svasdssvasds

เช็กเลย! ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก คูหาไหนรู้เลย

เช็กเลย! ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก คูหาไหนรู้เลย

ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 ออนไลน์ ง่ายๆ กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก รู้ทันทีลำดับที่เท่าไหร่ ต้องไปคูหาไหน เช็กเลย!

สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) เชิญชวนประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในวันที่ 14 พ.ค. 66 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โดยสามารถตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 ผ่านเว็บไซต์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 

  • กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • กดปุ่ม “ตรวจสอบ”
  •  จะปรากฏข้อมูลวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566, ชื่อ, เขตเลือกตั้ง, หน่วยเลือกตั้ง, สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ

  เช็กเลย! ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก คูหาไหนรู้เลย

เช็กเลย! ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก คูหาไหนรู้เลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง2566

  • มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียบบ้านในเขตเลือกตั้ง
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
  • ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง หากมีการย้ายทะเบียนบ้านก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่า 90 วันสามารถเลือกตั้งในเขตที่อยู่ใหม่เท่านั้น

ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

  • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
  • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  • ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย
  • วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

ไม่ไปใช้สิทธิมีผลอย่างไร

  • หากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. แต่ไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะเสียสิทธิครั้งละ 2 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ดังนี้ 
  • ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส.
  • ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
  • ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
  • ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  • ไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

ที่มา: กกต. , กรมการปกครอง

related