svasdssvasds

25 พ.ย. วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ไม่ควรมีใคร ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง!

25 พ.ย. วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ไม่ควรมีใคร ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง!

วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวัน “วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล” (International Day for the Elimination of Violence against Women) จากการกำหนดของ องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ไม่ควรมีใคร ต้อวตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอีกต่อไป

ทั้งนี้ การกำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันที่ทุกคนต้องตระหนักถึงความรุนแรงที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น บนโลกใบนี้อีกแล้ว  โดย UN มีเป้าประสงค์ รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและร่วมกันขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั่วโลก และคณะมนตรี ได้กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” มาตั้งแต่ปี 1999

ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในประเทศไทย ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง มีผู้หญิงและเด็กหญิงถูกล่วงละเมิดด้วยการทำร้ายร่างกายและจิตใจในทุก ๆ วัน และประเทศไทยติด 1 ใน 10 ของโลกที่มีสถิติผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงทั้งด้านจิตใจ ทางร่างกาย และทางเพศมากที่สุด
 

นอกจากนี้ ปรากฏว่ามีความรุนแรงในครอบครัวอีกหลายกรณีที่ไม่ได้รับการแจ้งความร้องทุกข์ ยังถือเป็นความทุกข์ทรมานของผู้ถูกกระทำที่ถูกซุกซ่อนไว้ใต้พรม จะด้วยสาเหตุความหวาดกลัวต่อการถูกข่มขู่ คุกคาม หรือความอับอายไม่อยากเปิดเผยเรื่องราวให้ผู้อื่นรับรู้ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ผู้หญิงและเด็กหญิงที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อน ยังมีความเปราะบางต่อการถูกกระทำความรุนแรงมากขึ้น อาทิ เป็นเด็กหญิงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พิการ ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริการทางเพศ และติดเชื้อเอชไอวี HIV  

นอกจากนี้ การแสวงหาประโยชน์และกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทางออนไลน์ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกด้วย

โดย กสม. หรือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องการรณรงค์ การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาการของเด็ก กสม. ให้ความสำคัญกับการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกรูปแบบ และขอให้ทุกภาคส่วนของสังคมร่วมมือกัน เพื่อร่วมกันให้ความคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ และความปลอดภัยของผู้หญิงและเด็กทุกคน จากความรุนแรงทั้งทางกาย ทางจิตใจ และทางเพศ

ทั้งนี้ กสม. หนุนหลังให้ทุกคนลุกขึ้นยืนหยัดพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของผู้หญิงและเด็กหญิง  เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมที่ไม่มีใครสมควรต้องตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอีกต่อไป

25 พ.ย. วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ไม่ควรมีใคร ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง! credit - ภาพจาก freepik

•  รู้จักโรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) คืออะไร?


ทั้งนี้ หากใครก็ตามที่เคยผ่านเหตุการณ์ การตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงนั่น ก็ถือว่ามีโอกาสเสี่ยง ที่จะเกิดโรค  PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) โดย  PTSD คือ โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่เกิดจากความกดดันทางจิตใจชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีประสบการณ์ผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือสะเทือนขวัญขั้นรุนแรง หรือต้องเผชิญกับความรู้สึกเครียดที่รุนแรงทางจิตใจ

แม้จะผ่านเหตุการณ์นั้นไปแล้ว แต่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ภาพ กลิ่น รส เสียง ฯลฯ ที่ย้ำเตือนถึงความรู้สึกสะเทือนใจที่เกิดขึ้น ก็อาจทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้ ผู้เป็นโรค PTSD จะรู้สึกหวาดกลัวราวกับว่ากำลังเผชิญกับเหตุการณ์นั้นอยู่จริงๆ เช่น ทหารผ่านศึกที่เคยอยู่ท่ามกลางความโหดร้ายของสงคราม ก็มักจะมีอาการ PTSD ตามมา ทำให้รู้สึกว่าสงครามนั้นตามหลอกหลอนอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น


• วิธีรักษาโรค PTSD ทำให้หายขาดทำได้หรือไม่ ? 

 

PTSD ที่เกิดจาก ความรุนแรง หายได้ไหม? ในปัจจุบันการรักษาโรค PTSD รักษาได้ด้วยการทำจิตบำบัด (Psychotherapy) ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ มีการพูดคุยกับจิตแพทย์ ฝึกรับมือกับความเครียด เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์ที่เกิดจากความทรงจำเลวร้ายในอดีตด้วยตัวเอง เพื่อเยียวยาสภาพจิตใจให้แข็งแรง รวมถึงการกินยารักษาตามอาการ ที่สำคัญคือการให้กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง เพื่อให้ก้าวผ่านโรค PTSD ไปได้

25 พ.ย. วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ไม่ควรมีใคร ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related