svasdssvasds

สภาผู้บริโภคฯ ถกชัชชาติ ความปลอดภัยคอนโดใหญ่ในซอยแคบ ร้อง EIA-ผังเมือง

สภาผู้บริโภคฯ ถกชัชชาติ ความปลอดภัยคอนโดใหญ่ในซอยแคบ ร้อง EIA-ผังเมือง

สภาผู้บริโภคฯ จับมือภาคประชาชน ร้อง “ชัชชาติ” แก้ปัญหาทางเข้าคอนโดไม่ผ่าน EIA และปฏิรูปผังเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค และนายวีระพันธ์ ชินวัตร อุปนายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการโครงการก่อสร้างอาคารสูง 3 แห่ง ร่วมกันยื่นหนังสือร้องขอให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แก้ไขปัญหาการก่อสร้างอาคารสูงในซอยแคบ 3 แห่ง ได้แก่

  • โครงการเอสประดิพัทธ์ (ประดิพัทธ์ซอย 23)
  • โครงการเอส รัชดา (รัชดา ซอย 44)
  • โครงการเดอะมูฟ (พหลโยธิน 37)

ที่อาจไม่เป็นไปตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 รวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตและความปลอดภัย และการจัดการผังเมือง

ถอดบทเรียน "แอชตัน อโศก" ปัญหาก่อสร้างอาคารใหญ่ ทางเข้าคอนโดไม่ผ่าน EIA

ผู้ว่าฯ กทม.เชิญตัวแทนจากเขตจตุจักร พญาไท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมรับฟังข้อเสนอและหาทางออกร่วมกัน โดยสภาผู้บริโภคและผู้แทนชุมชน เรียกร้องให้ กทม. พิจารณาชะลอการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ทั้ง 3 แห่งไว้ก่อนเพื่อประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน ที่ยึดบริบทชุมชนการพัฒนาเมือง การขอให้ขอแก้ไขกฎหมายข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ที่กำหนด “เขตทาง” และ “ผิวจราจร” ให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคารในเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะระยะความกว้างของถนนต้องไม่น้อยกว่า 6 เมตร เพื่อให้รถเข้าออกได้สะดวกเมื่อเกิดอัคคีภัย หรือเหตุฉุกเฉิน และขอทบทวนกระบวนการรวบรวมข้อมูลในการจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครใหม่ ที่ควรเน้นการมีส่วนร่วม รับฟัง แลกเปลี่ยนความเห็น และชี้แจงประชาชนให้เข้าใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

โดยนายชัชชาติ รับที่จะติดตามเรื่องต่อเพื่อให้โครงการก่อสร้างปฏิบัติตามการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และจะให้คณะกรรมการปรับปรุงแนวทางการพิจารณาอนุญาตก่อสร้างอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยนำคำพิพากษาศาลปกครอง เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง โครงการแอชตัน อโศก เป็นกรณีศึกษาด้วย เพื่อนำมาพิจารณาการขอใบอนุญาติก่อสร้าง

ถอดบทเรียน "แอชตัน อโศก" ปัญหาก่อสร้างอาคารใหญ่ ทางเข้าคอนโดไม่ผ่าน EIA

ทั้ง 3 โครงการซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นและจะกำกับดูแลขั้นตอนการก่อสร้างอาคารในกรุงเทพมหานครอย่างเคร่งครัด เพื่อลดปัญหากระทบประชาชนผู้บริโภคด้วย อีกทั้งยินดีที่จะรับฟังและให้ความสำคัญความคิดเห็นจากภาคในการจัดทำร่างผังเมืองรวม กทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ที่อยู่ระหว่างจัดทำด้วย โดยจะให้สำนักการวางผังเมืองและพัฒนาเมืองหารือนอกรอบกับภาคประชาชนและภาคประชาสังคม

