svasdssvasds

คนดังกับมุมมอง ทำไมต้อง #สมรสเท่าเทียม

คนดังกับมุมมอง ทำไมต้อง #สมรสเท่าเทียม

เปิดมุมมองของเหล่าคนดังในวงการบันเทิง ที่ออกมาเรียกร้องและหนุนสิทธิ #สมรสเท่าเทียม ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย

กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและจับตามองอีกครั้ง สำหรับกรณีเมื่อวานนี้ (9 ก.พ.65) ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ครม.นำพรบ.สมรสเท่าเทียม ที่จะเปิดทางให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสกันได้นั้น ให้ไปศึกษาก่อนรับหลักการ 60 วัน แม้จะมีเสียงโหวตเห็นชอบพรบ.สมรสเท่าเทียมถึง 219 คะแนนก็ตาม

งานนี้จึงเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกโซเซียล ส่งผลให้แฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม ทะยานขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเด็นสมรสเท่าเทียมเป็นเรื่องที่หลายคนตระหนักและอยากให้มีการเปลี่ยนแปลง โดยทางฝั่งคนบันเทิงเองก็มีหลายรายที่ออกมาเรียกร้องให้การสมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ดังนี้

หมอเจี๊ยบ ลลนา

เริ่มกันที่คุณหมอคนเก่ง "หมอเจี๊ยบ ลลนา" ที่สร้างบ้านหลังโตใช้ชีวิตคู่กับแฟนสาวนอกวงการ "เดียร์ บุศรา" ที่คบหากันมานานอย่างหวานชื่น จนแฟนๆหลายคนอยากเห็นภาพงานวิวาห์ ซึ่งงานนี้หมอเจี๊ยบเคยให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ คุยแซ่บ Show ถึงประเด็นสมรสเท่าเทียมไว้อย่างน่าสนใจว่า

"การสมรสเท่าเทียมมันเป็นสิทธิที่เราควรจะได้รับ เพราะการที่เรารักใครสักคน เราไม่ได้ต้องการจะแต่งงานเพื่อประกาศว่าเรารักกัน แต่เรามองอนาคต  มองการไกลว่าฉันอยากให้คู่รักของฉันมั่นคงในสิ่งที่ได้รับเหมือนชาย-หญิง"

"ดังนั้นเจี๊ยบก็รออยู่ว่าเมื่อไรกฎหมายมันจะออกมาเปิดโอกาสให้พวกเรากลุ่มนี้ สามารถมีสิทธิและมีการสมรสที่เท่าเทียมได้เหมือนคู่ชายหญิงจริงๆ ซึ่งถ้าเกิดวันนั้นมาถึงเมื่อไร แน่นอนเลยว่าเจี๊ยบจะไปวันนั้นทันที"

หมอเจี๊ยบ ลลนา

หมอเจี๊ยบ ลลนา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

วู้ดดี้ วุฒิธร

ถึงแม้ว่าพิธีกรมากฝีมือ "วู้ดดี้ วุฒิธร" จะควงแฟนหนุ่ม "โอ๊ต อัครพล" ที่คบหาดูใจกันมานานหลายสิบปี เข้าประตูวิวาห์อย่างเรียบง่ายที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อหลายปีก่อนแล้ว แต่วู้ดดี้ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการสมรสเท่าเทียม ออกมาพูดถึงอยู่บ่อยๆ เพราะถ้าหากประเทศไทยมี พ.ร.บ.คู่ชีวิต ทั้งคู่ก็จะแต่งงานกันอีกรอบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ซึ่งหากย้อนไปเมื่อปี 2563 วู้ดดี้เคยให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Apop Tonight ถึงมุมมองความคิดเกี่ยวกับกฎหมายสมรสเท่าเทียมไว้ดังนี้  

