svasdssvasds

จากยกเลิก "ภารโรง" สู่การจ้าง "ครูเวร"

จากยกเลิก "ภารโรง" สู่การจ้าง "ครูเวร"

เดือดสนั่นโซเชียล ! ทำชาวเน็ตติด #ยกเลิกครูเวรกี่โมง หลังเกิดเหตุ ครูสาวถูกทำร้ายร่างกาย จี้ครูเวรอยู่ดูแลสถานที่ แต่ใครจะอยู่ดูแลชีวิตครู ?

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายโดยเฉพาะแวดวงการศึกษา
ชาวเน็ตพร้อมใจกัน ติดแฮชแทค จนขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์หรือ (X) #ยกเลิกครูเวรกี่โมง เรียกร้องให้ยกเลิกเรื่องการเข้าเวรของครูโดยเฉพาะครูผู้หญิง และให้พิจารณาเรื่องการคืนเวลาสอนให้กับครู 

ครูเวรอยู่ดูแลสถานที่ แต่ใครจะอยู่ดูแลชีวิตครู ?

เมื่อปี 2562 รัฐบาลมีประกาศ ให้ลูกจ้างชั่วคราวทุกอัตราหยุดปฏิบัติหน้าที่ หนึ่งในนั้น มีภารโรง และครูอัตราจ้างอีกมากมาย
ด้วยเหตุผลว่ากำลังรอการจัดสรรงบประมาณ หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีประกาศ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ตนได้เซ็นหนังสือจัดจ้างผู้ปฏิบัติงานทางธุรการ อีกประมาณ 17,000 อัตรา
เป็นงบกว่า 2,000 ล้านบาท 

โดยช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาของเด็ก เพราะจะทำให้ครูมีเวลาให้กับเด็กมากขึ้น สำหรับ 9,000 โรงเรียนที่ยังไม่มีนักการภารโรง สพฐ. ได้จัดงบให้ โดยใช้วิธีจ้างเหมาบริการเฉพาะเรื่อง เช่น จ้างช่างไฟ, ตัดหญ้า หรือซักผ้าปูที่นอน วันละ 300 บาท เป็นการกระจายรายได้ให้คนในพื้นที่ โดย สพฐ. จัดงบให้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 วันต่อ 1 โรงเรียน รวมจำนวน 104 วัน 

สพฐ.ต้องการสนับสนุนครูเพราะการสอนให้ดีครูต้องมีเวลาเตรียมอย่างน้อย 3 ส่วน โดยส่วนแรกเตรียมก่อนการสอน เตรียมคิดกิจกรรม เตรียมสื่ออุปกรณ์ ส่วนช่วงสอน ครูก็จะได้เต็มที่กับเด็ก และหลังสอนซึ่งเรามีจุดอ่อนอยู่เพราะครูมีภาระเยอะ

ซึ่งหลังสอนครูจะต้องมีเวลาบันทึกเด็กเป็นรายคน เช่น เด็กเก่งแล้วก็ให้ไปทำกิจกรรมต่อยอดต่อไป ส่วนเด็กที่ยังเรียนไม่ทันเพื่อน ครูก็จะได้ไปเพิ่มเติมให้กับเด็ก หลังจากนี้ครูจะต้องทุ่มเทช่วยเหลือเด็กและให้นักเรียนเป็นหน้างานให้มาก

จากยกเลิก \"ภารโรง\" สู่การจ้าง \"ครูเวร\"
 

 

 

ดังนั้นอนาคต หากภารโรงเกษียณโดยนโยบายของรัฐ ไม่น่าจะมีการบรรจุนักการภารโรงใหม่เข้ามา แต่จะให้โรงเรียนใช้วิธีจ้างเหมาบริการแทน เพราะการจ้างนักการภารโรง 1 คน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำได้ทุกอย่าง แต่รัฐก็ให้เงินสนับสนุนมา และสพฐ.เติมไปให้อีก” นายบุญรักษ์ กล่าว

การเปลี่ยนแปลงในตอนนั้นที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลเสียมากมาย โดยเฉพาะการที่ต้องให้คุณครู ไปเข้าเวรยามดูแลสถานศึกษา แทนนักการภารโรงและรปภ. ชาวเน็ตต่างแตกเสียงไปในทิศทางเดียวกันว่า การกระทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยลดภาระของคุณครูแต่อย่างใด และกรณีที่เกิดขึ้นกับ คุณครูที่เชียงรายก็ไม่ใช่ครั้งแรก

จากยกเลิก \"ภารโรง\" สู่การจ้าง \"ครูเวร\"

ในอดีตเคยมีเหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้น ?

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2566 ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง แชร์ประสบการณ์ที่เกิดกับคนใกล้ตัว เกี่ยวกับการอยู่เวรว่ามีคนร้ายบุกเข้ามาทำร้ายขณะที่จะล็อกประตูบ้านพักครู เพื่อหวังจะข่มขืน แต่วิ่งหนีออกจากโรงเรียนมาได้ และได้มาขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณหน้าโรงเรียน

และเมื่อปี 2565 ก็ได้มีคนร้ายเมายาบ้าบุกเข้าไปทำร้ายครู ขณะกำลังสอนหนังสืออยู่ โดยอ้างว่าครูสอนนักเรียนเสียงดัง 
ด้านครูผู้เสียหาย พยายามปิดประตูแต่ไม่ทัน ก่อนที่คนร้ายจะเดินเข้าไปชกต่อยที่ใบหน้า 2 หมัด และเดินหลบหนีไป

 

แม้ในตอนนี้ด้าน "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ทราบถึงภาระและความกังวลใจของคุณครูทั่วประเทศที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเวรกลางวันหรือเวรกลางคืน ได้สั่งการ สพฐ. ให้เสนอขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติคืนอัตรานักการภารโรงกว่า 14,000 ตำแหน่ง เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีนักการภารโรงประจำ ซึ่ง สพฐ. ได้จัดทำคำขอต่อ ครม. เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมา"

ที่มา : Nationtv

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related