svasdssvasds

จาก "เมืองเฉิงตู" ถึง "มาบตาพุด" จีน-ไทย ร่วมปล่อยขบวนรถไฟสายประวัติศาสตร์

จาก "เมืองเฉิงตู" ถึง "มาบตาพุด" จีน-ไทย ร่วมปล่อยขบวนรถไฟสายประวัติศาสตร์

รัฐบาลจีน และเอกชนไทย ร่วมปล่อยขบวนรถไฟขนส่งสินค้าสายประวัติศาสตร์ จาก "เมืองเฉิงตู" ถึง "มาบตาพุด" ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์การขนส่งสินค้าทางรางครั้งแรกอย่างเป็นทางการระหว่าง 2 ชาติ

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 น ตามเวลาท้องถิ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน  ที่สถานีรถไฟเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน รัฐบาลเมืองเฉิงตู บริษัทจากจีนได้แก่ CRCT,Laos-China Railway,China Railway Container Transport และบริษัทไทยที่ประกอบด้วย Pan-Asia, Silk Road และ GML บริษัทโลจิสติกส์ ในเครือ ปตท.จำกัด(มหาชน) ไทยได้ร่วมกันปล่อยรถไฟขนส่งสินค้าจีนพร้อมตู้คอนเทนเนอร์สินค้าจำนวน 35 ตู้ โดยมีจุดหมายปลายทางที่สถานีรถไฟมาบตาพุด ประเทศไทย

เส้นทางนี้จะผ่านประเทศลาวและผ่านพรมแดนเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคายแล้วเดินทางต่อไปจนถึงปลายทางที่สถานีรถไฟมาบตาพุด โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 วัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์การขนส่งสินค้าทางอย่างเป็นทางการจากรางครั้งแรก ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มุ่งสู่ประเทศไทย

โดยภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้ รัฐบาลไทย ภายใต้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรจะดำเนินการส่งสินค้าเกษตรหลากหลายชนิดกลับไปที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีจุดหมายปลายทางที่สถานีรถไฟเมืองเฉิงตู และจะจัดส่งสินค้าเกษตรบางส่วนต่อผ่านสถานีรถไฟเฉิงตูไปยังประเทศรัสเซียและประเทศในภาคพื้นยุโรป ซึ่งสินค้าเกษตรนี้ประกอบด้วย ผลไม้ไทยเช่น มังคุด ทุเรียน มะพร้าว นอกจากนั้นยังมี ข้าว มันสำปะหลัง เนื้อสัตว์แช่แข็ง และ อาหารทะเลแช่แข็ง

นี่เป็นมิติใหม่ของการขนส่งสินค้าเกษตรของประเทศไทยที่เน้นส่งไปขายทางภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศจีน ประกอบด้วยเมืองคุนหมิง ฉงชิ่งและ เฉิงตู ที่มีประชากรรวมกันปรมาณ 700-800 ล้านคน ซึ่งถือได้ว่าการขนส่งหรือการบริการโลจิสติกส์ ทางรางที่ รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดในการขนส่งสินค้ามากที่สุด

นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนโครงการ One belt one road ของสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยตรง และรัฐบาลไทยพยายามผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ประโยชน์สูงสุดในการขายผลผลิตทางการเกษตร โดยการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างสถานีมาบตาพุด ซึ่งบริษัท Pan Asia Silk Road จะเป็นผู้ให้บริการหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ต่างชาติสนใจ “แลนด์บริดจ์” เพียบ สุริยะ ชี้! คือเส้นทางเดินเรือใหม่ของโลก

"ดุสิตโพล" เผย 3 นโยบายของรัฐบาล "เศรษฐา ทวีสิน" ที่ทำให้ประชาชนมีความหวัง

เศรษฐา ทวีสิน ขอเป็นเซลล์แมนประเทศ ตัวกลางเชื่อมโลก ยกระดับชีวิตคนไทยทุกคน

related