svasdssvasds

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพ : ช่วยผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาด้วยยานวัตกรรม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพ : ช่วยผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาด้วยยานวัตกรรม

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้จัด การประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพ (Health Technology Assessment: HTA) เพื่อรองรับความก้าวหน้าของนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ และขยายโอกาสการเข้าถึงตัวเลือกการรักษามะเร็งในประเทศไทย ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย นักวิชาการ และแพทย์ ทั้งจากประเทศไทยและนานาชาติ

ศ. นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ศ. นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวถึงความมุ่งมั่นของสถาบันที่จะสืบสานพระปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่มุ่งมั่นดูแลผู้ป่วยทุกเศรษฐสถานะในทุกพื้นที่ของประเทศให้ได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานระดับสากลว่า “การขยายโอกาสเข้าถึงการรักษาถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งหายขาดในที่สุด  นอกจากนี้ การลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรยังช่วยรักษากำลังการผลิตของภาคแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ

ศ. ดร. พญ.จิรายุ เอื้อวรากุล ศ. ดร. พญ.จิรายุ เอื้อวรากุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า “58% ของนวัตกรรมการรักษาที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drugs Administration: FDA) เป็นยาโรคหายากและยาโรคมะเร็ง แต่สำหรับประเทศไทย โอกาสการเข้าถึงการรักษายังคงเป็นอุปสรรคหลัก และนำสู่สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 50 ปี ซึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจนี้มีมูลค่าสูงถึง 0.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)”

ศ. ดร. ลู แกริสัน มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ด้านการดำเนินงานระดับสากล ศ. ดร. ลู แกริสัน มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้ยกตัวอย่างว่า “ในต่างประเทศ มีหลากหลายกลยุทธเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาได้ เช่น การทำข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ยา (Managed Entry Agreement: MEAs) กองทุนยามะเร็ง (Cancer Drug Fund: CDF) และการกำหนดเพดานความคุ้มค่าที่สูงขึ้นสำหรับโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอายุขัยน้อยกว่า 2 ปี (NICE’s End of Life (EoL) Criteria) เป็นต้น”

หวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญของการหารือเพื่อกำหนดนโยบายเบิกจ่ายยา ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากขึ้นได้อย่างทันท่วงที