svasdssvasds

เรียนรู้แนวคิด ปุ้มปุ้ย คุณแม่ป้ายแดง เคารพสิทธิไม่เผยหน้าลูก

เรียนรู้แนวคิด ปุ้มปุ้ย คุณแม่ป้ายแดง เคารพสิทธิไม่เผยหน้าลูก

เรียนรู้แนวคิดของ "ปุ้มปุ้ย พรรณทิพา" คุณแม่ป้ายแดงที่ให้ความสำคัญเรื่องการเคารพสิทธิเด็ก ไม่ยอมเปิดเผยใบหน้าลูก จนกว่าลูกจะมีพัฒนาการสามารถบอกความรู้สึกได้

ปัจจุบันนี้การเคารพสิทธิเด็ก กลายเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมากขึ้น สังคมให้ความสนใจ คุณพ่อคุณแม่หลายรายต่างเริ่มตระหนักถึงสิทธิและความเป็นส่วนตัวของลูกน้อย ซึ่งทางฟากฝั่งคนดังในวงการบันเทิงไทยก็มีหลายคนที่เคารพสิทธิลูก หนึ่งในนั้นมี "ปุ้มปุ้ย พรรณทิพา" ภรรยาของ "กวินท์ ดูวาล" ที่เพิ่งกำเนิดลูกชายคนแรก "น้องไซอัลบลู สกาย ดูวาล" ไปหมาดๆ ด้วยวิธีแบบธรรมชาติ ท่ามกลางบรรยากาศการต้อนรับอย่างอบอุ่น

ถึงแม้จะมีเสียงจากแฟนคลับเรียกร้องว่าเมื่อไหร่คุณพ่อคุณแม่ป้ายแดงจะปล่อยภาพอวดโฉมลูกน้อยให้เห็นแบบเต็มๆ สักที แต่ดูเหมือนว่าคงต้องรอไปอีกนาน เพราะปุ้มปุ้ยก็เป็นอีกหนึ่งคุณแม่ที่ให้ความสำคัญในเรื่อง "สิทธิความเป็นส่วนตัวของเด็ก" เป็นอย่างมาก

เรียนรู้แนวคิด ปุ้มปุ้ย คุณแม่ป้ายแดง เคารพสิทธิไม่เผยหน้าลูก

เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปี 2564 ก่อนที่ "ปุ้มปุ้ย" จะคลอดลูกชาย เธอเคยได้ตอบกลับแฟนคลับรายหนึ่งที่ส่งข้อความเข้ามาถามไถ่ผ่านอินสตาแกรมสตอรี่ในประเด็น "คิดยังไงกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของเบบี๋ คนที่ติดตามจะได้เห็นน้องไหม?"

โดยงานนี้ "ปุ้มปุ้ย" ได้พูดคุยถึงมุมมองและแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องการเคารพสิทธิลูกชายของเธอไว้อย่างชัดเจน มีดังต่อไปนี้.....

"เป็นเรื่องที่คิดหนัก และทำการบ้านหนักมากเรื่องนี้ค่ะ ปุ้ยให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กจะได้รับจากผู้เลี้ยงดู 70 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าจะไม่มีใครได้เห็นค่ะ จนกว่าลูกจะเริ่มมีพัฒนาการด้านตัวตน สามารถบอกความรู้สึกได้ จำเป็นต้องขออนุญาตจากลูกก่อนค่ะ"

ซึ่งหลังจากที่หลายๆ คนได้ทราบคำตอบของปุ้มปุ้ยแล้วนั้น ต่างคอมเมนต์ชื่นชมในแนวคิดการเคารพสิทธิเด็กของเธอกันจำนวนมาก พร้อมทั้งบางรายจะนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูลูกน้อยอีกด้วย 

เรียนรู้แนวคิด ปุ้มปุ้ย คุณแม่ป้ายแดง เคารพสิทธิไม่เผยหน้าลูก

เรียนรู้แนวคิด ปุ้มปุ้ย คุณแม่ป้ายแดง เคารพสิทธิไม่เผยหน้าลูก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สะท้อนให้เห็นว่าเด็กทุกคนมีสิทธิที่ควรได้รับมาตั้งแต่เกิด ในฐานะความเป็นมนุษย์เช่นกัน ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับสิทธิเด็ก 4 ประเภท ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ใหญ่ทุกคน ควรตระหนักและให้ความสำคัญ ดังนี้

1. สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival)

คือสิทธิในการอยู่รอดปลอดภัยตั้งแต่เมื่อคลอด ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเกิดมาปกติ หรือเกิดมาพร้อมกับความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจก็ตาม

2. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development)

คือสิทธิที่จะได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาตามมาตรฐาน ความเป็นอยู่และโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย  รวมถึงการส่งเสริมเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

3. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection)

คือสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิด และการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้แรงงานเด็กเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation)

คือสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำ รวมถึงการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่ออนาคตของตนเอง

ที่มา : มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

สำหรับแนวทางในการแชร์ภาพของลูกหลานหรือเด็กๆ ลงในโซเชียลมีเดียนั้น มีการดำเนินการในการปกป้องเด็กและโพสต์ภาพหรือคลิป โดยไม่ให้กลายเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก ได้แก่

1. เพิ่มความเห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเราก่อนที่จะโพสต์ภาพหรือคลิปเด็ก อย่าคิดว่าแค่ขำๆ เพราะเด็กอาจจะไม่ขำ ไม่ตลกหรืออับอาย ไม่ควรนำไปเผยแพร่ ส่งต่อ หรือโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย

2. อย่าโพสต์คลิปและภาพเด็กลงโซเชียลมีเดียอยู่ตลอดเวลา เพราะเด็กจะขาดความเป็นส่วนตัวและมิจฉาชีพสามารถเข้าถึงตัวได้

3. พ่อแม่ควรทำหน้าที่พ่อแม่ ไม่ใช่เป็นสื่อถ่ายคลิปเวลาที่เด็กร้องไห้และต้องการคนปลอบใจ

4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลควรมีมาตรการในการดูแลที่จริงจัง เช่น กสทช. หน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลวิชาชีพอันเกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก เช่น ครู หรือเจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์

5. สื่อและประชาชน ควรร่วมกันรณรงค์ ห้ามปราม และให้ความรู้ในเรื่องการเผยแพร่ภาพหรือคลิปที่ไม่ละเมิดสิทธิเด็ก เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม ให้มีความยั้งคิดและชั่งใจถึงผลกระทบที่ตามมามากขึ้น โดยเฉพาะสื่อก็ไม่ควรเป็นตัวอย่างในการสร้างความคุ้นชินในการเผยแพร่ภาพหรือคลิปเด็กในรูปแบบที่เป็นการละเมิดเด็กด้วยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้กฎหมายของประเทศไทยในเรื่องการปกป้องคุ้มครองเด็กนั้น มีความเข้มแข็งไม่แพ้ประเทศอื่นๆ แต่ขึ้นอยู่กับจะนำมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กและสร้างแนวคิดที่ดีต่อสังคมต่อไป

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ โดย พริบพันดาว

related