svasdssvasds

หมอธีระเตือน "Long Covid" ผลกระทบจาก "โอไมครอน" เสี่ยงเป็นปัญหาเรื้อรัง

หมอธีระเตือน "Long Covid" ผลกระทบจาก "โอไมครอน" เสี่ยงเป็นปัญหาเรื้อรัง

หมอธีระ เตือน โอกาสเกิดภาวะ "Long Covid" จาก "โอไมครอน" ระบาดระลอก 4 อาจสูงหรือต่ำกว่าระลอกก่อนหน้า อาจเป็นปัญหาเรื้อรังระยะยาว บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

 ภาวะ "Long Covid" คือ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยและตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว แต่ยังมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือนหลังติดเชื้อ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงตั้งแต่ต้น มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ระยะเวลาของอาการมีตั้งแต่หลายเดือนจนถึงเป็นปี หลายอาการรักษาได้ แต่หลายอาการต้องรักษาระยะยาว และอาจมีผลต่อร่างกายถาวร

 ด้านรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เนื่องในวันเเรงงาน 1 พ.ค. โดยขอให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการปรับวิธีการทำงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" และ ภาวะ "Long Covid"  โดยระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด ทั้ง RT-PCR และ ATK นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 จนถึงวันนี้ มีจำนวน 3,613,348 คน มีชีวิตที่สูญเสียไปถึง 6,919 คน

ในขณะที่ในรอบสองปี ตั้งแต่ 2563-2564 ที่ผ่านมา มีคนติดเชื้อรวม ATK ไปราว 2.6 ล้านคน เสียชีวิตไป 21,698 คน รวมแล้วการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ชวนรู้สาเหตุภาวะ Long Covid มีมากกว่า 200 อาการ และพบได้ทุกระบบของร่างกาย

• หมอมนูญ ชี้ สังเกตุอาการ Long Covid มีอะไรบ้าง?

• รู้จัก อาการลองโควิด Long Covid เพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม

 ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่รู้เเน่ชัดว่า การติดเชื้อสายพันธุ์ "โอไมครอน" (ระลอกสี่) ในปีนี้นั้นจะมีโอกาสเกิด "Long Covid" สูงกว่า เท่ากับ หรือน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิม (ระลอกแรก) สายพันธุ์ G (ระลอกสอง) สายพันธุ์อัลฟ่าและสายพันธุ์เดลต้า (ระลอกสาม) มีโอกาสเกิดภาวะ Long COVID 20-40% เป็นตัวเลขที่สูงมากเพราะจะทำให้มีผู้ป่วยสูงหลักล้านคน ที่จะประสบปัญหาระยะยาวที่บั่นทอนสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน และส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายทั้งต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

หมอธีระเตือน "Long Covid" ผลกระทบจาก "โอไมครอน" เสี่ยงเป็นปัญหาเรื้อรัง

 

 แม้มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด "Long Covid" ได้ราว 41% ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ใช้ แต่มีงานวิจัยในระยะหลังที่ได้ผลมาหักล้าง โดยชี้ให้เห็นว่าการฉีดหรือไม่ฉีดนั้นก็มีอัตราการเกิด "Long Covid" ไม่ต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรประมาท การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อจึงสำคัญมาก ทั้งสำหรับประชาชนทั่วไป รวมถึงนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบกิจการต่างๆ 

ที่มา : Thira Woratanarat

related