svasdssvasds

โหวตคู่ขนานจากประชาชน 4 ช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

โหวตคู่ขนานจากประชาชน 4 ช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

เครือข่ายภาคประชาชน เปิดช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ให้บุคคลทั่วไปร่วมลงมติโหวตศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ-วางใจ รัฐบาล เสียงจากโลกคู่ขนานเพื่อสะท้อนความคิดเห็นจากเจ้าของภาษีของประเทศ

เข้มข้นขึ้นทุกวัน นับถอยหลัง อภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งสุดท้ายของรัฐบาลนายก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 65 แม้รัฐบาลจะกุมเสียงข้างมาก แต่ไม่แน่ว่าจะชนะเสียงจากประชาชนนอกสภาหรือไม่ ร่วมกันส่งเสียงของคุณผ่าน 4 ช่องทางไปให้ถึงสภาผู้แทนราษฏร ดังนี้ 

ช่องทาง On-site มี 1 ช่องทาง 
เปิดให้ลงมติที่หน้าสภา ดำเนินกิจกรรมโดย กลุ่ม ราษฎร หลังจากเปิดจุดลงมติกระจายทั่วประเทศไปในวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้ร่วมลงคะแนนเสียงกว่า 17000 คน 

โดยจุดลงมติสุดท้ายที่ยังเปิดอยู่ในบริเวณหน้าสภาฯ ที่มีประชาชนบางส่วนร่วมฟังอภิปรายสดติดตามแบบเรียลไทม์ 
ซึ่งจะเปิดให้ลงมติตั้งแต่ 19-21 กรกฎาคม 2565 และจะนับคะแนนพร้อมกันในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 

โหวตคู่ขนานจากประชาชน 4 ช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ช่องทาง Online มี 3 ช่องทาง ได้แก่ 
1. "อภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภารัฐบาลควรอยู่ต่อ หรือพอแค่นี้? " ในแคมเปญ #โหวตไล่ลุง ร่วมกับ พรรคไทยสร้างไทย ร่วมลงคะแนนเสียงทางช่องทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ หรือ สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อลิงก์ไปที่หน้าลงคะแนน 
https://www.d-vote.com/thaisangthai

โหวตคู่ขนานจากประชาชน 4 ช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

2. เชิญชวนมาร่วมกันลงมติไม่ไว้วางใจประยุทธ์ และฝากข้อความสั้นๆ ถึงพลเอกประยุทธ์และรัฐมนตรีในรัฐบาล ผ่าน ส.ส. เพื่อไทย ในแคมเปญ #ไล่ประยุทธ์ ได้ที่ LINE OA เพื่อไทย @pheuthai https://lin.ee/GMTMOC3

โหวตคู่ขนานจากประชาชน 4 ช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

3. โหวตผ่านทีวี 4 ช่อง เปิดโหวตคู่ขนาน สำหรับประชาชนและบุคคลทั่วไป 

โหวตคู่ขนานจากประชาชน 4 ช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เครือข่ายเสียงประชาชน เปิดโหวตลงมติไม่วางใจ-ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ทางออนไลน์ ผ่านการสแกน QR code เริ่มลงมติในวันที่ 22 กรกฎาคม ตั้งแต่ 18.00 น. ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม ปิดลงมติเวลา 23 กรกฎาคม 11.00 น.

นำโดยเครือข่ายนักวิชาการ 4 มหาวิทยาลัย (ธรรมศาสตร์, นิด้า, ศรีนครินทรวิโรฒ, รังสิต) ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ดิจิตอล ได้ที่ เนชั่น ไทยรัฐทีวี ข่าวเวิร์พอยท์ และพีพีทีวี และสื่ออินเตอร์เน็ตอื่นๆ หนึ่งมือถือโหวตได้หนึ่งครั้ง เกาะติดหน้าจอรอสแกนลงมติ ได้ในวันเวลาที่กำหนด 

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 ครั้งสุดท้ายนี้ มีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายรวม 11 คน พร้อมข้อกล่าวหาดังต่อไปนี้

