svasdssvasds

ข้อบังคับข้อที่ 41 ญัตติ "ห้ามเสนอชื่อ พิธา ซ้ำ" ดร.ปริญญา ชี้ ไม่เข้าข่าย

ข้อบังคับข้อที่ 41 ญัตติ "ห้ามเสนอชื่อ พิธา ซ้ำ" ดร.ปริญญา ชี้ ไม่เข้าข่าย

จับตา ข้อบังคับข้อที่ 41 คืออะไร? ญัตติ "ห้ามเสนอชื่อ พิธา ซ้ำ" ดร.ปริญญา ชี้ ไม่เข้าข่ายเพราะ ญัตติ "ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา"

ข้อบังคับข้อที่ 41 ญัตติ \"ห้ามเสนอชื่อ พิธา ซ้ำ\" ดร.ปริญญา ชี้ ไม่เข้าข่าย

จากกรณี การถกเถียงเรื่องข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 ว่าสมาชิกสามารถเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โหวตนายกรอบ 2 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ซ้ำได้หรือไม่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุดมีความเห็นจาก ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชนและผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Prinya Thaewanarumitkul เผยความเห็นเกี่ยวกับ ข้อบังคับข้อที่ 41 ระบุ "#เสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้ จริงหรือ? #การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ “ญัตติ”! ส.ว.หลายท่านออกมาบอกว่า เสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีรอบที่สองในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ไม่ได้ เพราะ #ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 กำหนดว่า “ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน"

"ผมขอเรียนว่าท่าน ส.ว. เข้าใจ #คลาดเคลื่อน ไปมากครับ เพราะข้อ 41 อยู่ในข้อบังคับหมวด 2 ส่วนที่ 2 เรื่องการเสนอญัตติ ดังนั้น “ญัตติ” ที่ตกไปแล้วที่เสนอซ้ำไม่ได้ตามข้อ 41 จึงหมายถึงญัตติตามข้อบังคับหมวด 2 ส่วนที่ 2 นี้เท่านั้น ซึ่งข้อ 29 กำหนดว่า “ญัตติท้ังหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และ #ต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน”

ส่วนการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นใครก็แล้วแต่ #ไม่ใช่การเสนอญัตติ หากเป็นเรื่อง #กระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 159 บัญญัติว่า ต้องมี ส.ส. #ให้ความเห็นชอบอย่างน้อยหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ซึ่งก็คือ 50 คน ไม่ใช่แค่ 10 คนเหมือนเสนอญัตติ

อีกทั้งข้อบังคับการประชุมรัฐสภาเรื่องการให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ก็อยู่หมวด 9 ไม่ใช่หมวดเดียวกันกับการเสนอญัตติ การนำเอาข้อ 41 มาอ้างว่าโหวตเห็นชอบนายกรัฐมนตรีคนเดิมรอบสองไม่ได้ #จึงผิดโดยสิ้นเชิง

ผมเห็นว่าเป็นเรื่องประหลาดที่ท่าน “สมาชิกวุฒิสภา” มาเสนออะไรแบบนี้ เพราะมันเท่ากับเป็นการเอาข้อบังคับการประชุมรัฐสภามาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด แล้วยังเป็นการเอามาใช้แบบผิดๆ ถูกๆ โดยสมาชิกวุฒิสภา ซึ่่งสังคมคาดหวังว่าน่าจะมี “วุฒิ” มากกว่านี้

สรุปคือ #เสนอชื่อพิธารอบสองได้ครับ ส่วนเสียงจะได้ถึงหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง #ท่านประธานรัฐสภาชี้ขาดได้เลย โดยที่ไม่ต้องมีการลงมติตีความข้อบังคับ หรือลงมติงดเว้นใช้ข้อบังคับ เพราะการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ญัตติครับ"

related