svasdssvasds

จุฬาฯ ชี้เลือกตั้ง66 สำคัญกว่าครั้งใด ร่วมกำหนดอนาคตชาติไทย

จุฬาฯ ชี้เลือกตั้ง66 สำคัญกว่าครั้งใด ร่วมกำหนดอนาคตชาติไทย

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผย การเลือกตั้ง66 มีความหมายอย่างยิ่งต่ออนาคตชาติ แนะการเตรียมตัว เตรียมความคิดก่อนเดินหน้าเข้าคูหา เพราะครั้งนี้สำคัญกว่าครั้งใด ร่วมกำหนดอนาคตชาติไทย

โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ศิริประกอบ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้งมีความสำคัญ โดยเฉพาะการเลือกตั้ง2566 นี้ ที่หลายคนรู้สึกว่าเป็นห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและความหวัง

“บริบทโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงฉับไวและซับซ้อน เราต้องการตัวแทนที่เข้ามาแก้ไขและจัดการปัญหาความท้าทายที่ไม่เคยเจอมาก่อน การเลือกตั้งครั้งนี้จึงสำคัญมากกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แนวโน้มผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น

พร้อมกันนี้ อ.ปกรณ์ ให้ข้อมูลว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2562 มีผู้มาใช้สิทธิ 38 ล้านคนจากจำนวนผู้มีสิทธิทั้งสิ้น 51 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 74.87 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด) สำหรับปีนี้ อ.ปกรณ์ คาดว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง66 ส.ส. มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นเพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีจำนวน 52 ล้านคน (เพิ่มจากเดิม 1 ล้านคน)  แล้ว ยังเนื่องมาจากเหตุปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ

รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ศิริประกอบ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประการแรก คนไทยมีความเข้าใจและตื่นตัวมากขึ้นทางการเมือง และเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือสำคัญในการได้มาซึ่งคนที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศประการที่สอง รูปแบบการหาเสียงทุกวันนี้แตกต่างจากแต่ก่อน โดยเฉพาะการหาเสียงออนไลน์ ทำให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้ง่ายและมากขึ้น รวมทั้งผู้สมัคร ส.ส.เองก็สามารถเข้าถึงผู้มีสิทธิได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตด้วย

ประการสุดท้าย ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีการบริหารจัดการให้กลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุมีความสะดวกมากยิ่งขึ้นกว่าครั้งที่ผ่านมา โดยมีการเปิดหน่วยเลือกตั้งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการเพิ่มขึ้นรวม 28 แห่ง ใน 23 จังหวัด  ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นคนพิการและผู้สูงอายุซึ่งในบางครั้งเป็นกลุ่มเดียวกัน เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนอย่างน้อยที่สุดประมาณ 12 ล้านคน หรือร้อยละ 23 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งหากนับรวมครอบครัวหรือผู้ดูแลในสัดส่วนคนพิการ/ผู้สูงอายุ 1 คน กับครอบครัว 1 คน จะเท่ากับ 24 ล้านคน หรือร้อยละ 46

นับคะแนนรูปแบบใหม่ ดีอย่างไร?

การเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเลือกตั้งสองใบ คือ ใบเลือกพรรค และ ใบเลือกผู้สมัคร ซึ่ง อ.ปกรณ์ มองว่าจะช่วยให้ประชาชนตัดสินใจเลือกได้ง่ายกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน (ปี 2562) ที่มีบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว

“ครั้งก่อนเป็นการบังคับว่าเลือกพรรคเท่ากับเลือกคน หรือเลือกคนเท่ากับเลือกพรรค เนื่องจากพรรคกับคนใช้คะแนนร่วมกัน แต่ครั้งนี้เราสามารถเลือก “คน” แยกจาก “พรรค” ได้ ทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกคนในพื้นที่ที่ทำงานในพื้นที่จริงๆ ได้ โดยที่ยังสามารถเลือกพรรคที่ชอบนโยบาย หรือให้ผู้ที่พรรคการเมืองแจ้งชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ได้”

 

กฎเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถลงคะแนนได้เป็น 2 ทาง คือ

1.กาเลือกคนเพื่อบริหารจัดการชุมชน กาเลือกพรรคเพื่อบริหารประเทศ

2.กาเลือกทั้งคนและพรรคเดียวกันทั้ง 2 ใบ การกาแบบนี้คือการเลือกทั้งคนและพรรคมาบริหารประเทศ เพราะถ้าคนที่เราเลือกได้รับการเลือกตั้งก็ทำให้ตัวเลขจำนวน ส.ส.ของพรรคเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการสนับสนุนพรรคของตัวเองในการจัดตั้งรัฐบาลได้

 

 

related