1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

  • บริหารประเทศผิดพลาดล้มเหลว 6 ด้าน คือ การเป็นผู้นำที่ไร้ความชอบธรรม ไร้ความรู้ความสามารถ และขาดวิสัยทัศน์, เศรษฐกิจพังพินาศ, สังคมพังพินาศเพราะบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมและยาเสพติด, สาธารณสุขพังพินาศ, ทำลายระบบรัฐสภา, และคอร์รัปชัน
  • ประชาชนในชาติแตกแยก
  • ปัญหาทุจริตมีสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • ก่อหนี้มหาศาล
  • ปิดปากประชาชนและปิดกั้นเสรีภาพสื่อฯ
  • ใช้งบฯ จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์โดยไม่จำเป็นสวนทางภาวะเศรษฐกิจ

2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

  • จงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
  • มุ่งสร้างความมั่งคั่งในตำแหน่งหน้าที่
  • ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

  • ไม่ซื่อสัตย์ ไร้คุณธรรมจริยธรรม
  • ดึง ส.ส.พรรคอื่นเข้าสังกัดกลุ่มการเมืองของตน
  • บริหารราชการของกระทรวงสาธารณสุขผิดพลาด โดยเฉพาะในช่วงการจัดการสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ใช้งบประมาณแผ่นดินเกินความจำเป็นไม่เกิดประโยชน์
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ ผิดอนุสัญญาเดี่ยวยาเสพติดให้โทษ 1961 ขององค์การสหประชาชาติ การถอดกัญชาออกจากยาเสพติด ถือว่าละเมิดกติกาโลก ละเมิดรัฐสภา เพราะมติรัฐสภาไม่ได้ให้ไปปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติด แม้ให้ทำแต่ก็ทำได้แต่ทางการแพทย์และการวิจัย แต่กระทรวงสาธารณสุขเลยเถิดให้เกิดอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เสพได้ แสดงว่าละเมิดมติสภาไทย

4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

  • ละเลยให้มีการทุจริตในองค์กรหรือหน่วยงานในกำกับดูแล
  • แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเองและพวกพ้อง
  • ปล่อยให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น
  • ใช้อำนาจขัดต่อรธน. ฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง

5. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

  • บริหารราชการแผ่นดินผิดพลาดบกพร่องอย่างร้ายแรง
  • ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตของหน่วยงานในกำกับดูแล

6. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

  • ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง โดยพบมีการฮั๊วประมูลโครงการต่างๆ ของกรมทางหลวงชนบทให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จดทะเบียนอยู่ที่เดียวกับบ้านของนายศักดิ์สยาม อีกทั้งยังผันงบประมาณเข้าสู่จังหวัดบุรีรัมย์อย่างมาก
  • ใช้งบประมาณจำนวนมากไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและประโยชน์สาธารณะ
  • ไม่ดูแลให้เกิดการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม มีผลประโยชน์ทับซ้อน
  • จงใจปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรธน.
  • ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

7. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

  • ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง
  • แสวงหาผลประโยชน์จากการนำแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศ
  • เอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใหญ่ในการใช้ประโยชน์จากแรงงานโดยผิดกฎหมาย
  • ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

8. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  • ไร้ความรู้ความสามารถดูแลงานด้านพัฒนาสังคม
  • ปล่อยให้ประชาชนขาดไร้ซึ่งที่อยู่อาศัย
  • มุ่งแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและพวกพ้อง

9. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • ขาดความรู้ เอาผิดแต่เฉพาะกับกลุ่มบุคคลนักเรียน นักศึกษาที่วิจารณ์รัฐบาล
  • มีพฤติการณ์จงใจใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัตรธน.
  • มีความประพฤติเสื่อมเสียทางศีลธรรมอันดี

10. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

  • รู้เห็น สนับสนุนให้มีการทุจริต
  • แสวงหาผลประโยชน์ภายในหน่วยงานในกำกับดูแล

11. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

  • ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต
  • แสวงหาประโยชน์ในหน่วยงานที่กำกับดูแล
  • ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
related