svasdssvasds

เช็กประกาศปรับให้บริการ ห้างสรรพสินค้า-ร้านค้าปลีก มีผล 16 ต.ค. 64

เช็กประกาศปรับให้บริการ ห้างสรรพสินค้า-ร้านค้าปลีก มีผล 16 ต.ค. 64

เช็กที่นี่! ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ตนอกห้าง ประกาศปรับเวลาให้บริการ สอดรับนโยบายคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศ มีผล 16.ต.ค. นี้!

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และนายนพพร วิฑูรชาติ นายกสมาคมศูนย์การค้าไทย ประกาศพร้อมปฏิบัติตามมาตรการการเฝ้าระวังการระบาดของโควิด เพื่อรับกับนโยบายเปิดประเทศที่รัฐบาลประกาศล่าสุด 

โดยจะยังเข้มงวดมาตรการเข้มข้นในการคัดกรองพนักงาน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้บริโภคเข้าศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก ตามปกติที่ดำเนินการ นับตั้งแต่วันเสาร์ที่ 16 ต.ค. 64 จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ ดังนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านในห้าง เปิดบริการถึง 22.00 น.
- ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ท นอกศูนย์การค้า เปิดปกติและปิดให้บริการ 22.00 น.
- ร้านสะดวกซื้อ ตลาด เปิดบริการได้ตั้งแต่ 04.00 - 22.00 น.
- ร้านอาหารในห้าง ปิดให้บริการ 22.00 น. นั่งทานในร้านได้ ร้านที่ไม่มีแอร์จำกัด 75% ของที่นั่ง ร้านที่ติดแอร์จำกัด 50% ของที่นั่ง
- ร้านอาหาร สามารเล่นดนตรีได้ แต่ยังงดจำหน่าย-ดื่มสุราในร้าน
- ร้านนวด สปา ร้านทำเล็บ ร้านสัก ในห้างเปิดได้ แต่ต้องจองล่วงหน้าและไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อคิว
- โรงหนัง เปิดได้ถึง 22.00 น. ต้องเว้นระยะห่าง หรือลดจำนวนผู้ชมเหลือ 50% ของที่นั่งทั้งหมด งดทานอาหารในโรงหนัง
- ตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม สวนสนุก สวนน้ำ ในห้าง ยังไม่เปิดให้บริการ
- ศูนย์ประชุม งานแสดงสินค้า นิทรรศการ ในห้าง จัดได้แต่ต้องไม่เกิน 50 คน ถ้าเกินแต่ไม่ถึง 500 คน ต้องขออนุญาตคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ

เช็กประกาศปรับให้บริการ ห้างสรรพสินค้า-ร้านค้าปลีก มีผล 16 ต.ค. 64

ทั้งนี้ ต้องเว้นระยะห่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และต้องปฏิบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคแนะนำอย่างเคร่งครัด หากมีประกาศของจังหวัดอื่นใดนอกเหนือจากนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศของจังหวัดนั้น

ทั้ง 2 สมาคมฯ มีความเห็นว่า การบรรลุเป้าหมายนโยบายเปิดประเทศ ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการจับมือวิ่งไปถึงเส้นชัยที่อยู่ไม่ไกลร่วมกัน

นอกจากนี้ ภาครัฐต้องเร่งฟื้นฟูศรษฐกิจอย่างจริงจังและตรงจุด สะท้อนผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ อาทิ มาตรการกระตุ้น การใช้จ่ายเพิ่มเติมในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีซึ่งเป็นไฮซีซั่น เช่น การนำ "มาตรการช้อปดีมีคืน" กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ กระตุ้นการจับจ่ายให้กลับมาคึกคัก

สมาคมฯ พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อก้าวผ่านจากการเยียวยาสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมั่นคง และยั่งยืน ควบคู่กับมาตรการควบคุมโรคที่เหมาะสม ด้วยหลัก Covid Free Setting และ Universal Prevention เพื่อให้ธุรกิจกลับมาเติบโตเข้มแข็ง

ข้อมูลจาก สมาคมผู้ค้าปลีกไทย

related