svasdssvasds

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ส่งออกทุเรียนไทย ทางรถไฟ สู่จีน ล้อหมุน 19 เม.ย. นี้

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ส่งออกทุเรียนไทย ทางรถไฟ สู่จีน ล้อหมุน 19 เม.ย. นี้

จับตา! รถไฟส่งทุเรียนเที่ยวแรกในประวัติศาสตร์ เส้นทางเชื่อมมาบตาพุด-กวางโจวของจีน ล้อหมุนอย่างเป็นทางการ วันที่ 19 เม.ย.นี้

นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี  เป็นประธานเปิดงาน ROAD SHOW ส่งเสริมการส่งออกทุเรียนไทย ทางรถไฟ สู่ประเทศจีน ได้บรรยายส่งเสริมการส่งออก พื้นที่ภาคตะวันออก ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "สถานการณ์การผลิตทุเรียน และผลไม้ในฤดูกาล ของภาคตะวันออก ปี 2566 และการเตรียมความพร้อมในการส่งออก 

โดยความร่วมมือระหว่าง PAS กรมวิชาการเกษตร  ปตท. GML. และมหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาเขตจันทบุรี)  ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ สมาคม บริษัท  และภาคประชาชน ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนมาก 

สำหรับภายในงานเป็นการเสวนาบรรยายให้ข้อมูลเรื่อง "สถานการณ์การผลิต ทุเรียน และผลไม้ในฤดูกาล ของภาคตะวันออก ปี พ.ศ.2566 และการเตรียมความพร้อมในการส่งออก” จากผู้ทรงคุณวุฒิ หลากหลายท่านด้วยกัน 

ทั้งนี้ การขนส่งทางรถไฟ ไปยังประเทศจีน รวมถึงยุโรป นับเป็นหนึ่งในการขนส่งที่สำคัญของไทย  และมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดไปยังมณฑลต่างๆในจีน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดยบริษัท PAS จะเน้นให้บริการร่วมกับพันธมิตร ในการให้บริการ Door to Door หรือจากล้งทุเรียนถึงตลาดขายผลไม้ปลายทางที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งทำเอกสารพิธีการทางศุลกากรและเสียภาษีขาเข้า-ออกระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ PAS ได้จัดเตรียมตู้เย็นคอนเทนเนอร์สำหรับส่งออกผลไม้ไทย โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และอาหารทะเลแช่แข็งทั้งปี แก่ผู้ส่งออกสู่ประเทศจีนในปี 2566 ประมาณ 700-1,000 ตู้คอนเทนเนอร์ ที่สามารถใช้บริการขนส่งทางรถไฟตลอดเส้นทาง ระหว่างประเทศไทยสู่จีน มีเส้นทางดังนี้

  • มาบตาพุด - คุนหมิง ใช้ระยะเวลา 3 - 4 วัน
  • มาบตาพุด - ฉงชิ่ง ใช้ระยะเวลา 4-5 วัน
  • มาบตาพุด - กวางโจว ใช้ระยะเวลา 5-6 วัน

เส้นทางเหล่านี้จะเริ่มให้บริการเดินรถไฟจากประเทศไทยทุกวัน ๆ ละ 1 ขบวน โดย 1 ขบวนจะบรรทุกตู้เย็นคอนเทนเนอร์ได้ 30 ตู้ และจะเพิ่มปริมาณขบวนรถไฟตามสินค้าผู้ส่งออก โดยตั้งเป้าปีนี้จะจัดรถไฟบรรทุกสินค้าขาขึ้นและขาลงระหว่างประเทศไทยและจีนให้ได้สูงสุด 4 ขบวนต่อวัน โดยมีขบวนวิ่งทุกวัน ภายใต้คำจำกัดความที่ว่า “ถูกกว่า เร็วกว่า ปลอดภัยกว่า”

related