svasdssvasds

"เครื่องจับเท็จ" อีกหนึ่งทางเลือกไขปมปริศนา คดี "แตงโม นิดา" ตกเรือสปีดโบ๊ท

"เครื่องจับเท็จ" อีกหนึ่งทางเลือกไขปมปริศนา คดี "แตงโม นิดา" ตกเรือสปีดโบ๊ท

เครื่องจับเท็จ ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการพิสูจน์ความจริงที่เกิดขึ้น จากคดีที่ดาราสาว "แตงโม นิดา" พลัดตกจากเรือสปีดโบ๊ท และเพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจของเพื่อนๆ ทั้ง 5 คนที่อยู่บนเรือ

 เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับเหตุการณ์ที่ "แตงโม นิดา" นักแสดงสาวชื่อดัง พลัดตกจากเรือสปีดโบ๊ทที่แม่น้ำเจ้าพระยา แถว จ.นนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.65 ซึ่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยใช้เวลาค้นหาร่างกว่า 36 ชั่วโมง จนกระทั่งวันที่ 26 ก.พ.65 เวลาประมาณ 13.00 น. พบร่าง แตง โมนิดา ลอยขึ้นมากลางแม่น้ำเจ้าพระยา ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายคนเกิดความแคลงใจในการตอบคำถามจาก 5 บุคคลบนเรือ ที่ไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็น โดยผู้คนในโซเชียลบางรายได้แสดงความคิดเห็นว่าอยากให้ตำรวจใช้เครื่องจับเท็จ มาพิสูจน์ความจริงที่เกิดขึ้น (เปิดข้อความ กระติก อิจศรินทร์ โพสต์ถึง แตงโม นิดา ครั้งแรก)   

จำลองเหตุการณ์คดี "แตงโม นิดา" ตกเรือ

 ล่าสุด พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม ผบก.สส.ภ.1 เผยว่า ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผบช.ภ.1 ให้ประสานเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องจับเท็จ และได้เตรียมเชิญตัว

• กระติก อิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์

• ไฮโซปอ ตนุภัทร เลิศทวีวิทย์

• แซน วิศาพัช มโนมัยรัตน์

• โรเบิร์ต ไพบูลย์ ตรีกาญจนานันท์

•จ๊อบ นิทัศน์ กีรติสุทธิสาธร โดยกล่าวว่า 

หากทั้ง 5 คน พร้อมเมื่อไหร่ก็ให้มาเข้าเครื่องจับเท็จเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ (ประโยคเด็ด กระติก อิจศรินทร์ ตอบปม แตงโม นิดา ตกเรือ)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• สรุปให้ โหนกระแส แตงโม นิดา กรรชัย เค้นดราม่า กระติก แซน คนบนเรือปมปัสสาวะ

• แซน วิศาพัช เพื่อนคนสุดท้ายที่เจอ แตงโม นิดา ไลฟ์สไตล์หรูหรา คฤหาสน์ใหญ่โต

• ประโยคเด็ด กระติก อิจศรินทร์ ตอบปม แตงโม นิดา ตกเรือ

 วันนี้สปริงจะพามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่สามารถจับโกหกสิ่งที่บุคคลนั้นพูดได้ โดยเครื่องนั้นมีชื่อว่า เครื่องจับเท็จ หรือเครื่องโพลีกราฟ เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการตรวจและบันทึกการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางสรีระ ที่ไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้ ซึ่งบันทึกออกมาในรูปกราฟที่สามารถนำมาประเมินผลวิเคราะห์ว่า พูดจริงหรือพูดเท็จ

จำลองเหตุการณ์คดี "แตงโม นิดา" ตกเรือ

 เครื่องจับเท็จ จะคล้ายๆ กับเครื่องมือทางการแพทย์ ด้วยการตรวจความดันโลหิต ระดับชีพจร อัตราการหายใจ และปริมาณเหงื่อที่เกิดขึ้นขณะพูด ซึ่งค่าเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันระหว่างคนที่โกหกกับคนที่พูดความจริง เพราะค่าดังกล่าวสามารถวัดถึงระดับความวิตกกังวล และความเครียดได้

อุปกรณ์เครื่องจับเท็จประกอบด้วย

• Pneumograph tupe  ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ

• Blood pressure cuff  ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต

• Galvanic skin reflex (GSR)  ใช้วัดความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง

• อุปกรณ์บันทึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเป็นถุงลมยางติดตั้งไว้ที่พนักพิงเก้าอี้

 เครื่องจับเท็จ จะแสดงผลเป็นเส้นกราฟที่มีการแกว่งขึ้นๆ ลงๆ เนื่องจากการที่คนเราจะโกหกเรื่องอะไรและเมื่อถูกกดดันจากการซักถามมากๆ จะเกิดความเคร่งเครียดและรู้สึกกดดันเพราะพยายามปิดสิ่งที่ตัวเองซ่อนไว้ทำให้กระบวนการทำงานของร่างกายผิดปกติ เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว เครื่องนี้ก็จะแสดงผลออกมาให้เราทราบ

จำลองเหตุการณ์คดี "แตงโม นิดา" ตกเรือ

หลักการทำงานของเครื่องจับเท็จ

 การใช้งานเครื่องจับเท็จ อาจจะเริ่มต้นโดยเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ 3-4 คำถาม โดยผู้เชี่ยวชาญจะเลือกคำถามมาใช้กับกับผู้ทดสอบ เพื่อให้เครื่องจับเท็จบันทึกสัญญาณร่างกายของผู้ทดสอบ โดยสัญญาณทั้งหมดจะบันทึกอยู่ในกระดาษอย่างต่อเนื่อง

 กราฟจะแปลผลออกมาจากความดันโลหิต ชีพจร และค่าการเหนี่ยวนำไฟฟ้าบนผิวหนังที่สูงต่ำไม่เท่ากันตลอดการสอบสวน ทั้งนี้ความแม่นยำจึงอยู่ที่ความสามารถของเครื่อง และการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ

ที่มา : The American Polygraph Association

ในปัจจุบัน เครื่องจับเท็จ ยังมีการใช้งานอยู่บ้าง แต่ใช้เป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบการสอบสวน ไม่สามารถใช้ยืนยันในชั้นศาลได้ว่าบุคคลดังกล่าวโกหกจริงหรือไม่

 

related