svasdssvasds

ไทยพบโควิด BA.2.2 จำนวน 4 รายหายดีแล้ว ยังเฝ้าระวัง หลังฮ่องกงระบาดหนัก

ไทยพบโควิด BA.2.2 จำนวน 4 รายหายดีแล้ว ยังเฝ้าระวัง หลังฮ่องกงระบาดหนัก

ไทยพบโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.2.2 แล้ว 4 รายเป็นชาวต่างชาติ 1 ราย และคนไทย 3 ราย ทั้งหมด อาการไม่รุนแรงและตอนนี้หายป่วยแล้ว ยังเฝ้าระวังหลังฮ่องกงระบาดหนัก แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องตรวจแยกสายพันธุ์ทุกราย

นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยข้อมูลผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย พบจากการสุ่มตรวจตัวอย่างสายพันธุ์ พบว่าในขณะนี้ เป็นการระบาดของ สายพันธุ์โอไมครอน ( B.1.1.529) ซึ่งมีการระบาดหลัก อยู่ 2สายพันธุ์ย่อย BA.1และBA.2 ซึ่งข้อมูลจากการสุ่มตรวจช่วงวันที่ 5-11 มีนาคม จากกลุ่มตัวอย่าง 1,961 ตัวอย่าง ทั้งจากผู้เดินทางจากต่างประเทศและการติดเชื้อในประเทศ

พบเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน 79 ราย เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1 จำนวน 610 ราย และสายพันธุ์ย่อย BA.2 จำนวน 1,279 ราย จึงพอสรุปได้ว่า สัดส่วนการแพร่ระบาดส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 คิดเป็นร้อยละ 67.6

ทั้งนี้มีข้อมูลข่าวในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ทีมีการติดตามเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของไวรัสพบเกิดการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ย่อย BA.2 ด้วยกัน3 ตัว ที่มีการเรียกชื่อเบื้องต้นไว้ คือ BA.2.1 / BA.2.2 /และ BA.2.3 ซึ่งในขณะนี้ แต่ละสายพันธุ์ย่อยยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน มีรายงานแต่การตรวจพบในฮ่องกง เท่านั้น จึงยังต้องรอข้อมูลก่อนการระบุชื่อที่ชัดเจน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เหล่านี้

โดยตัวที่มีการการเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลเป็นพิเศษในฮ่องกง คือสายพันธุ์ BA.2.2 ซึ่งมีข้อมูลพบมีการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากที่มีการติดเชื้อเฉลี่ย 5 หมื่นรายต่อวัน เพิ่มเป็น 2.5 แสนรายต่อวัน แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปข้อมูลความรุนแรงของสายพันธุ์ ต้องใช้เวลาในการติดตามข้อมูลอีก

โอไมครอน สายพันธุ์ ย่อย BA.2.2
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่วนของประเทศไทยในการเฝ้าระวังติดตามสายพันธุ์โอไมครอน มีการตรวจแยกสายพันธุ์และติดตามข้อมูลอยู่ตลอด พบมีกลุ่มตัวอย่างเข้าข่ายติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2.2 จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ 1 ราย และคนไทย 3 ราย ทั้งหมด อาการไม่รุนแรงและตอนนี้หายป่วยแล้ว

อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถที่จะระบุข้อมูลชัดเจนต้องรอการรายงานผลจากจีเซสก่อน ตอนนี้กรมวิทย์ฯยังมีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ ย่อย BA.2.2 ยังไม่มีความจำเป็นต้องตรวจแยกสายพันธุ์ทุกราย แต่หากเมื่อไรที่มีข้อมูลจำเพาะแล้วว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่อการแพร่ระบาด หรือความรุนแรงของโรค ก็จะมีการตรวจคัดแยกสายพันธุ์เฉพาะให้เยอะขึ้นสำหรับวางแผนคุมการการระบาด

ขณะที่นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ระบุสายพันธุ์ที่มีการระบาดในปัจจุบันพบว่าความรุนแรงของโรคลดน้อยลงและมีการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมประชากร ทำให้มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งนำไปสู่การปรับเป็นโรคประจำถิ่น ที่คาดว่าจะเริ่มในวันที่ 1 ก.ค. 2565 ขณะเดียวกันขณะนี้ประเทศไทย มีการประเมินจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่ามีศักยภาพในการควบคุมโรคในลำดับที่ดี

related