svasdssvasds

เช็กเลย! โอไมครอน BA.2.2 รุนแรงแค่ไหน ระยะฟักตัวกี่วัน ในไทยพบแล้ว 4 ราย

เช็กเลย! โอไมครอน BA.2.2 รุนแรงแค่ไหน ระยะฟักตัวกี่วัน ในไทยพบแล้ว 4 ราย

เปิดข้อมูล "โอไมครอน" BA.2.2 ความรุนแรง ฟักตัวกี่วัน แพร่เชื้อได้เร็วแค่ไหน เจอในไทยแล้ว 4 ราย หลังยอดดับในฮ่องกงพุ่งสูง

 จากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยที่ปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่พบว่าเป็นสายพันธุ์ โอไมครอน เกือบ 100% โดยโควิด โอไมครอนสายพันธุ์ใหม่ที่พบคือ โอไมครอน BA.2.2 (B.1.1.529.2.2) มหาภัยสายพันธุ์ใหม่จาก "ฮ่องกง"

 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า ขณะนี้ ประเทศไทยได้ตรวจพบกลุ่มตัวอย่างเข้าข่ายติดเชื้อโควิด "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย "BA.2.2" จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ 1 ราย และคนไทย 3 ราย ทั้งหมด อาการไม่รุนแรง และตอนนี้หายป่วยแล้ว

 ทำให้ขณะนี้เกิดกระแสกังวลว่า โควิด-19 โอไมครอนสายพันธุ์ใหม่ "BA.2.2" ซึ่งระบาดในหลายประเทศรวมถึงฮ่องกงในช่วงนี้ อาจเป็นภัยร้ายในอนาคตหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ไทยพบโควิด BA.2.2 จำนวน 4 รายหายดีแล้ว ยังเฝ้าระวัง หลังฮ่องกงระบาดหนัก

• โอไมครอน BA.2.2 มหาภัยสายพันธุ์ใหม่จาก ฮ่องกง ทำยอดพุ่งสูงสุดในโลก

• ดร.อนันต์ เผยผลวิจัย โอไมครอน ระบาดไว เพราะเกาะ พลาสติก แก้ว ได้นานกว่าเดิม

 "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 มีการกลายพันธ์ที่ตำแหน่งสไปก์โปรตีน I1221T โดยพบหลัก ๆ ในฮ่องกง การระบาดระลอกใหม่นี้ ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

 ทั้งนี้ข้อมูลจาก GISAID ที่เป็นฐานข้อมูลเชื้อก่อโรคโควิด-19 ของโลก พบว่า ณ วันที่ 13 มี.ค.2565 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ยังเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดหลักทั่วโลก ส่วน BA.2 ขณะนี้มีรายงานสายพันธุ์ย่อยแล้ว 3 สายพันธุ์

• BA.2.1 จำนวน 532 ราย

BA.2.2 จำนวน 68 ราย

• BA.2.3 จำนวน 1,938 ราย 

 

 ปัจจุบัน โควิด "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 ในฮ่องกงพบ 386 ราย อังกฤษ 289 ราย และประเทศไทย 4 ราย

 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยที่มาจากคนละสาย จำเป็นจะต้องมีการติดตามต่อไป แต่จากการประเมินเบื้องต้น ณ วันที่ 13 มี.ค. 2565 ใน 4 เรื่อง ดังนี้

ระยะฟักตัวและระยะเวลากักตัว เนื่องจากไม่มีข้อมูลแต่การกลายพันธุ์นี้ไม่ควรส่งผลต่อการฟักตัวหรือระยะแพร่เชื้อของสายพันธุ์นี้

ผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่มีข้อมูลว่ามีผลให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลง หรือหลีกหนีวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์โอไมครอนอื่นๆ

ความรุนแรงของโรค ไม่มีข้อมูลว่าอัตราป่วยและอัตราเสียชีวิตสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ ไม่มีข้อมูลทางระบาดวิทยามาสนับสนุนว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโอมิครอนที่มีการกลายพันธ์ สไปก์โปรตีน I1221T มีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์โอไมครอนอื่นๆ

ความสามารถในการแพร่ (transmission) จากข้อมูลทางระบาดวิทยาไม่มีข้อมูลว่าแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น

นักวิทยาศาสตร์ฮ่องกงและทั่วโลกกำลังประมวลผลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ BA.2.2 กับข้อมูลทางคลินิกเพื่อตอบปัญหาสำคัญ 6 ประการ

• BA.2.2 กลายพันธุ์ไปมากกว่า BA.2 หรือไม่ และตำแหน่งใดบ้างโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมโครงสร้างของหนามที่เปลือกของอนุภาคไวรัส

• BA.2.2 แพร่ระบาด (transmissibility) รวดเร็วกว่า BA.2 หรือไม่

• BA.2.2 ก่อให้เกิดอาการของโรคโควิดได้รุนแรง (severity) กว่า BA.2 หรือสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (variants of concern) อื่น ๆ เช่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา หรือไม่

• BA.2.2 สามารถด้อยประสิทธิภาพของวัคซีนลงมากกว่า BA.2 หรือไม่

 ยารักษาโมโนโคลนอลแอนติบอดีตัวใหม่ "โซโทรวิแมบ" (Sotrovimab) ที่ใช้ต่อต้านโอไมครอน ยังสามารถจับกับ BA.2.2 ได้อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของระบบทางเดินหายใจ  

ใช่หรือไม่ ที่ BA.2.2 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงทำสถิติสูงสุดในโลก 

ที่มา : Komchadluek

 

 

 

related