svasdssvasds

รัฐ-เอกชน หนุนสร้าง "ไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม" หนุนไทยแข็งแกร่ง

รัฐ-เอกชน หนุนสร้าง "ไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม" หนุนไทยแข็งแกร่ง

เวที เสวนา Virtual Forum "Thailand Platform ฝันกลางวัน หรือ ทำได้จริง" ภาครัฐและเอกชนประสานเสียง สนับสนุนร่วมสร้างแพลตฟอร์มประเทศไทย เสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการไทยในโลกยุคดิจิทัล

เวที เสวนา Virtual Forum "Thailand Platform ฝันกลางวัน หรือ ทำได้จริง" ภาครัฐและเอกชนประสานเสียง สนับสนุนร่วมสร้างแพลตฟอร์มประเทศไทย เสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการไทยในโลกยุคดิจิทัล

Virtual Forum "Thailand Platform ฝันกลางวัน หรือ ทำได้จริง"

นายปฐม อินทโรดม อุปนายกสมาคมดิจิทัลไทย กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า คนไทยรุ่นใหม่ใช้ชีวิตในโลกคู่ขนานบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม และ หมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายในชีวิตดิจิทัล เช่น การเป็นสมาชิก เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) Spotify ใช้ชีวิตกับดิจิทัลแพลตฟอร์ม สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ ที่พึ่งพาโกลบอลแพลตฟอร์มมากขึ้นเรื่อยๆ  เพราะการแพร่ระบาดของโควิด19 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนไปอย่างมหาศาล

ปฐม อินทโรดม อุปนายกสมาคมดิจิทัลไทย กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

นายปฐม สนับสนุนให้มี "ไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม" เพราะประเทศไทย มีผู้ผลิตคอนเทนต์ที่แข็งแรง ผลิตคอนเทนต์คุณภาพที่ไปเติบโตในหลายประเทศ โมเดลของการสร้างไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม ควรจะเป็นในรูปของภาครัฐสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินการ รัฐต้องไม่ลงไปแข่งขันกับเอกชน ภาครัฐควรเล่นบทเป็น Facilitator หรือ จะเป็น Regulator ก็ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

"ปวีณ ภูริจิตปัญญา" ผู้กำกับภาพยนตร์ GDH ร่วมเสวนาใน Thailand Platform (ไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม)

นายปวีณ ภูริจิตปัญญา ผู้กำกับภาพยนตร์ GDH มองว่า คอนเทนต์แบบโลคัล หรือ คอนเทนต์ภาพยนตร์แบบไทยๆ เป็นคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมเมื่อนำไปเผยแพร่ผ่าน แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง เน็ตฟลิกซ์ ดิสนีย์พลัส ในมุมของผู้ผลิตคอนเทนต์ ถือว่าเป็นโอกาสเผยแพร่ผลงานมากขึ้น "ไม่จำเป็นต้องหวังวินโดว์เดียวอีกต่อไปแล้ว" เพราะปัจจุบันพฤติกรรมผู้ชมเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง คนเสพคอนเทนต์ บนหลากหลายแพลตฟอร์ม

นายปวีณ มองว่า "คอนเทนต์" จะเป็นกุญแจแห่ง ความสำเร็จของไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม เพราะจะเป็นแม่เหล็กที่ดึงคนให้มาอยู่ในแพลตฟอร์ม มากกว่าค่าสมาชิก คอนเทนต์ต้องที่จะต้องมาลงในไทยแลนด์แพลตฟอร์ม ต้องมีคุณภาพและผลิตอย่างสม่ำเสมอเพื่อดึงดูดให้ผู้คนอยู่กับแพลตฟอร์ม ดังนั้นหากรัฐจะสนับสนุนต้องสนับสนุนให้ตรงจุด ในฐานะผู้ผลิตคอนเทนต์พร้อมจะผลิตคอนเทนต์ป้อนอย่างแน่นอน

ดร.ธราภุช จารุวัฒนะ นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และ ธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย

