันขั้นสุด กระตุ้นเนื้อเยื่อไขมันสีน้ำตาล ช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ช่วยสลายและใช้งานไขมัน กำจัดไขมันส่วนเกินจากกระแสเลือด ทำให้เนื้อเยื่อไขมันลดลง มีประสิทธิภาพในการต้านภาวะซึมเศร้า ช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น” เป็นต้น โดยมีการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับแพทย์หญิงชื่อดังชาวไทยถูกไล่ออกจากประเทศชั้นนำ เนื่องจากปฏิเสธที่จะขายผลิตภัณฑ์เผาผลาญไขมันสูตรพิเศษให้แก่บริษัทยาในประเทศนั้น จึงได้กลับประเทศไทยและร่วมกับผู้ทรงอิทธิพลผลิตผลิตภัณฑ์เอฟเฟอร์รินขายเฉพาะในประเทศไทย

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เป็นข้อมูลลวงโดยผลิตภัณฑ์ Efferin ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอฟเฟอร์ริน Efferin Dietary Supplement Product เลขสาระบบอาหาร 10-1-03958-5-0272 โฆษณาดังกล่าวแสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ และแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด อีกทั้งผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค

ทางสำนักงานอาหารและยา แนะนำว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือสร้างเรื่องราวดึงดูดความสนใจที่เป็นไปไม่ได้ หากมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวควรปรับพฤติกรรมการบริโภค ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่ควรหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริงทางสื่อออนไลน์ เพราะอาจมีสารที่เป็นอันตราย มีผลข้างเคียงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

หากพบเห็นเบาะแสการโฆษณา การผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

บทสรุปของเรื่องนี้ : โฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ และแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานอาหารและยา ( อย.)