"สิ่งที่เราสามารถทำได้ คือการใช้ชีวิตบนความถูกต้อง เป็นแบบอย่างของคู่สมรสที่ดีให้ทุกคนเห็น ส่วนเรื่องของนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล หรือสิ่งที่จะเป็นผลลัพธ์ต่อจากนี้ไป เชื่อว่าทุกกระบวนการจะส่งผลดีเสมอ มั่นใจว่าทั้ง พ.ร.บ. คู่ชีวิตและกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ มันจะเกิดขึ้นในวันที่ใช่ ส่วนตัวยังมีความหวังให้เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้น"

วู้ดดี้ วุฒิธร

วู้ดดี้ วุฒิธร

ฝน ธนสุนธร

ปิดท้ายกันที่คู่รักที่เพิ่งเปิดตัวกับสื่อ นั่นคือคู่ของนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง "ฝน ธนสุนธร" และแฟนสาวหล่อ "เอ อุไรมนัส" ที่คบหาดูแลกันมานานกว่า 20 ปี ซึ่งทั้งคู่ได้คุกเข่าขอแต่งงานกลางรายการ วู้ดดี้โชว์ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยเทปดังกล่าวสาวฝน ก็ได้พูดถึงผลกระทบที่ไม่ได้รับสิทธิสมรสเท่าเทียมไว้อย่างน่าสนใจว่า  

"เรื่องของกฎหมาย ตอนนี้ก็ยังไม่มี บอกตรงๆ ว่าเราเป็นห่วงเขา เพราะว่าเราทำงานด้วยกัน หาเงินด้วยกัน เพราะฉะนั้นทรัพย์สมบัติคือเราไม่ได้หาคนเดียว เขามีส่วนร่วมช่วยกับเรา แต่พอไม่มีกฎหมายตรงนี้รองรับ ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับเราแล้วเขาจะเหลืออะไร ทั้งๆ เป็นคู่ชีวิตที่ช่วยหากันมา

ถ้าไม่มีกฎหมายอะไรรองรับ ขณะนั้นก็คิดเหมือนกันค่ะ ว่าจะเขียนพินัยกรรมยกให้กับเขา แต่ก็กลัวว่าจะมีปัญหาอะไรมั้ยเพราะคนละนามสกุลกัน ก็เลยมองว่าเราจะเซ็นให้เขาเป็นน้องบุญธรรม เพื่อที่จะนามสกุลเดียวกันกับเรา เขาจะได้ไปบริหารจัดการอะไรได้ มีหนทางนี้แค่หนทางเดียว"

ฝน ธนสุนธร

ฝน ธนสุนธร

นอกจากมุมมองความคิดของคนดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น วันนี้ทาง "สปริงบันเทิง" จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับการสมรสเท่าเทียมกันให้มากขึ้น ดังต่อไปนี้

สมรสเท่าเทียม คือ การได้รับสิทธิต่างๆ ขั้นพื้นฐานทางกฎหมายอย่างไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเพศ อาทิ สิทธิในการหมั้น สิทธิในการจดทะเบียนสมรส สิทธิในการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการเป็นทายาทโดยธรรม การรับบุตรบุญธรรม และการรับมรดกจากคู่สมรส

ชวนรู้จักประเทศที่สมรสเท่าเทียมได้ 

แม้การสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยจะยังไม่เกิดขึ้นและยังถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญและเปิดให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้แล้ว อาทิเช่น

1.เนเธอร์แลนด์

2.เบลเยียม

3.สเปน

4.แคนาดา

5.แอฟริกาใต้

6.นอร์เวย์

7.สวีเดน

8.โปรตุเกส

9.ไอซ์แลนด์

10.อาร์เจนตินา

11.เม็กซิโก

12.เดนมาร์ก

13.บราซิล

14.ฝรั่งเศส

15.อุรุกวัย

16.นิวซีแลนด์

17.สหรัฐอเมริกา

18.ไอร์แลนด์

19.โคลอมเบีย

20.ฟินแลนด์

21.มอลตา

22.เยอรมนี

23.ออสเตรเลีย

24.ไต้หวัน

25.ฮ่องกง

26.เอกวาดอร์

27.สหราชอาณาจักร

28.คอสตาริกา

29.สวิตเซอร์แลนด์

30.ลักเซมเบิร์ก

ที่มา : PPTV Online

related