svasdssvasds

บริจาคเงินสนับสนุนป่าชุมชนลดหย่อนภาษี ยิ่งจ่ายเยอะ ได้คืนเยอะ

บริจาคเงินสนับสนุนป่าชุมชนลดหย่อนภาษี ยิ่งจ่ายเยอะ ได้คืนเยอะ

รู้ไหมว่านอกจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 ที่สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีแล้ว การบริจาคเงินสนับสนุนป่าชุมชนก็สามารถช่วยลดภาษีได้เช่นกัน ซึ่งถ้าเราบริจาคมาก ก็ได้คืนมากเช่นกัน

มาตรการนี้ลดหย่อนภาษีโดยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและประชาชนมีส่วนร่วมในการบริจาคเงินสนับสนุนป่าชุมชน จำนวน 10,246 แห่ง เป็นการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของป่าชุมชนในการกักเก็บคาร์บอน นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการเพิ่มแหล่งกักเก็บและก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี ค.ศ. 2037 และกระตุ้นให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามาสนับสนุนชุมชนที่ดูแลรักษาป่าชุมชนให้มากขึ้น จึงได้มีการปรับหลักเกณฑ์การได้รับสิทธิประโยชน์ใหม่ดังนี้

1. บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้เท่าจำนวนที่บริจาค โดยไม่มีขั้นต่ำในการบริจาค

2. บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคเงินผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ให้แก่กรมป่าไม้ เพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน

3.สามารถใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2570

บริจาคเงินสนับสนุนป่าชุมชนลดหย่อนภาษี ยิ่งจ่ายเยอะ ได้คืนเยอะ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

มาตรการลดหย่อนภาษีโดยการบริจาคเงินสนับสนุนป่าชุมชน เริ่มจากที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย TGO ร่วมกับ กรมป่าไม้ ผลักดันให้กรมสรรพากรออกประกาศพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 688) พ.ศ. 2562 (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อนมีสิทธินำเงินบริจาคมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่าที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ ทั้งนี้ การบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งบัดนี้มาตราการดังกล่าวหมดอายุแล้ว

บริจาคเงินสนับสนุนป่าชุมชนลดหย่อนภาษี ยิ่งจ่ายเยอะ ได้คืนเยอะ เพราะเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นของมาตราการดังกล่าว TGO ได้ประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับกรมสรรพากรเพื่อขอปรับปรุงและขยายระยะเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งนำมาซึ่งร่างประกาศพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาของมาตราการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2570

 

ที่มา : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก - องค์การมหาชน (อบก.)

related