svasdssvasds

นักวิทย์ค้นพบฟอสซิลนกยักษ์เรซัวร์จากยุคจูราสสิกใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ

นักวิทย์ค้นพบฟอสซิลนกยักษ์เรซัวร์จากยุคจูราสสิกใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ

Dearc sgiathanach นกเรซัวร์จากยุคจูราสสิกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา ถูกค้นพบในสกอตแลนด์ คาดตัวใหญ่สุดอาจสามารถมีขนาดเทียบเท่าเครื่องบินขนาดเล็ก

หากวันหนึ่งในขณะที่เรานั่งเครื่องบินอยู่แล้วมีนกขนาดใหญ่ คงจะแปลกใหม่และน่าหวั่นใจพอสมควร ว่ามันจะจู่โจมเครื่องบินเราไหมเนี่ย นั่นคือขนาดของนกยักษ์นาม ‘เรซัวร์ หรือ เทอโรซอร์’ ที่ครองนภาในยุคจูราสสิก เมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน มีคนค้นพบซากฟอสซิลของมันเมื่อเร็วๆนี้ แต่ความพิเศษคือ มีขนาดใหญ่มากกว่าที่เคยค้นพบมา

ช่วงน้ำลงบนเกาะสกายของสกอตแลนด์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหนึ่งในสมาชิกของทีม Amelia Penny, Ph.D.ที่กำลังออกล่าตามหากระดูกไดโนเสาร์ เขาได้มองไปยังโขดหินริมชายฝั่งและบังเอิญพบกับสิ่งหนึ่งที่เตะตามากๆ นั่นคือซากฟอสซิลของเรซัวร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบหรือมีการบันทึกไว้ตั้งแต่ยุคจูราสสิก

มันถูกค้นพบในปี 2017 และถูกเก็บตัวอย่างมาตั้งแต่นั้น บางครั้งเราเกือบจะสูญเสียมันไปเพราะกระแสน้ำเริ่มกลับมา นักวิจัยได้ศึกษากายวิภาคของมันและระบุว่ามันเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รู้จักมาก่อน พวกเขาให้ชื่อพวกมันว่า Dearc sgiathanach ซึ่งมี 2 ความหมายคือ “สัตว์เลื้อยคลานมีปีก” และ “สัตว์เลื้อยคลานจากฟ้า (Skye)” ตามภาษากาลิคของคนท้องถิ่นบนเกาะสกาย (An t-Eilean Sgitheanach) ที่หมายถึง “เกาะที่มีปีก”

โครงร่างขนาดและการวิเคราะห์ขนาดตัวของเรซัวร์โดย University of Edinburgh / Natalia Jagielska

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

D.sgiathanch หรือขอเรียกสั้นๆว่าเรซัวร์ ตัวที่ค้นพบนี้ มีปีกที่ยาวกว่า 2.5 เมตร หรืออาจใหญ่มากกว่า 3 เมตร มันอาศัยอยู่บนโลกใบนี้เมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน มันรวมอยู่ในกลุ่มเรซัวร์ยุคแรกที่เรียกว่า Rhamphorhynchidae

“D.sgiathanach เป็นเรซัวร์ที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จักจากยุคจูราสสิก และนั่นบอกเราว่าเรซัวร์มีขนาดใหญ่เร็วกว่าที่คิด เป็นเวลานานก่อนยุคครีเตเชียสเมื่อพวกมันต้องแข่งขันกับนกอื่นๆ” ศาสตราจารย์สตีฟ บรูซาตต์ (Steve Brusatte) นักบรรชีวินวิทยาใน School of GeoSciences แห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์

แม้ว่าสายพันธุ์สุดท้ายที่รอดชีวิตบางสายพันธุ์จะมีขนาดเท่ากับเครื่องบินมานานแล้ว แต่มันก็เหมือนถูกจำกัดขนาดลงเนื่องจากสภาพแวดล้อมทำให้ขนาดเล็กลงเหลือประมาณ 1.6-1.8 เมตร จากการคาดการณ์ขนาดจากต้นกำเนิดในยุคไทรแอสสิค จนถึงยุคจูราสสิก

