svasdssvasds

เช็กตัวเลข ส.ส. 400 เขต พรรคไหนจอมดูด งูเห่า ส.ส.ย้ายจากพรรคอื่นมากที่สุด

เช็กตัวเลข ส.ส. 400 เขต พรรคไหนจอมดูด งูเห่า ส.ส.ย้ายจากพรรคอื่นมากที่สุด

เจาะข้อมูลตัวเลขแบบละเอียดยิบ กับ ตัวเลข ส.ส. 400 เขต ทั่วประเทศไทย ในการเลือกตั้ง 2566 ในวันที่ 14 พ.ค. 2566 นี้ มาดูกันว่า พรรคไหนกลายเป็นจอมดูด พรรคไหนเลี้ยงดูงูเห่า และพรรคไหน ส.ส.ย้ายจากพรรคอื่น มาร่วมสังกัดมากที่สุด

• ส.ส. พรรครวมไทยสร้างชาติ 500 คน : ย้ายมาจากพรรคอื่นเกินครึ่ง รวมแล้วกว่า 30 พรรค

โดย ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน ทั่วประเทศไทย จาก พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เป็นผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น 207 คน คิดเป็น 51.75% และมีผู้สมัครหน้าใหม่ จำนวน 193 คน คิดเป็น 48.25% โดยไม่มีผู้สมัครจากพรรคเดิมเนื่องจากพรรครวมไทยสร้างชาติเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจะลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ปี 2566 นี้เป็นครั้งแรก

หากลงลึกไปในรายละเอียดแล้ว , ผู้สมัคร ส.ส. พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มาจากการย้ายมาจากพรรคอื่นนั้น มาจากพรรคพลังประชารัฐมากที่สุด 52 คน คิดเป็น 25.12% รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 32 คน คิดเป็น 15.46% พรรคภูมิใจไทยและพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่จำนวนเท่ากัน พรรคละ 16 คน คิดเป็น 7.73%

ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรครวมไทยสร้างชาติที่เป็นอดีต ส.ส. ปี 2562 ที่มาจากการย้ายมาจากพรรคอื่น  34 คน มาจากพรรคพลังประชารัฐ มากที่สุด จำนวน 18 คน รองลงมาคือจากพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 6 คน ตามมาด้วยพรรคอนาคตใหม่/ก้าวไกล จำนวน 4 คน 

ผู้สมัคร ส.ส. พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ 193 คนมาจากกลุ่มนักการเมืองระดับท้องถิ่นมากที่สุด 99 คน คิดเป็น 51.3% รองลงมาก็คือ ข้าราชการประจำ/หน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 39 คน คิดเป็น 15.3%  ผู้ที่เคยทำงานการเมืองด้านอื่นๆ 28 คน คิดเป็น 14.51%

ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 100 คนจากพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นหน้าใหม่มากที่สุด 52 คน และที่มาจากการย้ายพรรค 48 คน มาจากพรรคประชาธิปัตย์มากที่สุด 14 คน รองลงมาก็คือพรรคพลังประชารัฐ 8 คน ตามมาด้วยพรรคพลังท้องถิ่นไท เพื่อแผ่นดิน และภูมิใจไทย พรรคละ 4 คน

เช็กผู้สมัคร ส.ส. 400 เขต  พรรคไหนจอมดูด  งูเห่าเลื้อยเข้ารังไหนมากสุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เพื่อไทย ส.ส. 500 คน (ทั้งเขต และ ปาร์ตี้ลิสต์) พลังประชารัฐไหลเข้ามามากที่สุด และไหลออกไปภูมิใจไทยมากสุด

ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน พรรคเพื่อไทย ปี 2566 มีผู้สมัครจากพรรคเดิม 141 คน คิดเป็น 35.25% มีผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น 86 คน คิดเป็น 21.5% และมีผู้สมัครหน้าใหม่ 173 คน คิดเป็น 43.25%

นอกจากนี้ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ปี 2562  เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ที่ไม่กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย ในปี 2566 จำนวน 45 คน พบว่าย้ายไปพรรคอื่น 18 คน แยกเป็น ภูมิใจไทยมากที่สุด 12 คน ไทยสร้างไทย 4 คน พลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติ พรรคละ 1 คน 