ดร.ธราภุช จารุวัฒนะ นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และ ธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า มีเม็ดเงินโฆษณาพร้อมสนับสนุน คอนเทนต์ ที่รวบรวมไว้บนแพลตฟอร์ม ประเทศไทย หรือ แพลตฟอร์มกลาง เพราะที่ผ่านมามีเม็ดเงินโฆษณา ที่กระจายอยู่ในแพลตฟอร์ม OTT ราว 2 พันล้านบาท แต่ยังอยู่แบบกระจัดกระจาย หากเทียบกับประเทศจีน ซึ่งสร้าง Ecosystem หรือระบบนิเวศน์ทางธุรกิจอย่างจริงจัง ทำให้มีแพลตฟอร์มกลางที่แข็งแกร่ง

"ไทยแลนด์แพลตฟอร์ม ยังไงก็ต้องเกิด ถ้าไม่มีอะไรที่เป็นดิสรัปชันยากๆ อุตสาหกรรมโตขึ้นเรื่อยๆ คนเราชอบที่จะบริโภคสื่อบันเทิง เราต้องไปแข่งกับโกลบอลแพลตฟอร์ม ในเมื่อมีเม็ดเงินโฆษณา 1 แสนล้านและเม็ดเงิน 2 พันล้านบน OTT โตขึ้นเรื่อยๆ อาจจะมีผู้ประกอบการคนไทยเริ่มมาทำและมีความสามารถในการเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามา อุตสาหกรรมโฆษณาพร้อมสนับสนุน" ดร.ธราภุช กล่าว

โดยสรุปแล้วภาคเอกชน มองว่า การสนับสนุนของภาครัฐอย่างถูกที่ ถูกทาง และเป็นไปอย่างมีระบบจะช่วยให้ไทยแลนด์ แพลตฟอร์มเกิดขึ้น

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

ขณะที่มุมมองของหน่วยงานภาครัฐ ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) มองว่าถ้าไทยมีแพลตฟอร์มของตัวเอง สามารถกำกับดูแลได้ง่าย และ ครอบคลุม เพราะที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนที่เกิดจากการใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากกว่า 4 หมื่นเรื่อง แต่ไม่สามารถจัดการได้หมด เพราะไม่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย และ ไม่มีกฎหมายควบคุม ดังนั้น ETDA อยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย เพื่อใช้ควบคุมแพลตฟอร์มต่างๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มต่างประเทศ เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันควบคู่กับการคุ้มครองผู้บริโภค

ผอ. ETDA ยืนยันด้วยว่า ภาครัฐกำลังขับเคลื่อน ในหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูล และ ผลักดันให้ประเทศไทยมีแพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นของตัวเอง โดยบทบาทที่ภาครัฐทำ คือ ชวนคนที่เกี่ยวข้องมาคุยกัน และ ขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานร่วมกัน เกิดการระดมสมอง ระดมทุน เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์มประเทศไทย

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)

ขณะที่ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) กล่าวว่า DGA หวังจะสร้างแพลตฟอร์มกลางของภาครัฐ นำไปสู่การให้บริการประชาชน และ บูรณาการข้อมูลของรัฐเข้าด้วยกัน เพื่อเปิดให้ประชาชนรวมถึงเอกชนเข้ามาใช้บริการ แพลตฟอร์มที่เริ่มไปแล้ว คือ แอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ที่เปิดให้หน่วยงานภาครัฐนำบริการต่างๆ มาอยู่บนแฟลตฟอร์มเดียวกัน เป็นแพลตฟอร์มกลางของรัฐ และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกันด้วย

นอกจากนี้ สนับสนุนให้เกิดการสร้างไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม โดยสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดไทยแลนด์ แพลตฟอร์ม คือ ภาครัฐต้องลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชน และรัฐต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภาครัฐไม่ควรทำเอง เพราะไม่คล่องตัว ดังนั้นทางออกควรจะต้องหาจุดแข็งของรัฐและเอกชนมาเสริมกัน

related