svasdssvasds

ยูเนสโกประกาศแล้ว "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก

ยูเนสโกประกาศแล้ว "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก

ยูเนสโก ประกาศ "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ หลังรอคอยมานานถึง 31 ปี

วันที่ 19 ก.ย. นี้ การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่มีการประชุม ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ได้พิจารณาและประกาศขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำให้ประเทศไทย มีแหล่งมรดกโลกเพิ่มขึ้นเป็น 7 แห่ง และศรีเทพนับเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแหล่งที่ 4 ของประเทศไทย ซึ่งจากนี้จะนับเป็นสถานที่หรือพื้นที่สำคัญที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายโดยอนุสัญญาระหว่างประเทศซึ่งบริหารงานโดยองค์กร UNESCO

ยูเนสโกประกาศแล้ว "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก

หนึ่งเมืองโบราณ สองโบราณสถาน สามองค์ประกอบหลักแห่งศรีเทพ

  • เมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี 2 ชั้น คือ เมืองใน และเมืองนอก
  • เขาคลังนอก ศาสนสถานขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี เป็นตัวแทนความเชื่อในเรื่องมณฑลจักรวาล
  • ถ้ำเขาถมอรัตน์ ที่ตั้งของศาสนสถาน ที่สำคัญบนยอดเขาถมอรัตน์ พบภาพสลักพระพุทธรูปโบราณ  และเป็นศาสนสถานสำคัญที่คนในพื้นที่ให้ความเคารพ  

ยูเนสโกประกาศแล้ว "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก

ยูเนสโกประกาศแล้ว "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก  

ทั้งนี้การนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ดำเนินการโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)

เมืองโบราณศรีเทพ 

ตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 107 กิโลเมตร เมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและศาสนาหลากหลายแบบผสมผสาน ทั้งทวารวดี และขอม คาดว่าอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี

ยูเนสโกประกาศแล้ว "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก

ความเจริญของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่า อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11- 16 การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพ กรมศิลปากรพบว่า มีความเก่าแก่มาก อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2,500 ปี และได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ มีอายุเก่าแก่ถึง 1,800 ปี และยุคทวารวดี ที่มีความเก่าแก่ถึง 1,400 ปี

ยูเนสโกประกาศแล้ว "เมืองโบราณศรีเทพ" จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก

เมืองแห่งนี้มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ คูเมืองนอกกำแพง ประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง มีสระน้ำสองแห่ง

 

related