ตัวอย่างของโครงกระดูกเรซัวร์ที่ค้นพบนี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุด และมันเป็น D.sgiathanach เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมว่าทำไมซากดึกดำบรรพ์จึงทำให้เราประหลาดใจได้อยู่เสมอ Dr. Natalia Jagielska นักบรรพชีวินวิทยาอีกท่านกล่าว

ภาพวาดจำลองของเรซัวร์โดย  University of Edinburgh / Natalia Jagielska

จากการทำ CT Scan ของกะโหลกศีรษะของมัน เผยให้เห็นกลีบแก้วนำแสงขนาดใหญ่ ซึ่งบ่งชี้ว่าสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ตัวนี้มีสายตาที่ดีเยี่ยม และเพื่อให้พวกมันบินได้สำเร็จ เรซัวร์มีกระดูกหลักที่มีผนักกระดูกที่บาง ทำให้ซากของพวกมันเปราะบางอย่างเหลือเชื่อและไม่เหมาะที่จะเก็บรักษาไว้ได้เป็นเวลาหลายล้านปี แต่ทว่าโครงกระดูกที่เราค้นพบนั้นคงอยู่ในสภาพที่บริสุทธิ์ ชัดเจนและเกือบจะสมบูรณ์เลยด้วยซ้ำ ฟันฉกปลาที่แหลมคมของมันก็ยังคงรักษาผิวเคลือบมันไว้ราวกับว่ามันยังมีชีวิตอยุ่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน

เทอโรซอร์ (ไม่ใช่ได้โนเสาร์) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดแรกที่รู้จักมีวิวัฒนาการการบิน ซึ่งเป็นความสำเร็จในการพัฒนาสรีระของพวกมันเมื่อ 50 ล้านปีก่อน เรซัวร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้คือมีอายุเมื่อประมาณ 230 ล้านปีก่อนในช่วงยุคไทรแอสซิก และก่อนหน้านี้เราก็รู้จักพวกมันในฐานะนกที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จนกระทั่งมาถึงช่วงยุคปลายจูราสสิกหรือยุคครีเตเชียส (145-66 ล้านปีก่อน) ยกตัวอย่างเช่น Quetzalcoathlus เป็นเรซัวร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปีกน่าจะมีความยาวประมาณ 11 เมตร ซึ่งหมายความว่ามีขนาดใหญ่พอๆกับเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กที่บินบนท้องฟ้าเมื่อ 70 ล้านปีก่อน

อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะบินได้ เทอโรซอร์ต้องการกระดูกที่บอบบางและน้ำหนักเบา นั่นจึงเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ซากดึกดำบรรพ์ของพวกมันแทบจะไม่สามารถกลายเป็นฟอสซิลได้เลย

การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของกระดูกเรซัวร์พบว่า มันยังโตไม่เต็มที่ ดังนั้นในขณะที่นกที่ตัวเต็มวัยตัวนี้จะมีขนาดใกล้เคียงกับนกบินที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันได้ เช่น อัลบาทรอสพเนจร (Diomedea exulans) แต่มีแนวโน้มว่า D.sgiathanach ที่โตเต็มวัยจะมีปีกที่ยาวกว่านั้นอีก

การศึกษานี้ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันอังคาร (22 ก.พ.) ในวารสาร Current Biology

ที่มาข้อมูล

https://www.livescience.com/giant-jurassic-pterosaur-scotland

http://www.sci-news.com/paleontology/dearc-sgiathanach-10580.html

https://www.cell.com/current-biology/fulltext/S0960-9822(22)00135-X

thank you pictures from twitter :  University of Edinburgh / Natalia Jagielska 

related