svasdssvasds

MCT จัดงานสัมมนา ทางเลือกของผู้สร้างสรรค์และมูลค่าของดนตรีในยุคดิจิทัล

MCT จัดงานสัมมนา ทางเลือกของผู้สร้างสรรค์และมูลค่าของดนตรีในยุคดิจิทัล

"ก้อ ณฐพล ศรีจอมขวัญ" ตัวแทนนักแต่งเพลง ศิลปิน และ ประธานกรรมการ MCT และ พันธมิตรผู้สร้างสรรค์ดนตรีแห่งเอเซียแปซิฟิก ร่วมมือจัดงานสัมมนาในหัวข้อ "ทางเลือกของผู้สร้างสรรค์และมูลค่าของงานดนตรีในยุคดิจิทัล"

กลับมาอีกครั้งกับงานสัมมนา “ทางเลือกของผู้สร้างสรรค์และมูลค่าของดนตรีในยุคดิจิทัล” (Creators’ Choice and the Value of Music in Digital Era) เปิดพื้นที่สำหรับนักแต่งเพลงได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ และกระตุ้นให้เกิดหลักปฏิบัติที่ดี สร้างความเป็นธรรมแก่ผู้สร้างสรรค์ ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้สร้างสรรค์ คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่ตนพึงได้รับอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ในฐานะผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของนักแต่งเพลง หรือผู้สร้างสรรค์งานดนตรีกรรม (ผู้แต่งเนื้อร้อง/ทำนอง) พบว่า สัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ (Copyright Buyout) ที่เกิดจากการทำสัญญาโดยไม่เป็นธรรม หรือ ถูกบังคับให้โอนสิทธิเด็ดขาด ส่งผลกระทบแก่ผู้สร้างสรรค์ ทั้งในแง่การขาดสิทธิในการบริหารจัดการ และ การสร้างรายได้จากงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้น ในหลายปีที่ผ่านมา การซื้อขาดลิขสิทธิ์ (Copyright Buyout) ได้ส่งผลกระทบกับนักแต่งเพลงทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย และถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้าง

ก้อ ณฐพล ชวนร่วมงานสัมมนา ผู้สร้างสรรค์ดนตรีระหว่างประเทศ ประจำปี 2566

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด้วยเหตุนี้ บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด (MCT), สมาพันธ์แห่งสมาคมผู้สร้างสรรค์และนักแต่งเพลงระหว่างประเทศ (the International Confederation of Societies of Authors and Composers: CISAC) ซึ่งมี “ก้อ ณฐพล ศรีจอมขวัญ” เป็นตัวแทนในฐานะ นักแต่งเพลง ศิลปิน และประธานกรรมการ MCT และ พันธมิตรผู้สร้างสรรค์ดนตรีแห่งเอเซียแปซิฟิก หรือ APMA (Asia-Pacific Music Creators Alliance)

ร่วมมือจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “ทางเลือกของผู้สร้างสรรค์และมูลค่าของงานดนตรีในยุคดิจิทัล” (Creators’ Choice and the Value of Music in Digital Era) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักแต่งเพลง ผู้สร้างสรรค์ หรือ ศิลปิน ได้รับทราบถึงแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ (Copyright Buyout) รับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อันพึงได้อย่างเหมาะสม และกระตุ้นให้เกิดความเท่าเทียม และยุติธรรม

ก้อ ณฐพล ชวนร่วมงานสัมมนา ผู้สร้างสรรค์ดนตรีระหว่างประเทศ ประจำปี 2566

ในงานสัมมนาครั้งนี้ มีนักแต่งเพลง จากหลายประเทศ อาทิเช่น เกาหลี อินเดีย เนเธอร์แลนด์ อินโดนีเซีย รวมถึง ตัวแทนนักแต่งเพลงชาวไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมบรรยายและพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับ สัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ และดนตรีในยุดดิจิทัล ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับการจัดสรรค่าลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมบนตลาดสตรีมมิ่ง (Buyout and Music in digital era (focusing on the share of remunerations in streaming markets by music authors)

โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่มาเข้าร่วมงาน (ประมาณ 200- 300 ราย) เป็นนักแต่งเพลงสมาชิก มิวสิค พับลิชเชอร์ เช่น บริษัท มิวซิกมูฟ จำกัด, บริษัท สไปร์ซี่ ดิสก์ จำกัด, บริษัท วอท เดอะ ดัก จำกัด, บริษัท เลิฟ อิส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด, บริษัท สมอลล์รูม จำกัด และค่ายเพลง รวมไปถึง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดนตรี, เจ้าหน้าที่จากภาครัฐ, ผู้เข้าร่วมประชุม CISAC และสำหรับบุคคลที่สนใจทั่วไป

สามารถเข้าร่วมประชุมรับฟังการสัมมนาครั้งนี้ได้ โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/uX26V3G13mbJD45H6 พร้อมยืนยันสิทธิเข้าร่วมงานได้ ในวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00-12.00 น สถานที่ ห้อง Ballroom โรงแรม SO/Bangkok (ถนนสาทรเหนือ)

ก้อ ณฐพล ชวนร่วมงานสัมมนา ผู้สร้างสรรค์ดนตรีระหว่างประเทศ ประจำปี 2566

related