svasdssvasds

เต่ากาลาปากอสกำลังจะกลายเป็นเต่าสายพันธุ์ใหม่

เต่ากาลาปากอสกำลังจะกลายเป็นเต่าสายพันธุ์ใหม่

เต่ากาลาปากอสถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์หลังเอาไปเปรียบเทียบทุกสายพันธุ์บนโลกแล้ว แต่ไม่พบความใกล้เคียง จึงถูกสังเกตว่าอาจเป็นสายพันธุ์ที่อาจเคยสูญพันธุ์ไปแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เต่ายักษ์กว่า 8,000 ตัวบนเกาะกาลาปากอสของเอกวาดอร์ไม่ได้อยู่ในสายพันธุ์ที่มีอยู่บนโลกนี้ อย่างเชโลนอยด์ (Chelonoidis chathamensis) เต่าบกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติกาลาปากอสได้แถลงผลการศึกษาชิ้นใหม่ที่สรุปว่า เต่ายักษ์ที่อยู่บนเกาะซานคริสโตบัล (San Cristobal) แถวกาลาปากอสนั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกระบุว่าเป็นเต่าสายพันธุ์เชโลนอยด์ แต่ความสอดคล้องทางพันธุกรรมกับสายพันธุ์นั้นต่างกัน เต่ากาลาปากอส จากเอกวาดอร์

“นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าเต่าเกือบ 8,000 ตัวที่มีอยู่ทุกวันนี้บนซานคริสโตบัลไม่ใช่พันธุ์เชโลนอยด์ แต่มันสอดคล้องกับสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการอธิบายมาก่อน” กรมอุทยานกลล่าว

การค้นพบนี้เกิดจากการเปรียบเทียบทางพันธุกรรมของสัตว์กับตัวอย่างจากสปีชีส์ของเต่าที่มีการกำหนดสายพันธุ์ก่อนหน้าแล้ว หรือเรียกง่ายๆว่า พวกเขาเอาลักษณะทางพันธุกรรมเต่ากาลาปากอสมาเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เต่าในปัจจุบันที่มีบนโลกแล้ว แต่มันไม่ตรงกับเต่าสายพันธุ์ไหนเลย ผลการศึกษานี้มาจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล มหาวิทยาลัยเยล และการอนุรักษ์กาลาปากอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พวกเขาจึงคิดว่าเต่ากาลาปากอสเหล่านี้อาจเป็นสายพันธุ์เต่าที่เคยสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มันรอดตายมาได้

ทีมนักวิจัยกำลังกู้คืน DNA จากสายพันธุ์ที่คาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วขึ้นมาใหม่ เพื่อเปรียบเทียบและไขความสงสัยเรื่องนี้ให้กระจ่างมากขึ้น ว่าทั้งสองสายพันธุ์มีความสอดคล้องกันหรือไม่ (ระหว่างสายพันธุ์ที่พบในกาลาปากอสกับสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว)

การศึกษาทางพันธุกรรมของเต่ากาลาปากอสที่รอดตายมาได้เริ่มขึ้นในปี 1995 และ 4 ปีต่อมานักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มศึกษาตัวอย่างจากสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว กาลาปากอสซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพมากมายเป็นแรงบันดาลใจให้ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน กลายเป็นบ้านของนกฟลามิงโก อัลบาทรอส และนกกาน้ำหลายชนิด

เอกวาดอร์ได้ขยายเขตสงวนทางทะเลรอบเกาะ 60,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ในการพยายามขยายเขตคุ้มครองสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ให้ยังดำรงต่อไปได้บวกกับทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วินที่กล่าวว่าเกาะกาลาปากอสนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมากและสมควรที่จะได้รับการอนุรักษ์ต่อไป

หากเต่ากาลาปากอสเป็นสายพันธุ์เดียวกับเต่าที่สูญพันธุ์ไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีในการฟื้นฟูสายพันธุ์สัตว์ให้ยังคงอยู่กับโลกใบนี้ต่อไปได้ และถือเป็นการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศอีกด้วย

related