svasdssvasds

หมอยง เแจงอัตราเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีน mRNA ในวัยรุ่น

หมอยง เแจงอัตราเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีน mRNA ในวัยรุ่น

"หมอยง" แจงชัดอัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในวัยรุ่น การตัดสินใจจะรับวัคซีนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง แนะศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน

 โรคโควิด-19 ในปีแรกที่มีการระบาดเริ่มจากประเทศจีน อัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ประมาณ 3 ราย ในผู้ป่วยร้อยราย และต่อมาเมื่อเกิดการระบาดในยุโรป อัตราการเสียชีวิตก็ไม่ได้น้อยกว่านี้ และก็เช่นเดียวกันการเสียชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาในระยะแรก ก็มีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูง

ในระยะแรกยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน ลดอัตราการเสียชีวิต ทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง แนวโน้มอัตราการเสียชีวิตเริ่มลดลง หลังจากมีวัคซีนที่ใช้ ถึงกระนั้นก็ตามในทางตะวันตกก็ยังมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และมีอัตราสูงกว่าประเทศไทยเป็นเท่าตัว

 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ประเด็น วัคซีนโควิด-19 การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังให้วัคซีน mRNA ในวัยรุ่น โดยระบุว่า 

เป็นที่ทราบกันดีว่าวัคซีนมีความจำเป็น ในการป้องกันลดความรุนแรงของโรคโควิด-19

 จากการศึกษาในอิสราเอล เผยแพร่ในวารสาร NEJM (26 Jan 2022) เกี่ยวกับการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตามหลังการให้วัคซีน Pfizer ในวัยรุ่น อายุ 12-15 ปี จำนวนประมาณ 400,000 คน สำหรับเข็มแรก และประมาณ 320,000 สำหรับเข็มที่ 2 โดยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย ข้อมูลที่ได้พบเช่นเดียวกับการศึกษาในอดีต คือการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกือบทั้งหมด จะเกิดขึ้นในเข็มที่ 2 และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงมาก

การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ถึงกับต้องนอนโรงพยาบาล ในเด็กชายหลังเข็ม 2 วัคซีน Pfizer จะพบ 1 ใน 12,361 ในการได้รับเข็ม 2 ส่วนเด็กหญิง จะพบน้อยกว่ามาก พบในอัตรา 1 ใน 144,439 หรือน้อยกว่ากันเป็น 10 เท่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• หมอยง ชี้ความรุนแรงของโควิด-19 ลดลง อัตราการป่วยหนัก-เสียชีวิตเริ่มลดน้อย

• "หมอยง" เผยผลวิจัยวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย "ไฟเซอร์" ชี้ไทยเดินมาถูกทางแล้ว

• หมอยง เผย "โอไมครอน" แพร่ไวมาก จ่อเข้าแทนที่ "เดลตา" ทั้งหมดภายในเดือนนี้

 การวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะถูกแบ่งเป็น สงสัย น่าจะเป็น และยืนยันการเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในการยืนยันการเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะต้องอาศัย การตรวจ echo ที่ชัดเจนมาก หรือ MRI หัวใจ หรือ การตรวจชิ้นเนื้อจากการใส่สายตัดมาตรวจ ดังนั้นข้อมูลที่แท้จริงถึงกับยืนยัน คงจะได้น้อยกว่าความเป็นจริง เพราะการเกิดการอักเสบ จำนวนมากมีอาการไม่มาก และหายได้เอง

ภาพที่แสดงการยืนยัน เป็นรูปที่ได้จากการตรวจเด็กไทยหลังได้รับวัคซีน pfizer และตรวจยืนยันว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะ echocardiogram และ MRI ภาพ echo จะเห็นนํ้าอยู่ ในเยื่อหุ้มหัวใจ (pericarditis)

หมอยง เแจงอัตราเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีน mRNA ในวัยรุ่น

หมอยง เแจงอัตราเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีน mRNA ในวัยรุ่น

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่โรคโควิด 19 ยังคุกคามอย่างหนัก การให้เด็ก และ วัยรุ่นได้รับวัคซีน ยังมีประโยชน์ ในการป้องกันความรุนแรงของโรค

การตัดสินใจจะรับวัคซีนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองโดยชอบธรรม ในการตัดสินใจ ที่ได้ข้อมูลครบถ้วน

ที่มา : Yong Poovorawan

related