svasdssvasds

กรมวิทย์ฯ พบผู้ติดเชื้อโอไมครอน โควิดสายพันธุ์ XJ รายแรกในไทย

กรมวิทย์ฯ พบผู้ติดเชื้อโอไมครอน โควิดสายพันธุ์ XJ รายแรกในไทย

โควิดสายพันธุ์ XJ รายงาน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยัน  ตรวจพบ โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสมใกล้เคียง XJ แล้ว1 คนเป็นคนไทย ขณะที่ข้อมูลอาการรุนแรงหรือ หลบหลีกภูมิคุ้มกัน เบื้องต้นข้อมูลยังไม่มากพอโดย 1 คนสามารถติดเชื้อโควิดซ้ำได้ ข้ามสายพันธุ์ และคนละสายพันธุ์ย่อย

วันที่ 4 เม.ย. 65 ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึง การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 และการกลายพันธุ์ของเชื้อ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการสุ่มตรวจจำแนกสายพันธุ์ 2,000 ตัวอย่าง โดยใน 13 เขตสุขภาพ  เป็นโอไมครอน เกือบทั้งหมด โดยพบ เดลตา เพียงเล็กน้อย   โดยภาพรวม พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 92.2  โดยการแพร่ระบาดไวขึ้นกว่า BA.1 ซึ่งทำให้มีการติดเชื้อได้ง่ายกว่า และมีแนวโน้มที่BA.2จะระบาดแทนที่BA.1   ส่วนความรุนแรงของโรค จากข้อมูลที่มีการรวบรวมมาพบว่าไม่ได้มีข้อมูลที่แสดงว่ารุนแรงกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในช่วงที่ โควิด-19 มีการระบาด พบมีการผสมข้ามสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพบสายพันธุ์ลูกผสมด้วย แต่ หากไม่มีความรุนแรงในการแพร่ หรือในการหลบหลีกวัคซีนก็ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อโรคมาก 

กรมวิทย์ฯ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยXJ รายแรกในไทย

โดยตอนนี้ มีโอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม 3 ตัว  คือ XA XB XC ที่ระบบการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของโลก มีการยอมรับ ว่า มีการผสมจริง ส่วน ที่เหลืออยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบโอไมครอน สายพันธุ์ลูกผสม ใกล้เคียง โควิดสายพันธุ์ XJ 1 ราย  ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เหมือนกับโอมิครอนสายพันธุ์ XE ในอังกฤษ โดย เป็นชายไทยอายุ 34 ปี  พนักงานบริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง ลักษณะการทำงานเป็นการพบเจอคนมาก โอกาสที่จะเจอเชื้อ 2 ตัวในคนเดียวกันได้ โดยฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มตามไปแล้ว 2 เข็ม โดยตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ในโรงพยาบาลกรุงเทพฯก่อนที่จะส่งตัวอย่างเชื้อมาตรวจดูสายพันธุ์ โดยอาการของผู้ป่วยติดเชื้อรายนี้  รักษาหายแล้ว โดยมีอาการน้อย 

ทั้งนี้อยู่ระหว่างวิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบรายละเอียด ใรผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอีก 1 ตัวอย่าง แต่โอกาสที่จะพบความใกล้เคียงอยู่ที่ร้อยละ60 

กรมวิทย์ฯ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยXJ รายแรกในไทย

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อธิบายเพิ่มเติม ถึงหลักการคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์ลูกผสม ว่า มีไวรัสชนิดนึงที่เกิดจากผสมพันธุ์ของไวรัส2ชนิด ไม่ว่าจะข้ามสายพันธุ์เช่นเดลตากับโอมิครอน หรือ โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ที่พบในประเทศไทยนั้นจะใช้คำว่าใกล้เคียงโควิดสายพันธุ์ XJ ที่พบในประเทศฟินแลนด์ จากการวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่ายังไม่ตรงกันทั้งหมดแต่มีความใกล้เคียงกัน 

ส่วนกรณีที่ว่า จะแพร่ระบาดเร็วหรือไม่ หรือความรุนแรงของโรค ข้อมูลเบื้องต้น ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนจนพอ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรวมข้อมูล. 

ขณะที่ อาการต่างๆไม่ว่าจะเป็นโอมิครอน เดิมหรือโอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม พบว่าอาการไม่ได้แตกต่างกัน โดยยังคงเป็นอาการที่พบบริเวณทางเดินหายใจ

ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบโอไมครอน สายพันธุ์ลูกผสม ใกล้เคียง โควิดสายพันธุ์ XJ 1 ราย  ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เหมือนกับโอไมครอนสายพันธุ์ XE ในอังกฤษ โดย เป็นชายไทยอายุ 34 ปี  พนักงานบริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง ลักษณะการทำงานเป็นการพบเจอคนมาก โอกาสที่จะเจอเชื้อ 2 ตัวในคนเดียวกันได้ โดยฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มตามไปแล้ว 2 เข็ม โดยตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ในโรงพยาบาลกรุงเทพฯก่อนที่จะส่งตัวอย่างเชื้อมาตรวจดูสายพันธุ์  โดยอาการของผู้ป่วยติดเชื้อรายนี้  รักษาหายแล้ว โดยมีอาการน้อย 

ทั้งนี้อยู่ระหว่างวิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบรายละเอียด ใรผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอีก 1 ตัวอย่าง แต่โอกาสที่จะพบความใกล้เคียงอยู่ที่ร้อยละ60 

กรมวิทย์ฯ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยXJ รายแรกในไทย

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อธิบายเพิ่มเติม ถึงหลักการคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์ลูกผสม ว่า มีไวรัสชนิดนึงที่เกิดจากผสมพันธุ์ของไวรัส2ชนิด ไม่ว่าจะข้ามสายพันธุ์เช่นเดลตากับโอมิครอน หรือ โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ที่พบในประเทศไทยนั้นจะใช้คำว่าใกล้เคียง โควิดสายพันธุ์ XJ ที่พบในประเทศฟินแลนด์ จากการวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่ายังไม่ตรงกันทั้งหมดแต่มีความใกล้เคียงกัน 

ส่วนกรณีที่ว่า จะแพร่ระบาดเร็วหรือไม่ หรือความรุนแรงของโรค ข้อมูลเบื้องต้น ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนจนพอ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรวมข้อมูล. 

ขณะที่ อาการต่างๆไม่ว่าจะเป็นโอมิครอน เดิมหรือโอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม พบว่าอาการไม่ได้แตกต่างกัน โดยยังคงเป็นอาการที่พบบริเวณทางเดินหายใจ

related