svasdssvasds

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

นักวิจัยไทยค้นพบ'ผึ้งหยาดอำพันภูจอง' ผึ้งชนิดใหม่ของโลก พบแห่งเดียวอาศัยเฉพาะถิ่น ในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 นางสาววราลักษณ์ เย็นใจ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานแถลงข่าวการค้นพบผึ้งชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมโกมุท ชั้น 4 อาคารเรียนและปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี โดยมีนายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในการแถลงข่าว

ผึ้งหยาดอำพันภูจอง (Phujong resin bee) หรือ Anthidiellum (Ranthidiellum) phujongensis n. sp. เป็นผึ้งเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย และพบได้เพียงที่เดียวเท่านั้นบนโลก โดยอาศัยอยู่ในรังบนผาดินมีการใช้ยางไม้ในการสร้างรังและปากทางเข้ารัง ภายในรังจะมีผึ้งตัวเมียเพียงตัวเดียวที่ทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่สร้างรัง วางไข่ และออกหาอาหารให้กับลูก

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ดร.ประพันธ์ ไตรยสุทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผู้ค้นพบ เปิดเผยว่า ในระหว่างการเดินทางไปเก็บตัวอย่างภาคสนามที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี ในโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพพื้นถิ่น ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. ในการพัฒนาพื้นที่อุทยานฯ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของประเทศและของโลกช่วงประมาณเดือนตุลาคมปี 2561 ทีมนักวิจัยพบรังผึ้งกลุ่มเล็กๆ 7 รังบนตลิ่งดินแนวดิ่ง จึงทำการขุดค้นรังทั้งหมด และนำกลับมายังห้องทดลองของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเพื่อทำการตรวจ

จากการเลี้ยงจนผึ้งโตเต็มวัย ในที่สุดก็สามารถระบุได้ว่าเป็นสายพันธุ์ชนิดใหม่ของ Ranthidiellum และตั้งชื่อว่า "ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" เป็นการตั้งชื่อสัตว์สายพันธุ์ใหม่ โดยให้เกียรติสถานที่ที่เขาอยู่อาศัย และลักษณะเด่นเฉพาะที่งดงามของเขา จะทำให้คนสนใจในสถานที่ที่ค้นพบและต่อยอดเศรษฐกิจในพื้นที่พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเรียนรู้ต่อไป

นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังได้ค้นพบผึ้งปรสิตชนิดใหม่ของโลกภายในรังของผึ้งหยาดอำพันภูจองอีกด้วย โดยได้ตั้งชื่อว่า ผึ้งบุษราคัม (Topaz cuckoo bee) หรือ Stelis flavofuscinular n. sp. โดยผึ้งชนิดนี้จะแอบวางไข่ในรังของผึ้งหยาดอำพันและแย่งอาหารของลูกผึ้งหยาดอำพันกิน

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" เป็นผึ้งเฉพาะถิ่นใน "อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย" และพบได้เพียงที่เดียวเท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในรังบนผาดินมีการใช้ยางไม้ในการสร้างรังและปากทางเข้ารัง โดยเฉพาะยางต้นเหียง หรือยางเหียง ที่ขึ้นในป่าเต็งรัง มีมากในอุทยานแห่งชาติภูจอง ภายในรังจะมีผึ้งนางพญาตัวเมียเพียงตัวเดียวที่ทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่สร้างรัง วางไข่ และออกหาอาหารให้กับลูก เพศเมียที่เป็นผึ้งงานจะมีเหล็กใน ใช้สำหรับป้องกันตัว ซึ่งมีพิษอยู่เล็กน้อย สามารถต่อยได้หลายครั้ง ต่างจากผึ้งพันธุ์ที่ให้น้ำหวานที่จะต่อยครั้งเดียวแล้วผึ้งจะตายไป เนื่องจากสลัดเหล็กในออกไม่ได้ ปกติผึ้งหยาดอำพันภูจองจะไม่ต่อยคนหากไม่ถูกรบกวนมากจนเกินไป ส่วนเพศผู้ หลังจากออกจากดักแด้ จะมีบทบาทเฉพาะการสืบพันธุ์กับเพศเมียจากนั้นก็จะตายไป

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

งานวิจัยชิ้นนี้นำโดย ดร.ประพันธ์ ไตรยสุทธิ์ จากสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และนายภากร นลินรชตกัณฑ์ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพพื้นถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. ในการพัฒนาพื้นที่อุทยานฯ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของประเทศและของโลก

สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านงานวิจัยได้ที่ https://doi.org/10.3897/zookeys.1031.57836

 

ที่มาข้อมูล Natapot Warritสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

related