svasdssvasds

ยุทธพงศ์ แฉ กองทัพอากาศแก้ TOR จนเละ ทำโครงการป้องกันภัยทางอากาศล่ม

ยุทธพงศ์ แฉ กองทัพอากาศแก้ TOR จนเละ ทำโครงการป้องกันภัยทางอากาศล่ม

ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แฉ กองทัพอากาศ เคยของบประมาณโครงการป้องกันภัยทางอากาศ (GBAD) และได้รับการอนุมัติจากสภาไปแล้ว แต่มีการแก้ TOR ภายหลัง ผลที่ตามมาก็คือไม่สามารถดำเนินการต่อไปไม่ได้ จนต้องล้มเลิกโครงการดังกล่าวในที่สุด

ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงกรณีเครื่องบินรบเมียนมาบินล้ำน่านฟ้าไทยบริเวณชายแดนจังหวัดตาก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 นานกว่า 15 นาที แต่กองทัพอากาศไทยกลับไม่ส่งเครื่องบินรบ F-16 ขึ้นสกัดกั้น จนนำมาสู่ข้อสงสัยว่ากองทัพอากาศไทยมีปัญหาเรื่องระบบป้องกันภัยทางอากาศหรือไม่

สภาเคยอนุมัติงบประมาณโครงการป้องกันภัยทางอากาศ (GBAD) แต่มีการแก้ไข TOR จนต้องล้มเลิกโครงการ

โดยยุทธพงศ์ได้ระบุว่า แท้ที่จริงแล้ว สภาเคยอนุมัติงบประมาณโครงการป้องกันภัยทางอากาศ (GBAD) ให้กองทัพอากาศในปี 2564 ไปแล้ว แต่อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) แก้ไขหลักการ Purchase and Development (P&D) แก้ไข TOR ส่อขัด พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฯ จนต้องยกเลิกโครงการไปในท้ายที่สุด

กองทัพอากาศเคยมีโครงการป้องกันภัยทางอากาศจริง โดยเมื่อปี 2563 พลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น ตั้งโครงการจัดซื้อระบบการป้องกันภัยทางอากาศทั้งระยะใกล้ พร้อมติดตั้งและฝึกอบรม (GBAD) พร้อมติดตั้งอุปกรณ์มูลค่า 940 ล้านบาท โดยของบประมาณปี 2564 ซึ่งรัฐสภาก็ได้อนุมัติให้งบประมาณตามคำขอ

ยุทธพงศ์ แฉ กองทัพอากาศแก้ TOR จนเละ ทำโครงการป้องกันภัยทางอากาศล่ม

แต่เมื่อพลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ เกษียณอายุราชการ และพลอากาศเอกแอร์บูล สุทธิวรรณ  เข้ามาเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนใหม่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR)  โดยสาระสำคัญคือการตัดหลักการแนวทาง Purchase and Development (P&D) คือการจัดซื้อจัดซื้อและพัฒนา เพื่อจะได้พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เหลือเพียงการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเดียว คือ ซื้อมาใช้เฉยๆ ไม่พัฒนาอะไรต่อ พร้อมกับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อจัดจ้างจากการประกวดราคา คือมีผู้มาเสนอหลายรายมาใช้วิธีการเฉพาะเจาะจงหรือวิธีพิเศษ คือเลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

การแก้ไขหลักการและแก้ไข TOR โครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากสภาไปแล้วนั้น เป็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฯ และผลจากการเปลี่ยนแปลงแก้ไข TOR ดังกล่าวท้ายสุดก็ดำเนินการต่อไปไม่ได้ จนกองทัพอากาศต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยุทธพงศ์ แฉ กองทัพอากาศแก้ TOR จนเละ ทำโครงการป้องกันภัยทางอากาศล่ม

ยุทธพงศ์ ชี้ กองทัพอากาศไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณ

เมื่อสภาอนุมัติงบประมาณไปให้ และกองทัพอากาศมีเงินอยู่ในมือ แต่กลับไม่สามารถจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศไทยแทนที่จะมีระบบป้องกันภัยทางอากาศสำหรับป้องกันประเทศหากมีกรณีการรุกล้ำดินแดนจะสามารถสกัดกั้นได้ทันที นี่คือความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ

“ดังนั้น ในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ ที่จะมีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายปี 2566 ของกระทรวงกลาโหมทั้ง 3 เหล่าทัพ ตนจะซักถามผู้บัญชาการทหารอากาศ ว่าวันนี้ประเทศไทยเสียหาย คนไทยเสียเกียรติภูมิ เพราะถูกรุกล้ำอธิปไตยนานถึง 15 นาที ท่านจะตอบว่าอย่างไร” รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าว

ที่มา FB : พรรคเพื่อไทย

related