svasdssvasds

ซอฟต์พาวเวอร์ "หมูกระทะ"? กับประวัติศาสตร์อันยาวนาน!

ซอฟต์พาวเวอร์ "หมูกระทะ"? กับประวัติศาสตร์อันยาวนาน!

เปิดประวัติความเป็นมา "หมูกระทะ" เมนูสุดฮิตคนไทย หลัง “อุ๊งอิ๊ง” ปิ๊งไอเดียหนุน “หมูกระทะ” เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เพราะเป็นอาหารยอดนิยม สามารถดึงคนมาร่วมกันได้ อีกทั้งแต่ละจังหวัดยังมีสูตรที่เป็น “ซิกเนเจอร์” และเสน่ห์แตกต่างกันไป

หลังจากการเข้าร่วมการประชุมจัดตั้งสาขา พรรคเพื่อไทย ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เปิดเผยช่วงหนึ่งว่า พรรคเพื่อไทยมีเป้าหมายตั้งสาขาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้พรรคใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนมากขึ้น โดยมีเครือข่ายครอบครัวเพื่อไทยไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใกล้กับพรรค เพื่อจะได้สะท้อนปัญหาอย่างแท้จริง เพราะแต่ละพื้นที่มีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป

โอกาสของ “หมูกระทะ” บนเส้นทางซอฟต์พาวเวอร์

กรณีที่มีแนวคิดผลักดัน “หมูกระทะ” อาหารจานเด็ดยอดนิยมของคนไทยให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า จากที่ได้ให้สัมภาษณ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ เนื่องจากต้องการผลักดันเรื่องหมูกระทะ เพราะเพียงแค่ความรู้สึกบอกว่าเป็นหมูกระทะ ก็เห็นว่าสามารถดึงคนเข้ามาร่วมกันได้

“อาหารนั้นหากเราทำให้อร่อยขึ้น สะอาดขึ้น ก็อาจสามารถทำให้ชาวต่างชาติเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ซึ่งเราก็ได้เห็นตัวอย่างของเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น ที่มีอาหารสไตล์จิ้มจุ่มหรือปิ้งย่างนั้นราคาสูงมาก แต่ของเราราคาดีมากๆ ก็อยากสนับสนุน เพราะเรามีสินค้าที่ดี มีวัฒนธรรมที่ดีอยู่แล้ว” 

ประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องอาหาร และจะสามารถผลักดันเป็นซอฟต์พาวเวอร์ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งหมูกระทะนั้น ในแต่ละจังหวัดยังมีลักษณะเด่นของตนเอง หรือเป็น “ซิกเนเจอร์” ที่ไม่เหมือนกัน ถือเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่ง น่าจะสามารถดึงแต่ละจังหวัดให้มาร่วมกันได้ รวมไปถึงเมนูอื่นๆ ในแต่ละจังหวัดด้วย

"หมูกระทะ" เมนูสุดฮิตคนไทย

เปิดที่มา "หมูกระทะ" ใครเป็นคนริเริ่ม   

ในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าหมูกระทะมาจากไหน เนื่องด้วยวัฒนธรรมการกินถูกปรับไปตามพื้นที่ และพฤติกรรมของสังคมนั้นๆ แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าหมูกระทะที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นมีเค้าโครงสำคัญจากวัฒนธรรมการกินสำคัญ 3 แหล่งด้วยกัน

  • ปี 2500 หลักฐานหมูกระทะในประเทศไทย เสิร์ฟในภัตตาคาร ชื่อว่า “เนื้อย่างเจงกิสข่าน”
  • ในปี 2501 ในภาคอีสานนั้น มีร้านต้นตำรับ ที่ จ.อุบลราชธานี คือร้าน “หมื่นทิพย์เนื้อย่างเกาหลี” โดยยุคแรกนั้นจะมีการเสิร์ฟอาหารเป็นชุดๆ ก่อนที่ต่อมาการปิ้งย่างลักษณะนี้จะถูกผสมผสานกับการกินในรูปแบบบุฟเฟ่ต์หมูกระทะคล้ายกับยุคปัจจุบัน
  • ปัจจุบันหมูกระทะนับเป็น Soft Power หนึ่งของไทย มีคนเอาคอนเซ็ปต์ไปเปิดในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ได้รับผลตอบรับจากชาวต่างชาติเป็นอย่างดี

รูปทรงเตาหมูกระทะ ลักษณะโค้งๆ อาจมาจาก วัฒนธรรมการกินแบบมองโกเลีย คือ การย่างเนื้อบน “หมวกเหล็กออกรบ” ของ “ทหารมองโกล” เนื่องจากในอดีตหลังจากที่อยู่ในช่วงพักรบ อุปกรณ์ในการทำอาหารของเหล่าทหารมีจำกัด

ดังนั้นหมวกเหล็ก หรือเรียกว่า “Mongol Ancient Military Hat” จึงเป็นอุปกรณ์อย่างดีสำหรับเป็นที่ย่าง และรูปทรงของหมวกก็อาจจะตกทอดมาสู่เตาหมูกระทะในปัจจุบัน

อีกด้านหนึ่ง วัฒนธรรมการย่างบนเตาเจอบันทึกทางการในฮอกไกโดประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2461 เรียก “เนื้อย่างเจงกิสข่าน” แรงบันดาลใจมาจากการกินเนื้อย่างในแถบจีนตอนเหนือ

ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้ประชาชนกินปิ้งย่างเนื้อแกะเป็นอย่างมาก เนื่องจากเนื้อแกะล้นตลาด จากการปศุสัตว์แบบเกินขนาด จนมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาเป็น “ยากินิคุ” ในปัจจุบัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related