svasdssvasds

ปีชงไม่ใช่ปัญหา นักษัตรไหนก็สะสมการ์ดเสี่ยงทาย & NFT ได้จาก 24 พิพิธภัณฑ์จีน

ปีชงไม่ใช่ปัญหา นักษัตรไหนก็สะสมการ์ดเสี่ยงทาย & NFT ได้จาก 24 พิพิธภัณฑ์จีน

พิพิธภัณฑ์ทั่วโลกตื่นตัวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรม และท่ามกลางกระแส NFT ที่ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ Alipay ก็ร่วมกับ 24 พิพิธภัณฑ์ในจีน ขายการ์ดเสี่ยงทายแบบ Virtual 5 คอลเล็กชัน และงานศิลปะดิจิทัล NFT จากโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์จีนอีกด้วย

คอลเล็กชันการ์ดเสี่ยงทายทั้ง 5 (Five Fortune Card Collection) หรือที่เรียกว่า Wufu กับชิ้นงานศิลปะดิจิทัล NFT ที่เพิ่งเผยโฉมให้ซื้อหาได้ในโลกดิจิทัลนี้ มาจากแคมเปญประจำปีของ Alipay ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากปีเสือและโบราณวัตถุตามราศีของชาวจีน

NFT ART, Chinese Zodiac | Source : AntChain

พาไปดูชิ้นงานศิลปะดิจิทัล NFT และการจัดจำหน่าย

สำหรับชิ้นงานศิลปะ NFT หากมองเป็นของสะสม ไม่ว่าจะอยู่นักษัตรไหนก็สามารถซื้อด้วยเงินหยวนดิจิทัลมาสะสมได้ เช่น ภาพ NFT ที่ปรากฏในรูปด้านล่าง ราคาสูงต่ำแตกต่างกันไป หรือถ้าเป็นการ์ดเสี่ยงทาย ระบุราคาไว้ที่ 19.9 หยวน หรือเกือบ 100 บาท

Source : twitter.com/AntChain

Source : twitter.com/AntChain

Source : twitter.com/AntChain

ในด้านการสะสม ค้นหา และแชร์คอลเล็กชันศิลปะดิจิทัล ผู้สนใจต้องทำผ่านแอป Topnod (鲸探) หรือที่เรียกว่า AntChain Fan Points (蚂蚁链粉丝粒) แอปพลิเคชันภายใต้แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) กับอีกช่องทางคือ Alipay Mini Program แพลตฟอร์มที่ Alipay พัฒนาไว้ใช้กับพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่ง

ลิสต์ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่เข้าร่วมแคมเปญ

  • พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ส่านซี (The Shanxi Museum)
  • พิพิธภัณฑ์เหอเป่ย (Hebei Museum)
  • พิพิธภัณฑ์อานฮุย (Anhui Museum)
  • พิพิธภัณฑ์เหอหนาน (Henan Museum)
  • พิพิธภัณฑ์นานกิง (Nanjing Museum Administration)
  • พิพิธภัณฑ์หูหนาน (Hunan Museum)

ตรุษจีนกับความเชื่อที่คุณอาจสนใจ

ตัวอย่างผลงานศิลปะดิจิทัลและศิลปินเจ้าของผลงาน

เชื่อว่าหลายคนคงนึกภาพไม่ออก ว่าจะแปลงชิ้นงานประเภท โบราณวัตถุ เป็น ชิ้นงานศิลปะดิจิทัล NFT ได้อย่างไร ด้านล่างนี้คือคลิปตัวอย่างกระบวนการออกแบบและสร้างผลงานศิลปะดิจิทัลและศิลปิน Chen Chao ที่มาจากพิพิธภัณฑ์หูหนาน

และอย่างที่คงจะพอรู้กันมาบ้างว่า แพลตฟอร์ม NFT ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน จึงแทร็กกลับไปได้ว่า เป็นชิ้นงานอะไร ผลงานของใคร เริ่มขายเมื่อไหร่ มีที่มาอย่างไร บล็อกเชนจึงมีประโยชน์ต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลมรดกของจีนอย่างยิ่ง

ที่สำคัญ ยังทำให้ผู้คนมีส่วนร่วมและคนรุ่นใหม่เข้าถึงโบราณวัตถุของชาติได้ใกล้ชิดขึ้นอีกด้วย

บล็อกเชนกับภารกิจฟื้นมรดกทางวัฒนธรรม

Source : twitter.com/AntChain

A tiger-themed artifact exhibited at Hebei Museum, available as digital collectables in the Topnod app.| Source : en.pingwest.com

มีข้อสังเกตจากรายงานฉบับล่าสุดเรื่อง บล็อกเชนช่วยฟื้นคืนมรดกทางวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลได้อย่างไร (How Blockchain Revives Cultural Heritage in the Digital Era) ของ มหาวิทยาลัยจงอิงไฉจิง (Central University of Finance and Economics) ระบุว่า

44.11% ของโบราณวัตถุในประเทศจีนอยู่ในรูปแบบดิจิทัล และยิ่งเป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าด้วยแล้ว เปอร์เซ็นต์ของการดิจิไทซ์โบราณวัตถุยิ่งสูงขึ้นถึง 67.82% ขณะที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์  ประเทศฝรั่งเศส และพิพิธภัณฑ์บริติช ประเทศอังกฤษ มีเปอร์เซ็นต์ของการดิจิไทซ์ชิ้นงานอยู่ที่ 75% และ 50% ตามลำดับ

แสดงให้เห็นว่า ชาติตะวันตกและตะวันออกต่างก็ตื่นตัวในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เห็นคุณค่าของสมบัติหรือมรดกทางวัฒนธรรมในแต่ละชาติ

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดในจีน ที่นำเสนองานศิลปะเพื่อสะสมในรูปแบบดิจิทัล NFT ผ่านแอป Topnod และถ้าย้อนดูภาพรวม ณ เดือนตุลาคม 2564 มีพิพิธภัณฑ์กว่า 2,000 แห่งในประเทศจีนที่เปิดตัวมินิโปรแกรมของแต่ละสถานที่บนแพลตฟอร์ม Alipay แล้ว

...........................

ที่มา

related