อดีตผู้สมัคร ส.ส. ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งในปี 2562 ของพรรคเพื่อไทย 112 คน มี 79 ที่ไม่ได้กลับมาลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งปี 2566 นี้ โดยสามารถแยกเป็น ย้ายไปลงพรรคอื่นๆ 27 คน คือ ลงสมัครในนามพรรคไทยสร้างไทย 9 คน พรรคพลังประชารัฐ 6 คน พรรคภูมิใจไทย 5 คน พรรครวมไทยสร้างชาติ 4 คน และพรรคก้าวไกล ประชาธิปัตย์ เสรีรวมไทย พรรคละ 1 คน
 

• ภูมิใจไทย 387 คน : ส.ส. เดิมจากปี ’62 ไหลไปพรรคอื่นแค่ 1 คน แต่มี ส.ส. จากพรรคอื่นไหลเข้า 49 คน 

ความน่าสนใจสถิติผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคภูมิใจไทย คือ ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 387 คน พรรคภูมิใจไทย มีผู้สมัครจากพรรคเดิม จำนวน 76 คน คิดเป็น 19.64% มีผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 128 คน คิดเป็น 33.07% และมีผู้สมัครหน้าใหม่ จำนวน 183 คน คิดเป็น 47.29%

ส.ส. เดิมจากปี 2562 ของพรรคภูมิใจไทย 39 คน กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคเดิม สูงถึง 35 คนเลยทีเดียว ส่วนที่ไม่กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย จำนวน 4 คนนั้น พบว่าย้ายไปพรรคอื่นเพียง 1 คน คือ อภิชา เลิศพชรกมล โดยย้ายไปพรรคเพื่อไทย และอีก 3 คน ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแล้ว 

อดีตผู้สมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้ง 2562 ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทย 311 คน กลับมาลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคภูมิใจไทยเพียง 29 คนเท่านั้น ย้ายไปลงพรรคอื่นๆ 55 คน โดยย้ายไป พรรคพลังประชารัฐมากที่สุด 13 คน รองลงมาคือ พรรครวมไทยสร้างชาติ 12 คน พรรคเพื่อไทย 8 คน
 

•  พลังประชารัฐ 400 คน : ภูมิใจไทยไหลเข้า 17 คน แต่ไหลออกไป ภูมิใจไทย 45 คน 

พรรคพลังประชารัฐ ฝ่ายรัฐบาลในการเลือกตั้ง 2562  กลับมาครั้งนี้ เลือกตั้ง 2566 มีผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน พรรคพลังประชารัฐ มาจากผู้สมัครจากพรรคเดิม 100 คน คิดเป็น 25% มีผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น 98 คน คิดเป็น 24.5% และมีผู้สมัครหน้าใหม่ 202 คน คิดเป็น 50.5%

ผู้สมัครที่มาจากพรรคเดิม 100 คน แบ่งเป็น ส.ส. พรรคพลังประชารัฐเดิมจากปี 2562 จำนวน 40 คน คิดเป็น 40% อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐเดิมจากปี 2562 จำนวน 52 คน คิดเป็น 52% อดีตผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 8 คน คิดเป็น 8%

ใน เลือกตั้ง 2562 พรรคพลังประชารัฐมี ส.ส. เขต 100 คน กลับมาลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐเพียง 40 คนเท่านั้น โดยภาคใต้และภาคเหนือเป็นภาคที่มีสัดส่วน ส.ส. เดิมกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งมากที่สุด คิดเป็น 50% และน้อยที่สุดในภาคตะวันตก คิดเป็น 16.67%

ส.ส. เขต ปี 2562 ที่ไม่กลับมาลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ 61 คน ย้ายไปพรรคอื่น 51 คน แยกเป็น ภูมิใจไทยมากที่สุด 24 คน รวมไทยสร้างชาติ 20 คน และเพื่อไทย 7 คน ลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อของพรรค 3 คน และไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก 7 คน 

