svasdssvasds

หัวลำโพง : ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต หรือ ตูริน ?

หัวลำโพง  : ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต หรือ ตูริน ?

หัวลำโพง กำลังจะยุติการให้บริการในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ที่นี่เต็มไปด้วยศิลปะสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง และคาดกันว่า อาจจะได้รับแรงบันดาลใจจากสถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต และอาจจะมี ส่วนเกี่ยวข้องกับสถานีรถไฟตูรินด้วย จากการที่สถาปิกพื้นเพมาจากอิตาลี

สถานีรถไฟ หัวลำโพง หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สถานีรถไฟกรุงเทพ กำลังจะโบกมืออำลาการให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ 2564 นี้ โดย รฟท.จะหยุดให้บริการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง แล้วจะให้บริการสถานีสุดท้ายที่สถานีกลางบางซื่อในวันนั้น
.
หากเข็มนาฬิากาเดินไปถึงวันนั้น วันที่ 23 ธันวาคม คงจะถือเป็นวันสุดท้ายในการเดินรถไฟอย่างเป็นทางการของสถานีหัวลำโพง และนั่นจะทำให้ หัวลำโพง ปิดฉากการใช้งาน ด้วยอายุ 105 ปี พร้อมๆกับความเสียดายอาลัยของคนที่ยังรัก และยังอยากใช้ "หัวลำโพง" อยู่ 
.
สถานีรถไฟหัวลำโพง นับเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของกรุงเทพ และสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมในสไตล์ตะวันตก ซึ่งตามข้อมูลแล้ว หัวลำโพง เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือในปี พ.ศ.2453 หรือปี 1910 โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จฯ ทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ 2459 หรือปี 1916 
.
ตามข้อมูลจากรฟท. พบว่า หัวลำโพง มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง มีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ตในเยอรมนี (Frankfurt (Main) Hauptbahnhof) ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อปี 1888 (หรือก่อนหัวลำโพง 28 ปี) 

หัวลำโพง  : ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต หรือ ตูริน ?

หัวลำโพง  : ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต หรือ ตูริน ?

สถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต  (Frankfurt (Main) Hauptbahnhof) สถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต (Frankfurt (Main) Hauptbahnhof)  Crdit IG amiiirdez

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนี เช่นกัน ลวดลายต่างๆที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตรสวยงาม บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสาร จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคารเช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี โดยติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานี เป็นนาฬิกาที่สั่งทำพิเศษเฉพาะไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตแสดงให้เห็นเหมือนนาฬิกาอื่น ๆ นาฬิกาเรือนนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ควบคุมด้วยไฟฟ้าระบบดี.ซี.จากห้องชุมสาย เป็นเครื่องบอกเวลาแก่ผู้สัญจรผ่านไป-มา และผู้ใช้บริการที่สถานีกรุงเทพจนถึงปัจจุบันนี้

สถานีรถไฟปอร์ตา นูออวาแห่งเมืองตูริน (Stazione di Torino Porta Nuova)  Credit IG fabio_treccani_bs

สถานีรถไฟปอร์ตา นูออวาแห่งเมืองตูริน (Stazione di Torino Porta Nuova)  credit IG sonia_bertinat_psy
.
อย่างไรก็ตาม มีอีกหนึ่ง แนวทางความคิดที่เชื่อว่า "หัวลำโพง" อาจจะได้ แรงบันดาลใจ inspiration มาจากสถานีรถไฟในเมืองตูริน ประเทศอิตาลี ก็เป็นได้  เพราะหัวลำโพง มีสถาปนิกชาวอิตาลี 2 คนที่ช่วยกันออกแบบนั่นคือ คือ มาริโอ ตามัญโญ Mario Tamagno และอันนิบาเล ริก็อตติ Annibale Rigotti ซึ่งพื้นเพมาจากตูริน อิตาลี ซึ่งในสมัยนั้นมารับราชการให้ทางการไทย
.

โดยสถานีรถไฟที่ "อาจจะ" เป็นแรงบันดาลใจให้หัวลำโพง นั่นคือ สถานีรถไฟปอร์ตา นูออวาแห่งเมืองตูริน (Stazione di Torino Porta Nuova) ซึ่งอยู่ห่างจากไทยไป 11,000 กิโลเมตร และเปิดใช้งานเมื่อ ปี 1861 หรือก่อนหน้า หัวลำโพง 55 ปี และทั้ง มาริโอ ตามัญโญ และอันนิบาเล ริก็อตติ ซึ่งมาจากตูริน อิตาลี ย่อมเห็นสถานีรถไฟที่บ้านเกิดมาจนชินตา และการออกแบบหัวลำโพงนั้น ก็มีส่วนคล้ายคลึงกันอยู่ไม่น้อย
.
แต่ไม่ว่า หัวลำโพง จะรับแรงบันดาลใจจากสถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ต หรือ สถานีรถไฟตูริน หรืออาจจะเป็นการ ผสมผสานกันในหลายๆสถานที่ ก็ตาม...แต่ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ ทางเยอรมนีและอิตาลียังใช้สถานีรถไฟแฟรงค์เฟิร์ตและตูรินอย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม โดยที่แฟรงค์เฟิร์ตยังคงมีผู้คนใช้สัญจร 493,000 คนต่อวัน ,  ส่วนที่ ตูริน ยังมีคนใช้ สัญจรเกือบๆ 200,000 คนต่อวัน
.
ขณะที่ ย่านหัวลำโพง ของไทย เปรียบเสมือนประตูเมืองเก่าที่จะเข้าไปสู่พื้นที่วัฒนธรรมเก่าแก่ เช่น ย่านเยาวราช ย่านพระราชวัง ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ แต่ก็น่าเสียดาย...ที่เราจะไม่ได้ใช้ หัวลำโพง ในแบบที่เคยเป็นแล้ว...

related