svasdssvasds

สั่งย้ายตำรวจ = “ลงโทษ” หรือแท้จริงแล้วคือ “พักร้อน”

สั่งย้ายตำรวจ = “ลงโทษ” หรือแท้จริงแล้วคือ “พักร้อน”

เวลาทำตำรวจทำผิด มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด เช่น กรณี การตายของ ป้ากบ” แล้ว บังคับให้ ลุงเปี๊ยกรับสารภาพ ทั้งที่ไม่ได้ทำ , เพราะเหตุใด ตำรวจที่มีส่วนในความจึงโดนเพียงแค่ "สั่งย้าย" เท่านั้น

จากเรื่องคดีการฆาตกรรม “ป้ากบ” ได้เกิดการตั้งคำถามจากผู้คนในสั่งคมว่า การกระทำผิดของตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบังคับขู่เข็ญให้ “ลุงเปี๊ยก” เป็น “แพะรับบาป” รับสารภาพว่าเจ้าตัวเป็นผู้ก่อเหตุลงมือฆ่า “ป้ากบ” แล้วเหตุใดตำรวจท่านนั้น จึงมีเพียงแค่คำสั่งให้ย้ายราชการเท่านั้น

จากข้อมูลล่าสุด ได้มีคำสั่งจากตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว ให้โยกย้าย 2 นายตำรวจ ผู้ที่มีส่วนบังคับให้ ลุงเปี๊ยก ออกมายอมรับผิดแทนกลุ่มเยาวชนวัย 13-16 ปี จนมีคำถามในสังคมมากมายเกี่ยวกับการย้ายราชการ และจริงๆแล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่มีการสั่งย้ายตำรวจ


หลายครั้งหลายคราว เวลาเกิดคดีและมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ ว่ามีตำรวจเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ กระทำความผิด เช่น คดีฆาตกรรม ซื้อขายตำแหน่ง ยัดเยียดคดี หรืออยู่เบี้องหลังเกี่ยวกับบ่อนการพนัน วิธีเดียวที่เราอาจเห็นกันจนคุ้นชินคือการ “สั่งย้าย” ไปที่อื่น

สั่งย้ายตำรวจ = “ลงโทษ” หรือแท้จริงแล้วคือ “พักร้อน”

ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88 ได้ระบุโทษทางวินัยหากข้าราชการพลเรือนสามัญกระทำผิดไว้ คือ
1.ภาคทัณฑ์
2.ตัดเงินเดือน
3.ลดเงินเดือน
4.ปลดออก
5.ไล่ออก
สำหรับข้าราชการตำรวจ ขั้นตอนหลังจากการย้าย ให้ทำการจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อใช้ในการไต่สวนสืบสวนข้อเท็จจริง กำหนดระยะเวลาเบื้องต้นไว้ 15 วัน สำหรับการสืบสวนและหากยังไม่ลุล่วง สามารถขอขยายเวลาเพิ่มได้ หากพบว่ากระทำความผิดจริง ต้องทำการจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงต่อไป

การสั่งย้ายราชการ บางคนอาจคิดว่าเป็นการ “ลงโทษ” แต่ความจริงแล้ว การสั่งย้ายไม่ใช่การ “ลงโทษ” แต่เป็นเพียงการทำให้ข้าราชการไม่สามารถเข้ามาแทรกแซง หรือมีอำนาจข่มขู่เกี่ยวกับพยานและหลักฐาน ในระหว่างที่คณะกรรมการสืบสวนกำลังไต่สวนหาข้อเท็จจริงของคดี เพื่อหาข้อสรุป

แล้วอีกส่วนหนึ่ง การโดนย้ายก็เหมือนเป็นโอกาส ตำรวจบางนายจากเดิมตำแหน่งไม่ดี ยศน้อย ย้ายไปที่ใหม่ทำงานเข้าตา ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง เงินเดือนเพิ่ม หรือในระหว่างการย้ายถ้าพบว่าทำผิดจริงและถูกลงโทษอยู่ หากได้ไปทำคุณงามความดี ลงพื้นที่ไปปฏิบัติหน้าที่ ที่เสี่ยงอันตราย ก็อาจจะได้รับการลดหย่อนโทษก็เป็นได้เช่นกัน

สุดท้ายเรื่องของการกระทำผิด ถ้ามีเรื่องการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจไม่จบแค่การโดนย้ายแต่จะมีการส่งเรื่องต่อไปถึง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะกลับที่เดิมก็อาจจะยาก ถ้ามีหลักที่ชัดเจนและพิสูจน์ได้ว่าทุจริตจริง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related