• ผู้สมัคร ส.ส. เขต ก้าวไกล 396 คน : ไม่มี ส.ส. ปี 2562 จากพรรคอื่น  แต่อดีต ส.ส. อนาคตใหม่ 62 ไหลออกไปภูมิใจไทยมากที่สุด
.
ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 396 คน จากพรรคก้าวไกล มีผู้สมัครจากพรรคเดิม จำนวน 66 คน คิดเป็น 16.67% มีผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น จำนวน 27 คน คิดเป็น 6.82% และมีผู้สมัครหน้าใหม่ จำนวน 302 คน คิดเป็น 76.26%

ในส่วนของผู้สมัครพรรรคเดิม ที่กลับมาลงสมัครในการเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้ พบว่า มี ส.ส. พรรคอนาคตใหม่เดิมจากปี 2562 จำนวน 8 คน คิดเป็น 12.12% อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่เดิมจากปี 2562 จำนวน 53 คน คิดเป็น 80.30% อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อจากปี 2562 จำนวน 1 คน คิดเป็น 1.52% และอดีตผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน คิดเป็น 6.06%

มี ส.ส. ปี 2562 ของพรรคอนาคตใหม่ที่ไม่กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต ในนามพรรคก้าวไกล จำนวน 23 คน ซึ่งพบว่าย้ายไปพรรคอื่น 18 คน แยกเป็น ภูมิใจไทยมากที่สุด 11 คน (รวมการย้ายหลังมีการยุบพรรคอนาคตใหม่) รวมไทยสร้างชาติ 4 คน ชาติไทยพัฒนา พลังประชารัฐและเพื่อไทย พรรคละ 1 คน มี 1 คน ที่ย้ายลงไปสมัครแบบบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล นั่นก็คือณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และอีก 4 คนไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง

ผู้สมัคร ส.ส. เขต ก้าวไกล 396 คน : ไม่มี ส.ส. ปี 2562 จากพรรคอื่น  แต่อดีต ส.ส. อนาคตใหม่ 62 ไหลออกไปภูมิใจไทยมากที่สุด
• ผู้สมัคร ส.ส. แบ่งเขต พรรคประชาธิปัตย์ 400 คน : ไม่มีอดีต ส.ส. พรรคอื่นย้ายมา ส่วนอดีต ส.ส. ปชป. ย้ายไป รวมไทยสร้างชาติ มากที่สุด 

ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน จากพรรคประชาธิปัตย์ มีผู้สมัครจากพรรคเดิม 131 คน คิดเป็น 32.75% มีผู้สมัครที่ย้ายมาจากพรรคอื่น 60 คน คิดเป็น 15% และมีผู้สมัครหน้าใหม่ 209 คน คิดเป็น 52.25%

ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ที่มาจากพรรคเดิม เป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เดิมในปี 2562 มากที่สุด จำนวน 89 คน และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับจำนวน ส.ส. เดิมจากปี 2562 ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีจำนวน 35 คน จะพบว่า มี ส.ส. ปี 2562 ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคเดิม 23 คน 

ส.ส. เดิมจากเลือกตั้ง 2562 ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 12 คนนั้น พบว่าย้ายไปพรรคอื่น 7 คน แยกเป็น รวมไทยสร้างชาติมากที่สุด 5 คน พลังประชารัฐและภูมิใจไทยอีกพรรคละ 1 คน ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง 4 คน และย้ายไปลงสมัครแบบปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคประชาธิปัตย์ อีก 1 คน

ผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ที่ย้ายมาจากพรรคอื่นนั้น ไม่มีอดีต ส.ส. จากพรรคอื่นเลย ไม่ว่าจะในปี 2562 หรือปีก่อนนั้น ส่วนที่เป็นอดีตผู้สมัครจากพรรคอื่นที่ย้ายมาลงสมัครในนามพรรค

ผู้สมัคร ส.ส. แบ่งเขต พรรคประชาธิปัตย์ 400 คน : ไม่มีอดีต ส.ส. พรรคอื่นย้ายมา ส่วนอดีต ส.ส. ปชป. ย้ายไป รวมไทยสร้างชาติ มากที่สุด

ที่มา rocketmedialab.co 

rocketmedialab.co

rocketmedialab.co

rocketmedialab.co

 

related