svasdssvasds

บ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย UN เผย เด็ก-ผู้หญิงถูกทำร้ายจากคนในครอบครัวพุ่ง

บ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย UN เผย เด็ก-ผู้หญิงถูกทำร้ายจากคนในครอบครัวพุ่ง

บ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยของทุกคน “UN” เผย เด็กและผู้หญิงถูกทำร้ายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2022 และ 55 % เกิดขึ้นจากคนในครอบครัว

วันที่ 22 พ.ย. 2023 “สำนักข่าวซินหัว (Xinhua) ” รายงานถึงการวิจัยล่าสุดที่เปิดเผยโดย องค์การสหประชาชาติ (UN) ว่า มีผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเกือบ 89,000 รายทั่วโลกถูกสังหารในปี 2022 ถือเป็นตัวเลขรายปีสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

บทสรุปการวิจัยที่ตีพิมพ์โดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และ UN Women ชี้ให้เห็นว่าแม้การฆาตกรรมโดยรวมจะลดลง แต่การก่อเหตุกับผู้หญิงยังคงเพิ่มสูงขึ้น

โดย 55 % ของเหตุฆาตกรรมในปี 2022 เกิดจากสมาชิกภายในบ้าน ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่า บ้านไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและผู้หญิง

ผลการสำรวจนี้ ทำให้ “กาดา วาลี (Ghada Fathi Waly) ” ผู้อำนวยการบริหาร UNODC แถลงว่า การที่คดีฆาตกรรมผู้หญิงพุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ เป็นเครื่องเตือนใจที่ชัดเจนว่า มนุษยชาติยังคงต้องต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมที่หยั่งรากลึก และความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง”

วาลี กล่าวอีกว่า “รัฐบาลต้องลงทุนให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนการยกเว้นโทษ หานโยบายป้องกัน และช่วยเหลือเหยื่อ ตั้งแต่ผู้ที่รับมืออยู่แนวหน้าไปจนถึงชั้นตุลาการ เพื่อยุติความรุนแรงก่อนสายเกินไป

บ้านไม่ใช่เซฟโซน

สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย

วันที่ 25 พ.ย. 2023 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้ สรุปสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวจากข่าวปี 2022 พบว่า รายงานข่ถึง 1,131 ข่าว เพิ่มขึ้นจากปี 2021 กว่า 3 เท่า

สถิติที่น่าสนใจมีดังนี้

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น 347 ข่าว คิดเป็น 30.7%
  • มียาเสพติดเป็นตัวกระตุ้น 272 ข่าว คิดเป็น 24%

นอกจากนี้ ยังพบว่าการฆ่ากันตายในครอบครัวสูงเป็นอันดับหนึ่งคือ 534 ข่าว คิดเป็น 47.2% ซึ่งในจำนวนนี้มีข่าวสามีฆ่าภรรยา 157 ข่าว ซึ่งคิดเป็น 73.7% โดยมีสาเหตุดังนี้

  • ระแวงว่าภรรยานอกใจ 94 ข่าว
  • ง้อไม่สำเร็จ 46 ข่าว

ซึ่งมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลมองว่า ปัญหาส่วนดังกล่าวเกิดภายใต้ระบบแนวคิดแบบชายเป็นใหญ่ และสังคมต้องเริ่มต้นจากการป้องกันโดยจับสัญญาณความรุนแรงในครอบครัวตั้งแต่ระยะแรก เช่น การหึงหวง การบังคับควบคุม ข่มขู่ รุกราน รวมทั้งกรณีที่มีปัจจัยกระตุ้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดร่วมด้วย ซึ่งสารกระตุ้นเหล่านี้มีแนวโน้มส่งผลให้ปัญหาทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม วิธีการแก้ไขคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวง พม. ควรเพิ่มการทำงานเชิงรุกด้วยการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครในพื้นที่ให้มีทักษะในการจับสัญญาณความรุนแรงในครอบครัวและเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งการพัฒนากลไกให้เข้มข้นในการคุ้มครองผู้ประสบปัญหาและมีกระบวนการปรับทัศนคติผู้กระทำด้วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เรื่องการเคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ภรรยาไม่ใช่สมบัติของสามี”

ที่มา Xinhua

ปรึกษาปัญหาความรุนแรงในคู่รักได้ที่

  • ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์) โทร 1300
  • สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี โทร 02929222
  • มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ให้คำปรึกษาผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว 025132889

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

related