svasdssvasds

แบ่งเขตเลือกตั้ง 2566 ล่าสุด ของกทม. เปิดรายละเอียดพื้นที่ 33 เขต แบ่งยังไง

แบ่งเขตเลือกตั้ง 2566 ล่าสุด ของกทม. เปิดรายละเอียดพื้นที่ 33 เขต แบ่งยังไง

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศ 400 เขตเลือกตั้ง66 ชิงตำแหน่ง ส.ส.ทั่วประเทศ เปิดรายละเอียดพื้นที่ 33 เขต กทม.แบ่งยังไง

 เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งว่า กกต.ได้พิจารณาร่างประกาศ กกต. เรื่องจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งที่ได้จัดทำขึ้นตามรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง 2566 ที่ กกต.ได้มีมติแล้ว ตามที่สำนักงาน กกต.เสนอ   

 โดย กกต.ได้เห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว ทั้งนี้สำนักงานจะได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงประกาศราชกิจจานุเบกษาโดยเร็ว และมีการเผยแพร่รายละเอียดของเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต 77 จังหวัดแล้ว

ในส่วนของ กทม.จำนวน 33 เขต แบ่งรายละเอียดได้ดังนี้

• เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี) เขตบางรัก

• เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตราชเทวี

• เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา

• เขตเลือกตั้งที่ 4 เขตคลองเตย เขตวัฒนา

• เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)

• เขตเลือกตั้งที่ 6 เขตพญาไท เขตดินแดง

• เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตบางซื่อ เขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)

• เขตเลือกตั้งที่ 8 เขตหลักสี่ (ยกเว้นแขวงตลาดบางเขน) เขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจันทรเกษม และแขวงเสนานิคม)

• เขตเลือกตั้งที่ 9 เขตบางเขน (ยกเว้นแขวงท่าแร้ง) เขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจันทรเกษม และแขวงเสนานิคม) เขตหลักสี่

• เขตเลือกตั้งที่ 10 เขตดอนเมือง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• พรรคพลังประชารัฐ รายชื่อ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.

• ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กทม. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ใครได้เบอร์อะไร เช็กเลยที่นี่

• รู้จัก บัตรเลือกตั้ง 2566 ทั้ง 2 แบบ บัตรเลือกตั้งแบ่งเขต และ แบบบัญชีรายชื่อ

• เขตเลือกตั้งที่ 11 เขตสายไหม (ยกเว้นแขวงออเงิน)

• เขตเลือกตั้งที่ 12 เขตสายไหม (เฉพาะแขวงออเงิน) เขตบางเขน (เฉพาะแขวงท่าแร้ง) เขตลาดพร้าว (เฉพาะแขวงจรเข้บัว)

• เขตเลือกตั้งที่ 13 เขตลาดพร้าว (ยกเว้นแขวงจรเข้บัว) เขตบึงกุ่ม (ยกเว้นแขวงคลองกุ่ม)

• เขตเลือกตั้งที่ 14 เขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์) เขตบางกะปิ

• เขตเลือกตั้งที่ 15 เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม

• เขตเลือกตั้งที่ 16 เขตคลองสามวา (ยกเว้นแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

• เขตเลือกตั้งที่ 17 เขตหนองจอก (ยกเว้นแขวงโคกแฝด แขวงลำผักชี และแขวงลำต้อยติ่ง) เขตคลองสามวา (เฉพาะแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

• เขตเลือกตั้งที่ 18 เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงโคกแฝด และแขวงลำต้อยติ่ง) เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลำปลาทิว) เขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ) 

• เขตเลือกตั้งที่ 19 เขตมีนบุรี (ยกเว้นแขวงแสนแสบ) เขตสะพานสูง (ยกเว้นแขวงทับช้าง)

• เขตเลือกตั้งที่ 20 เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว)

• เขตเลือกตั้งที่ 21 เขตประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอน) เขตสะพานสูง (เฉพาะแขวงทับช้าง)

• เขตเลือกตั้งที่ 22 เขตสวนหลวง เขตประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอน)

• เขตเลือกตั้งที่ 23 เขตพระโขนง เขตบางนา

• เขตเลือกตั้งที่ 24 เขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงวัดกัลป์ยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ) เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ (เฉพาะแขวงบางปะกอก)

