svasdssvasds

กกพ. คาด "ค่าไฟฟ้า" ช่วง พ.ค.-ส.ค. ไม่ต่ำกว่า 4.25-4.26 บาท/หน่วย

กกพ. คาด "ค่าไฟฟ้า" ช่วง พ.ค.-ส.ค. ไม่ต่ำกว่า 4.25-4.26 บาท/หน่วย

กกพ. ระบุ แนวโน้ม "ค่าไฟ" งวด พฤษภาคม-สิงหาคม 2567 สูงขึ้นอีกเป็นไม่ต่ำกว่า 4.25-4.26 บาท/หน่วย ไม่รวมกับหนี้ค่าเชื้อเพลิง กฟผ. ราวแสนล้านบาท

ค่าไฟฟ้าเดือน พ.ค.-ส.ค. คาดอยู่ที่ประมาณ 4.20-4.25 บาทต่อหน่วย

เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2567 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า แนวโน้มต้นทุนค่าไฟฟ้าในงวด 2 ปี 2567 เดือน พ.ค.-ส.ค. คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 4.25-4.26 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นต้นทุนที่รวมการประมาณการว่าจะได้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพิ่มเป็น 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในเดือน เม.ย.

รวมทั้งขณะนี้ราคาก๊าซฯ แอลเอ็นจี อยู่ระดับต่ำลง 10-11 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู แต่ต้นทุนดังกล่าวยังไม่รวมกับการรับภาระหนี้ กฟผ.

ปัจจัยสำคัญในการกำหนดค่าไฟฟ้าในงวด 2 ขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวไทยว่าจะได้ตามแผนหรือไม่ และหากราคาก๊าซฯ แอลเอ็นจี ยังยืนอยู่ระดับเดิมได้ ต้นทุนค่าไฟฟ้าตลอดปี 2567 จะไม่สูงไปกว่าประมาณการที่ 4.25 บาทต่อหน่วย

พร้อมขอให้ประชาชนไม่ต้องกังวลกับค่าไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน เพราะได้รับการช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ทำให้ค่าไฟฟ้างวดแรกอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย สำหรับกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 300 หน่วยขึ้นไป จะทำให้ค่าไฟฟ้าไม่สูงขึ้นมาก

กรณีเอกชนที่เรียกร้องให้ปรับค่าไฟฟ้าเหลือ 3.60 บาท/หน่วย เป็นไปได้ยาก

สำหรับข้อเสนอของเอกชนที่เรียกร้องให้ปรับค่าไฟฟ้าลดเหลือ 3.60 บาทต่อหน่วย เลขาฯ กกพ. ยอมรับว่าเป็นไปได้ยาก เพราะปัจจุบัน กกพ.ได้รื้อและลดต้นทุนทุกช่องทางจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว เหลือเพียงการปรับรื้อโครงสร้างไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งเป็นเรื่องนโยบายของภาครัฐที่ต้องดำเนินการ

ทั้งนี้ ค่าไฟงวดใหม่ขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง G1/61 ด้วยว่า จะสามารถขึ้นได้ตามแผน 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันในเดือนเม.ย. นี้หรือไม่ รวมทั้งก๊าซจากเมียนมาจะผลิตได้ตามสัญญาหรือไม่ และหากราคานำเข้า LNG ถูกลงจะสามารถดึงต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลงได้

ทั้งนี้ต้นทุนค่าไฟดังกล่าว ยังไม่รวมการชำระคืนหนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่แบกรับภาระค่าไฟแทนประชาชนไปก่อน รวมกว่า 1 แสนล้านบาทในปัจจุบัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related