ทั้งนี้ น.ส.สารี กล่าวว่า ทางสภาองค์กรของผู้บริโภคและตัวแทนชุมชนได้เข้าไปวัดความกว้างถนนที่เข้าอาคารพบว่าตามโฉนดที่ดินมาความกว้างเกิน 6 เมตรจริง แต่พื้นที่ใช้สอยได้จริงไม่ถึง 6 เมตร เพราะมีสิ่งกีดขวาง เช่น เสาไฟ ตู้โทรศัพท์ อีกทั้งพื้นที่จอดรถที่ไม่เพียงพอทำให้รถของลูกบ้านต้องออกมาจอดบริเวณข้างทางเข้าอาคาร เนื่องจากการปลูกสร้างยึดตามกฎหมายการปลูกสร้างอาคารที่กำหนดที่จอดรถเพียง 20% ส่งผลให้ถนนที่คับแคบอยู่แล้ว ยิ่งมีพื้นที่ใช้สอยได้จริงน้อยกว่าเดิมมาก ซึ่งหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเพลิงไหม้ รถดับเพลิงและรถกู้ภัยจะไม่สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้ทันเวลา ซึ่ง กทม. ต้องทบทวนเรื่องความปลอดภัยนี้และข้อกำหนดตาม EIA

ถอดบทเรียน "แอชตัน อโศก" ปัญหาก่อสร้างอาคารใหญ่ ทางเข้าคอนโดไม่ผ่าน EIA

สำหรับ 2 โครงการที่กำลังพิจารณาคือ โครงการเอส รัชดา และโครงการเดอะมูฟ และอีกหนึ่งโครงการที่พิจารณาผ่านไปแล้วคือ โครงการเอสประดิพัทธ์ และจะเป็นบรรทัดฐานในการอนุมัติการก่อสร้างโครงการใหญ่ หรือคอนโดอื่นๆ ในอนาคตเพื่อให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้

ด้านข้อเสนอเรื่องผังเมือง นายวีระพันธ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่สี่ อย่างทั่วถึง เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน โดยมีส่วนร่วมเพียง 3 ครั้งจากขั้นตอนทั้งหมด 22 ขั้นตอนตาม พ.ร.บ.การผังเมือง ปี 2562

อีกทั้งคำถามที่นำมาใช้ในการรับฟังความคิดเห็นก็เป็นคำถามเดิมที่ใช้มาเมื่อปี 2561 โดยที่ไม่ได้ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และความจำเป็นของประชากรในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิต ความแออัด น้ำท่วม โรคระบาด และผังเมืองที่ขยายตัวจนเกิดความหนาแน่นเกินไป จะยิ่งทำให้พื้นที่ในเมืองราคาแพง ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถจ่ายค่าที่พักของตัวเองได้ และต้องย้ายออกนอกเมือง และนำมาสู่ปัญหาจราจรติดขัดเนื่องจากทุกคนต้องเข้าเมืองมาทำงาน

ซึ่งทางเครือข่ายขอเรียกร้องให้ กทม. ได้พิจารณาเรื่องการสร้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง สร้างรถไฟฟ้าขนถ่ายคนเข้าเมือง (Feeder) และการเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง ยอมรับว่าการแก้ปัญหาผังเมืองเป็นเรื่องยาก แต่เราต้องเริ่มต้นจากการกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง คือการประชาสัมพันธ์รับฟังความเห็นและความต้องการของประชาชนให้รอบด้านก่อนเริ่มทำร่างผังเมืองรวม เพื่อให้ผังเมืองไม่ใช่แค่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เอกชน แต่เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตให้ประชาชน

ก่อนหน้านี้ศาลปกครองมีคำพิพากษา เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ "แอชตัน อโศก" ที่ออกให้แก่ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด จนกลายเป็นประเด็นร้อนที่สร้างความหวั่นวิตกให้กับลูกบ้าน และคนที่กำลังซื้อคอนโด 

ต่อมานายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ทางเข้า-ออกอาคารที่เป็นปัญหาดังกล่าว ยังเปิดใช้การได้ตามปกติ ซึ่งกทม.จะเร่งดำเนินการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด แต่เรื่องดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่เร่งด่วนในเรื่องของความปลอดภัยของตัวอาคาร อาทิ เรื่องโครงสร้างอาคารไม่ถูกต้องจนอาจมีความเสี่ยงเกิดการถล่ม หรือรถดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปที่อาคารดังกล่าวได้ ซึ่งนั่นเป็นกรณีที่เร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ

เพราะฉะนั้นอาคารดังกล่าวยังปลอดภัยดีอยู่ทุกประการ แต่ปัญหาเป็นเรื่องของทางเข้า-ออกอาคารที่ต้องดำเนินการตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 500 ราย และเป็นความรับผิดชอบของผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารที่ต้องแก้ไขปัญหา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related