svasdssvasds

สำรวจ 5 พฤติกรรมของประชาชน ที่อาจเสี่ยงโควิด-19 ช่วงเทศกาลตรุษจีน

สำรวจ 5 พฤติกรรมของประชาชน ที่อาจเสี่ยงโควิด-19 ช่วงเทศกาลตรุษจีน

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผย 5 พฤติกรรมเสี่ยงโรคโควิด-19 ช่วงเทศกาลตรุษจีน แนะประชาชนให้ลดสัมผัสปรับเปลี่ยนไปใช้ช่องทางออนไลน์ และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่พี่น้องชาวไทย เชื้อสายจีน มักจะมีการรวมกลุ่มพบปะญาติ-พี่น้อง ไหว้ตรุษจีน หรือรับประทานอาหารร่วมกัน แต่ด้วยสถานการณ์การการระบาดของโควิด-19 ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังพบการกลายพันธุ์สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ที่แม้อาการไม่รุนแรง แต่ก็ติดต่อได้ง่าย 

ในเทศกาลตรุษจีนนี้ ประชาชนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม เพื่อป้องกัน มิให้ตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดเกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดหรือติดโรคโควิด-19 ได้ โดยผลสำรวจการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคโควิด-19 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ของกองสุขศึกษา กรม สบส. 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

สำรวจ 5 พฤติกรรมของประชาชน ที่อาจเสี่ยงโควิด-19 ช่วงเทศกาลตรุษจีน

ซึ่งมีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 1,289 คน พบว่า ประชาชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงโรคโควิด-19 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 5 อันดับ ดังนี้  

  1.  ประชาชนซื้อของเซ่นไหว้บรรพบุรุษในตลาดแทน ร้อยละ 61.4 
  2.  ประชาชนนิยมให้อั่งเปาเป็นเงินสด ร้อยละ 54.4 
  3.  ประชาชนไม่มีการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ก่อนในการพบปะสังสรรค์กับญาติ ร้อยละ 29.5 
  4.  ประชาชนยังคงมีการรวมกลุ่มกินอาหารกับญาติพี่น้อง ร้อยละ 27.6 
  5.  ประชาชนไม่มีการสแกนไทยชนะหรือลงทะเบียนก่อนเข้าออกสถานที่ต่าง ๆ ร้อยละ 24.2 

ดังนั้น เพื่อป้องกันการติดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่มีการแพร่กระจายได้รวดเร็ว กรม สบส. ขอให้พี่น้อง ลดการสัมผัสปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจารกการจับจ่ายในตลาดให้เป็นการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การมอบอั่งเปาเงินสดก็เปลี่ยนเป็นการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทน ก่อนไปพบญาติพี่น้อง หรือญาติผู้ใหญ่ควรมีการคัดกรอง ATK ด้วยตนเอง และเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 

ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ประชาชนมีการเดินทางไปมาหาสู่จับจ่ายใช้สอยและทำกิจกรรมกับครอบครัวอาจเกิดการแพร่กระจายของโรคได้มากขึ้น จึงขอเน้นย้ำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ให้รีบตรวจคัดกรองด้วย ATK เพราะปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อที่สำคัญ มาจากการสัมผัสกันภายในครอบครัว หรือการรับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ลูกหลานกลับมากราบไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งผู้ติดเชื้ออาจได้รับเชื้อมาจากสถานที่ระบาดและแพร่กระจายเชื้อสู่คนใกล้ตัว หรือผู้สูงอายุ จึงต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) และยึดหลัก  D-M-H-T-T คือ เว้นระยะห่าง-สวมหน้ากากทุกครั้ง-ล้างมือบ่อยๆ-ตรวจเร็วควบคุมไว-ไปไหนสแกนไทยชนะ อย่างเคร่งครัด

related