svasdssvasds

กฎหมายแรงงาน เตือน โพสต์เลิกจ้างนักข่าว ผิดจรรยาบรรณสื่อ อาจเข้าข่ายประจาน

กฎหมายแรงงาน เตือน โพสต์เลิกจ้างนักข่าว ผิดจรรยาบรรณสื่อ อาจเข้าข่ายประจาน

เพจ กฎหมายแรงงาน โพสต์เตือน การประกาศเลิกจ้าง "นักข่าว" ลงเพจเฟซบุ๊ก อาจมีประเด็นเรื่องผิดจรรยาบรรณสื่อเข้ามาเพิ่มอีก และอาจเข้าข่ายประจานให้เสียชื่อเสียง แนะ! เรื่องนี้ควรกระทำการอย่างระมัดระวัง

จากการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ "หลวงปู่แสง" ก่อนหน้านี้ ได้มีกระแสดราม่าตีกลับ เนื่องจากมีนักข่าวสาวรายหนึ่งปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม จนเป็นที่มาของการโพสต์ลงโทษจากสำนักข่าวดัง และลงเอยด้วยการประกาศเลิกจ้างตามมา โดยให้เหตุผลว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชนในการทำข่าว

โดยเพจเฟซบุ๊ก กฎหมายแรงงาน ได้เตือนถึงกรณีนี้ว่า "แยกกันให้ออกนะ เรื่องที่เขาทำผิด เขาถูกลงโทษด้วยการเลิกจ้างไปแล้ว โทษจึงล้างการกระทำของเขาไปแต่การโพสต์ ชื่อ-นามสกุลเขา ทางเพจของสำนักข่าวซึ่งเป็นนายจ้าง อาจต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง

การโพสต์ ชื่อ-นามสกุล หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นอาจเป็นการกระทำในลักษณะการประจานที่เกินขอบเขตมากไป ยิ่งเป็นสื่อที่มีผู้เข้าถึงจำนวนมาก หรือมีผู้ติดตามจำนวนมากต้องระวัง เพราะการได้มาซึ่งข่าวสารที่กระทบหรือล่วงล้ำเข้าไปในสิทธิมากเกินไปอาจทำให้สิ่งนั้นไม่ชอบธรรม

เคยมีคดีที่ลูกจ้างฟังว่านายจ้างเลิกจ้างโดยระบุความผิด และให้ฝ่ายบุคคลส่งหนังสือเลิกจ้างผ่าน E-mail ให้พนักงานในแผนกทราบสาเหตุการเลิกจ้าง

ลูกจ้างเห็นว่าได้รับความอับอายและเสียเชื่อเสียงเป็นหมิ่นประมาท จึงฟ้องนายจ้างและฝ่ายบุคคลเรียกค่าเสียหายแต่ศาลพิพากษาว่าการเลิกจ้างตามมาตรา 119 วรรคท้ายอันแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยนายจ้าง ไม่ผิดหมิ่นประมาทและไม่ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) (คำพิพากษาฎีกาที่ 2052/2559)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ข้อสังเกต
1. คดีนี้เป็นเพียงการแจ้งในแผนก ต่างกับการโพสต์ลงเพจที่มีคนเห็นหลายล้าน โดยมีคนแชร์ข่าวออกไปจำนวนมาก และเป็นบุคคลภายนอก รวมถึงการมีสื่อที่พร้อมจะทำข่าว ผลกระทบจึงเป็นวงกว้าง
2. ในแง่บรรทัดฐาน ถ้ากรณีทำได้ ต่อไปบริษัทใหนเลิกจ้างพนักงานลูกจ้าง ก็โพสต์ทางเพจบริษัทเพื่อให้สาธารณะรับทราบได้ซึ่งน่าจะมีปัญหาต่อหลักการในระยะยาว และเราๆ ท่านๆ ที่อ่านโพสต์นี้อยู่หากถูกเลิกจ้างก็ไม่ควรถูกโพสต์ลงเพจบริษัท หรือสื่อสังคมออนไลน์
3. การกระทำเช่นนี้จึงอาจเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณสื่อมวลชนที่ซ้อนเข้ามาอีกกรณีก็เป็นได้

กฎหมายแรงงาน เตือน โพสต์เลิกจ้างนักข่าว ผิดจรรยาบรรณสื่อ อาจเข้าข่ายประจาน

กฎหมายแรงงาน เตือน โพสต์เลิกจ้างนักข่าว ผิดจรรยาบรรณสื่อ อาจเข้าข่ายประจาน

โดยก่อนหน้านี้ เพจเฟซบุ๊ก ข่าวเวิร์คพอยท์ 23 ได้ เปิดเผยถึงการลงโทษพนักงานคนดังกล่าวไว้ว่า "ตามที่ ผู้สื่อข่าวเวิร์คพอยท์ ได้ทำผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชน ในการทำข่าวของหลวงปู่แสง โดยมีความผิดดังนี้

1. มีกิริยาไม่เหมาะสมไม่เคารพต่อแหล่งข่าว
2. แสดงความไม่เป็นกลางในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
3.ตัดสินใจร่วมกับสื่อสำนักอื่นและแหล่งข่าวในการสร้างหลักฐาน โดยไม่ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหรือรายงานต้นสังกัด

กองบรรณาธิการข่าวเวิร์คพอยท์จึงมีมติให้พ้นสภาพการเป็นผู้สื่อข่าวเวิร์คพอยท์ ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2565

กองบรรณาธิการข่าวเวิร์คพอยท์"

related