svasdssvasds

กรมสรรพากร ให้ใส่ข้อมูลเงินได้จาก "คริปโทเคอร์เรนซี" ในแบบยื่นภาษีแล้ว

กรมสรรพากร ให้ใส่ข้อมูลเงินได้จาก "คริปโทเคอร์เรนซี" ในแบบยื่นภาษีแล้ว

สรรพากร เดินหน้าเก็บ "ภาษีหุ้น-เคอร์เรนซี" ดีเดย์ มีนาคม 65 นักลงทุนต้องกรอกข้อมูลกำไรคริปโทเคอร์เรนซี ในการยื่นแบบภาษีเงินได้ หากตรวจพบใครหลบเลี่ยงใช้ data analytics ตรวจสอบข้อมูลได้

 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า สำหรับการจัดเก็บภาษี "สินทรัพย์ดิจิทัล" (digital asset) อย่างคริปโทเคอร์เรนซีนั้น มีพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ระบุชัดเจนว่า สินทรัพย์ดิจิทัลหากมีกำไรหรือมีผลตอบแทนจากส่วนนี้จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ของกำไร และบุคคลที่มีเงินได้จากการซื้อขายคริปโทจะต้องยื่นแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เทรนด์ใหม่มาแรง! วัยรุ่นเจน Z มอบ "คริปโท" เป็นของขวัญคริสต์มาส-ปีใหม่

• ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ห้าม ใช้ คริปโต สินทรัพย์ดิจิทัล แต่เร่งแนวทางดูแล

• ใช้ Bitcoin บิทคอยน์ หรือ เงินคริปโต เหรียญไหน? ซื้ออะไรในไทยได้แล้วบ้าง?

 ดังนั้นในการยื่นแบบภาษีเงินได้ในเดือนมีนาคม 2565 สรรพากรจึงมีช่องให้เลือกสำหรับผู้ที่มีกำไรจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อให้ผู้เสียภาษีแสดงเงินได้ ซึ่งหากใครมีรายได้แล้วหลบเลี่ยงไม่ยอมยื่นทางกรมมีระบบ data analytics เพื่อตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งยังมีอำนาจในการออกหมายเรียกพยานได้ เช่น หากสรรพากรมีข้อมูลที่เชื่อว่าบุคคลดังกล่าวมีกำไรจากการซื้อขายคริปโทก็มีอำนาจเรียกเข้ามาให้ข้อมูลได้

 ทั้งนี้กรมสรรพากรกำลังศึกษาเรื่องการเก็บภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น (financial transaction tax) อัตรา ร้อยละ 0.1 จากมูลค่าการขาย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเก็บปีหน้า และทำให้มีรายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเหตุผลที่ต้องจัดเก็บเนื่องจากต้องสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ

 ล่าสุดจากรายงานข่าวแจ้งว่า กรมสรรพากร ให้กรอกเงินได้จาก คริปโทเคอร์เรนซี ในแบบยื่นภาษีแล้วโดยแบบยื่นภาษีที่จะใช้กันในปีนี้ ช่องที่ให้ใส่เงินได้จากการลงทุนจะมีคำว่า "ประโยชน์ใดๆ จากคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล"

นั่นหมายความว่าผู้มีเงินได้ทุกคนที่ได้ประโยชน์จากคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในปีที่แล้ว (ปี 2564) จำเป็นต้องใส่จำนวนเงินได้ของตนเองในแบบที่ยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อใช้ในการคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย

ต้องรอติดตามกันต่อไปว่าประโยชน์จากคริปโทเคอร์เรนซี จะคำนวณอย่างไร และถ้าคนใส่ข้อมูลไม่ครบ กรมสรรพากรจะตรวจเจอหรือไม่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องติดตาม 

 

 

 อย่างไรก็ตามสำหรับภาษีหุ้นทั่วโลกมีเก็บ 2 รูปแบบ คือ transaction tax และ capital gain tax (ภาษีกำไรจากการขายหุ้น) หลายประเทศเก็บทั้ง 2 รูปแบบ แต่ไทยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษาเพื่อจัดเก็บ transaction tax ซึ่งเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ และมีการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534

related