• เขตเลือกตั้งที่ 25 เขตทุ่งครุ เขตราษฎร์บูรณะ (ยกเว้นแขวงบางปะกอก)

• เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตบางขุนเทียน (เฉพาะแขวงท่าข้าม) เขตจอมทอง (ยกเว้นแขวงบางขุนเทียน)

• เขตเลือกตั้งที่ 27 เขตบางบอน (เฉพาะแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน) เขตบางขุนเทียน (ยกเว้นแขวงท่าข้าม)

• เขตเลือกตั้งที่ 28 เขตจอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน) เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน) เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม)

• เขตเลือกตั้งที่ 29 เขตบางแค (เฉพาะแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่) เขตหนองแขม (ยกเว้นแขวงหนองแขม)

• เขตเลือกตั้งที่ 30 เขตบางแค (ยกเว้นแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่) เขตภาษีเจริญ (เฉพาะแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง)

• เขตเลือกตั้งที่ 31 เขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงบางเชือกหนัง)

• เขตเลือกตั้งที่ 32 เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช) เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง) เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง) เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลป์ยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ)

• เขตเลือกตั้งที่ 33 เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย (ยกเว้นแขวงศิริราช)

รายละเอียด ส.ส.ทั้ง 77 จังหวัด เมื่อคำนวณจากจำนวนราษฎรที่ไม่นับรวมผู้ไม่มีสัญชาติไทย

• กรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังคงมี ส.ส.มากที่สุด จำนวน 33 คน รองลงมาคือนครราชสีมา 16 คน

จังหวัดที่มี ส.ส. 11 คน มี 2 จังหวัด คือ

• ขอนแก่น อุบลราชธานี 

จังหวัดที่มี ส.ส. 10 คน มี 5 จังหวัด คือ

• นครศรีธรรมราช ชลบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี บุรีรัมย์ 

จังหวัดที่มี ส.ส. 9 คน มี 2 จังหวัด คือ

• ศรีสะเกษ สงขลา

จังหวัดที่มี ส.ส. 8 คน มี 4 จังหวัดคือ

• นนทบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ สุรินทร์

จังหวัดที่มี ส.ส 7 คน มี 5 จังหวัด คือ

• เชียงราย ชัยภูมิ ปทุมธานี สกลนคร สุราษฎร์ธานี

จังหวัดที่มี ส.ส. 6 คน มี 5  จังหวัดคือ

• กาฬสินธุ์ นครปฐม นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ มหาสารคาม

จังหวัดที่มี ส.ส. 5 คน มี 9 จังหวัด คือ

• ปัตตานี ลพบุรี กาญจนบุรี นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ระยอง ราชบุรี สุพรรณบุรี

จังหวัดที่มี ส.ส. 4 คน มี 8 จังหวัด คือ

• กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ตรัง นครพนม  ลำปาง เลย  สระบุรี สุโขทัย

จังหวัดที่มี ส.ส .3 คน มี 21 จังหวัด คือ

• ตาก กระบี่ จันทบุรี ชุมพร น่าน บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พะเยา พัทลุง พิจิตร เพชรบุรี แพร่ ภูเก็ต ยโสธร ยะลา สระแก้ว หนองคาย หนองบัวลำภู สมุทรสาคร และอุตรดิตถ์

จังหวัดที่มี ส.ส. 2 คน มี 10 จังหวัด คือ

• ชัยนาท นครนายก พังงา มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ลำพูน สตูล อ่างทองอำนาจเจริญ และอุทัยธานี

จังหวัดที่มี ส.ส. 1 คน มี 4 จังหวัด คือ

• ตราด

• ระนอง

• สมุทรสงคราม

• สิงห์บุรี

หากคิดจำนวน ส.ส.เป็นรายภาค พบว่า

• กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคกลาง 26 จังหวัด จะมี ส.ส. 122  คน

• ภาคใต้ 14 จังหวัดจะมี ส.ส. 60 คน

• ภาคเหนือ 16 จังหวัดจะมี ส.ส. 37 คน

• ภาคอีสาน 133

• ภาคตะวันออกจะมี ส.ส. 29 คน

• ภาคตะวันตกจะมี ส.ส. 19 คน

related