svasdssvasds

ข่าวปลอม! สเปรย์ฉีดพ่นช่องปาก สารสกัดลำไย ฆ่าไวรัสโควิด

ข่าวปลอม! สเปรย์ฉีดพ่นช่องปาก สารสกัดลำไย ฆ่าไวรัสโควิด

ข่าวปลอม! จากที่มีการเผยแพร่โฆษณาทางสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สเปรย์ฉีดพ่นช่องปาก สารสกัดลำไย ฆ่าเชื้อไวรัส รักษาโควิด ป้องกันโควิดลงปอดนั้น ได้ตรวจสอบกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ

ข่าวปลอม! สเปรย์ฉีดพ่นช่องปาก สารสกัดลำไย ฆ่าไวรัสโควิด

อย. เตือนอย่าเชื่อโฆษณา สเปรย์ฉีดพ่นช่องปาก สารสกัดลำไย ที่อ้างสรรพคุณดักจับเชื้อป้องกันโควิดลงปอด เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ เสียเงินฟรี และเสียโอกาสในการรักษา เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจพบโฆษณาผลิตภัณฑ์สเปรย์สารสกัดลำไย รวมถึงสเปรย์ฟ้าทะลายโจร ขายผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ อ้างสรรพคุณฆ่าไวรัสโควิด-19 ดักจับเชื้อไวรัสก่อนลงปอด จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สเปรย์ฟ้าทะลายโจร จดแจ้งเป็นเครื่องสำอางใช้ฉีดพ่นในช่องปาก เพื่อระงับกลิ่นปากเท่านั้น ส่วนสเปรย์สารสกัดลำไย ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบสเปรย์ใช้สำหรับรับประทานไม่มีสรรพคุณใดๆ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ทั้งนี้ สเปรย์พ่นช่องปากที่มีส่วนผสมของสมุนไพร และแสดงสรรพคุณในการต้านไวรัส ป้องกันหรือรักษาโควิด จะต้องมาขึ้นทะเบียนเป็น “ผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ตามกฎหมาย แต่จนถึงปัจจุบัน อย. ยังไม่เคยอนุมัติ สเปรย์ฉีดพ่นช่องปากที่แสดงสรรพคุณในการต้านหรือป้องกันเชื้อโควิด-19 แม้แต่รายการเดียว อย่าหลงเชื่อพวกฉวยโอกาสหลอกขายสินค้าที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพจาก อย. ตามที่โฆษณา

รองเลขาธิการฯ อย. ย้ำหากมีอาการเจ็บป่วยใดๆ แนะให้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา สำหรับผู้ประกอบการที่แสดงข้อความก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางเป็นการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณเป็นเท็จ หรือหลอกลวง เกี่ยวกับอาหาร ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว หรือแชร์ข้อมูลในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ หากต้องการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับอนุญาตสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าผิดกฎหมายแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Facebook: FDAThai Line @FDAThai หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สเปรย์สารสกัดลำไย ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบสเปรย์ใช้สำหรับรับประทานไม่มีสรรพคุณใดๆ ในการรักษาโควิด

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)