svasdssvasds

เปิด 7 วิธี ป้องกันมิจฉาชีพหลอก "ยื่นภาษีออนไลน์ 2565" ลวงกดลิงก์ผ่าน LINE

เปิด 7 วิธี ป้องกันมิจฉาชีพหลอก "ยื่นภาษีออนไลน์ 2565" ลวงกดลิงก์ผ่าน LINE

กรมสรรพากรเปิด 7 วิธีป้องกันมิจฉาชีพหลอกเหยื่อ "ยื่นภาษีออนไลน์ 2565" ยันไม่มีการใช้แอปพลิเคชัน LINE ติดต่อให้ทำธุรกรรมด้านภาษีทุกกรณี

 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2565 (วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2566)  หรือ "ยื่นภาษีออนไลน์ 2565" ซึ่งประชาชนสามารถทำการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซด์ กรมสรรพากร ได้

 สำหรับผู้ที่ได้รับจดหมายแจ้งเตือน หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ สรรพากร ได้ตามเบอร์โทรศัพท์ในหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าว หรือสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาษีได้ที่ สายด่วนกรมสรรพากร โทร.1161

 ขอเตือนให้ผู้เสียภาษีที่ต้อง "ยื่นภาษีออนไลน์ 2565" ต้องระมัดระวังกลลวงจากมิจฉาชีพด้วย ซึ่งในปีที่แล้ว พบมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร โทรศัพท์หลอกลวงผู้เสียหายภาษีในกรณีต่างๆ เช่น อ้างว่าจะคืนภาษีให้ อ้างว่าเป็นนี่ภาษีอากรค้างกรมสรรพากร หรือในเรื่องอื่นๆ โดยมีเงื่อนไขให้กดลิงค์ปลอมตามที่ส่งให้ทางแอปพลิเคชัน LINE หรือให้แจ้งรหัส OTP 6 หลัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ยื่นภาษี 2565 ผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร ง่ายๆในคลิกเดียว

• ยื่นภาษีออนไลน์ 2565 เริ่มวันไหน ขั้นตอนการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

• หากไม่ยื่นภาษีภ.ง.ด. 90/91 ยื่นภาษีล่าช้า เสี่ยงโดนโทษอะไรบ้าง

โดยอ้างว่าจะดำเนินการให้ ซึ่งทางกรมสรรพากรได้แจ้งเตือนให้ผู้เสียภาษีและประชาชนทราบ ว่ากรมฯไม่มีการใช้แอปพลิเคชั่น LINE ในการติดต่อเพื่อให้ผู้เสียภาษีและประชาชนทำธุรกรรมด้านภาษีในทุกกรณี ทั้งการแจ้งคืนภาษีหรือการตรวจสอบการติดตามหนี้ภาษีอากรค้าง 

  ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจปัองกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ให้คำแนะนำเพื่อป้องกัน มิจฉาชีพ ทำการล่อลวง และหาช่องทางของการหลอกเหยื่อโดยใช้ข้ออ้าง "ยื่นภาษีออนไลน์ 2565" ดังนี้

1. กรมสรรพากร ไม่มีนโยบายติดต่อประชาชนทางโทรศัพท์หรือ ส่ง SMS หากมีการติดต่อให้ขอรายละเอียดไว้ และติดต่อสำนักงานสรรพากรด้วยตนเอง

2. ตั้งสติ ตรวจสอบ ให้ดีว่าเป็นกรมสรรพากร หรือเจ้าหน้าที่สรรพากรโดยโทร 1161 เพื่อตรวจสอบ

3. ไม่กดลิงก์ หรือติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันที่ผู้อื่นส่งมาให้โดยเด็ดขาด หากต้องการใช้งานให้ติดตั้งผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น

4.ไม่ติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่กดโฆษณาหรือหน้าต่าง (Pop-up) ปลอมบนเว็บไซต์ที่เข้าเยี่ยมชม เพราะเสี่ยงต่อการฝังหรือติดตั้งมัลแวร์จากมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว

5.ไม่กดลิงก์ที่ส่งต่อกันมาจากสื่อสังคมออนไลน์ และให้ตรวจสอบทุกครั้งก่อนที่จะติดตั้ง

6.ไม่โอนเงิน หรือทำธุรกรรมใดๆ ผ่านแอปพลิเคชัน ผ่านลิงก์หรือคิวอาร์โค้ด (QR Code) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีธนาคารที่ใช้ชื่อของบุคคลธรรมดา

7.ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงินลงในลิงก์หรือแอปพลิเคชันที่เข้ามาในลักษณะดังกล่าวโดยเด็ดขาด

ที่มา : กรมสรรพากร

 

related