svasdssvasds

หมอธีระวัฒน์ เผย สาเหตุ ความเหนื่อยล้าเพลียง่ายหลังโควิด ลึกกว่าที่รู้สึก

หมอธีระวัฒน์ เผย สาเหตุ ความเหนื่อยล้าเพลียง่ายหลังโควิด ลึกกว่าที่รู้สึก

หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผย สาเหตุ ความเหนื่อยล้าเพลียง่ายหลังโควิด อาจเกิดจากการนอนผิดปกติ นอนไม่หลับ และในร่างกายยังมีการอักเสบอยู่และไปกระทบสมอง อาจทำให้หลงลืม เลื่อนลอย อารมณ์เปลี่ยน

 ภาวะลองโควิด (Long Covid) หรือ ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิด-19 เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติคเชื้อโควิด-19  และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 1 - 2 เดือน 

"ลองโควิด" เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)

• อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก

• เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ

• เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน

• อาการที่มีขณะติดเชื้อไม่สงบ แม้ว่าการติดเชื้อจบไปแล้ว และอาการสามารถรุนแรงขึ้นได้ และสามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือนต่อไปอีก หรือ อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่ ที่ไม่ได้ปรากฎขณะที่ยังติดเชื้อ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• แหม่ม คัทลียา เล่าประสบการณ์เกือบตายเพราะอาการลองโควิด

• หมอธีระ เผยผลวิจัยอาการลองโควิด ทางระบบประสาท-อ่อนเพลีย บางรายนานถึง 1 ปี

• รู้จัก อาการลองโควิด Long Covid เพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม

 ล่าสุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ประเด็น

ความเหนื่อยล้าเพลียง่าย “หลัง”จากเป็นโควิด 

• ขณะที่เป็นโควิด อาการไม่จำเป็นต้องรุนแรงเสมอไป

• อาการเกิดขึ้นได้แม้ว่าเอกซเรย์ปอดและการทำงานของปอดรวมทั้งหัวใจ ยังปกติ

• เกิดจากได้จากกลไกเดียวหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น

• การนอนผิดปกติ นอนไม่หลับ หรือ หลับๆตื่นๆ หรือดูเหมือนหลับนาน 8-9 ชม แท้จริงหลับได้ไม่ลึก (deep sleep) ซึ่งปกติมนุษย์ควรจะนอนหลับลึกได้คืนละ 75 นาที ไม่เช่นนั้นกลางวันจะเพลีย ล้าตลอด

• เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลงจากรายงานการศึกษาพบว่าจะมีเลือดข้นกว่าธรรมดาและสันนิษฐานว่าเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้ออาจจะนำเลือดไปได้ไม่เพียงพอ รวมทั้งทำให้เห็นว่ามีกล้ามเนื้อลีบลงทั่วไป

•ในร่างกายยังมีการอักเสบอยู่และการอักเสบดังกล่าว ยังไปกระทบสมองจุดชนวนให้มีการอักเสบครั้งที่สองและทำให้อายุของเซลล์สมองสั้นลง และมีการสะสมโปรตีนผิดปกติในสมองมากขึ้น และมีมากได้จนหลงลืม เลื่อนลอย อารมณ์เปลี่ยน

• เป็นความแปรปรวนในกลุ่มเซลล์สมองจำเพาะ จากการอักเสบข้างตัน และยังคงดำเนินต่อเนื่อง และมีผลในการหลั่งฮอร์โมนและการควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติแปรปรวนจากกลุ่มเซลล์ในก้านสมอง

สามารถแก้ได้ อย่าท้อถอย

ตากแดด เดินหมื่นก้าว อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ คุมโรคประจำตัวให้ดีเยี่ยม

ที่มา : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

related