svasdssvasds

นโยบายไบเดน เตรียมเสนอแผน ลดสารนิโคตินในบุหรี่ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

นโยบายไบเดน เตรียมเสนอแผน ลดสารนิโคตินในบุหรี่ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

สหรัฐฯเผยแผนการ เตรียมปรับลดสารนิโคตินในผลิตภัณฑ์ยาสูบติดไฟ ตามนโยบายลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง 50% ในอีก 25 ปีข้างหน้าของไบเดน และลดการเสพติดในหนุ่มสาว

อย่างที่ทราบกันดีว่า สารนิโคตินในบุหรี่ เป็นหนึ่งสารที่สร้างความสุขให้กับผู้สูบ และทั่วโลกมีผู้คนที่สูบบุหรี่หลายพันล้านคน แม้มันจะสร้างความสุขความสบายใจใหกับผู้สูบมากขนาดไหน แต่ก็คงเลี่ยงตัวเลขสถิติของผู้เสียชีวิตจากสารก่อมะเร็งในบุหรี่ไม่ได้ที่พุ่งทะยานเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก

หนึ่งในนโยบายการบริหารงานของประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา คือการกำหนดเป้าหมายในการลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งอย่างน้อย 50% ในอีก 25 ปีข้างหน้า แผนนี้ได้เริ่มวางแผนผ่านการประชุมมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Cancer Moonshot ของไบเดน

และได้แถลงการณ์ประกาศแผนการดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ทำเนียบขาวจะทำการลดปริมาณนิโคตินในบุหรี่ที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกาให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดหรือในปริมาณที่จะไม่ทำให้เกิดการเสพติด เพื่อเดินทางไปยังเป้าหมายในการลดการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของประชากรสหรัฐฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

และแน่นอน รัฐเชื่อว่า มาตรการนี้จะทำให้รัฐต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากอุตสาหกรรมยาสูบและนักสูบทั้งหลายที่คลั่งไคล้ แต่รัฐก็ยังคงยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยป้องกันให้เด็กไม่ติดสารเสพติดและอาจทำให้คนหนุ่มสาวลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของสหรัฐฯ โดยคิดเป็น 480,000 เคสทุกปี ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และในแถลงการณ์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) กล่าวว่า แผนสำหรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เสนอนี้ การทำให้ยาสูบที่ติดไฟมีสารเสพติดน้อยที่สุดจะสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้เยอะ

นโยบายไบเดน เตรียมเสนอแผน ลดสารนิโคตินในบุหรี่ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ในปี 2020 ผู้ใหญ่ประมาณ 30.8 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาสูบบุหรี่ ศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งสหรัฐฯประมาณการว่า 87% ของผู้ใหญ่ที่สูบบบุหรี่จะเริ่มสูบบุหรี่กันเมื่อพวกเขาอายุได้ 18 ปี

แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีสำหรับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในการออกกฎควบคุมบุหรี่ที่ได้เสนอมา ซึ่งมันอาจจะทำให้ฝ่ายค้านล่าช้าได้ ตามรายงานของวอชิงตันโพสต์ ซึ่งการต่อต้านนี้ดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ครั้งใหญ่ อาจท้าทายกฎหมายที่อาจเกิดการถกเถียงชุดใหญ่ในชั้นศาล

ยาสูบส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

อย่างที่หลายคนทราบกันดี ในเรื่องของผลกระทบต่อสุขภาพ หากสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันหลายปีจะส่งผลอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถุงลมโป่งพอง หอบหืด มะเร็งปอด และมะเร็งในอวัยวะต่างเช่น กล่องเสียง ลำคอ หลอด อาหารและกระเพาะปัสสาวะ ไปจนถึงการเสียชีวิต เป็นต้น ไม่เพียงส่งผลต่อตัวผู้สูบเท่านั้น ควันบุหรี่ยังเป็นพิษต่อคนรอบข้างที่ไม่สูบอีกด้วย ไม่ใช่เพียงแค่สร้างความรำคาญเท่านั้น แต่อาจส่งผลต่อความขัดแย้งภายในครอบครัวหรือคนรอบข้างได้ด้วย

นอกจากผลเสียด้านสุขภาพที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว แต่มีใครเคยนึกถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้างหรือไม่ คุณรู้หรือเปล่าว่า ประเภทขยะในทะเลที่เยอะมากที่สุด คือ ‘ก้นบุหรี่’ แน่นอนแหละ เพราะคำว่าชิ้นเล็ก ๆ เหล่านี้ เลยไม่มีใครคาดคิดเลยว่ามันจะเป็นขยะที่ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลมากที่สุดได้ถึงเพียงนี้

ก้นบุหรี่ คือ ประเภทขยะที่พบมากที่สุดในทะเล อีกทั้งกระบวนการผลิตยาสูบในบุหรี่นั้น ใช้พื้นที่ทางการเกษตรเพื่อปลูกยาสูบไปเยอะมาก ฟาร์มยาสูบ จะสามารถดำเนินการได้ ต้องเกิดการตัดไม้ทำลายป่า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การทิ้งหรือการรั่วไหลของของเสียสู่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การใช้เครื่องจักรและส่วนประกอบในกระบวนการผลิตมากมาย เช่น เหล็ก กระดาษ น้ำ เป็นต้น ปลายทางของกระบวนการผลิตทั้งหมดรวมไปถึงหลังจากการบริโภคสินค้าแล้ว ก้นบุหรี่ที่ไม่ใช้แล้วนั้นจะไปจบลงที่ก้นทะเล หรือขอเรียกว่า 'จากก้นบุหรี่สู่ก้นทะเล'

ที่มาข้อมูล

https://www.bbc.com/news/world-us-canada-61887753

https://www.springnews.co.th/spring-life/825253

related