svasdssvasds

เปิดประวัติ “ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์” ปธน.เยอรมนีเยือนไทยในรอบ 22 ปี

เปิดประวัติ “ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์” ปธน.เยอรมนีเยือนไทยในรอบ 22 ปี

เปิดประวัติ “ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์” ปธน.เยอรมนีคนแรกที่มาเยือนประเทศไทยในรอบ 22 ปี ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา เพื่อมาชมโครงการสำคัญของไทย และดึงเอกชนเยอรมันเข้ามาลงทุน

ครั้งสุดท้ายที่ ปธน.เยอรมันเยือนไทย คือ ปี 2545 ทำให้การมาของ “ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (Frank-Walter Steinmeier)” ในครั้งนี้ จึงถือเป็นการมาเยือนของคนระดับประธานาธิบดีของเยอรมันอย่างเป็นทางการในรอบ 22 ปีเลยทีเดียว

ประวัติ ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ปัจจุบันอายุ 68 ปี เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1956 ที่เมืองเด็ตโมลท์ เป็นบุตรชายของช่างไม้และคนงานในโรงงาน ในสมัยเรียนเขาชอบเข้าร่วมการประชุมของกลุ่ม Young Socialists ซึ่งเป็นฝ่ายเยาวชนของพรรค “สังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี (SPD) ” เป็นประจำ และหลังจากจบมัธยมปลายใน Blomberg ในปี 1974 เขาก็เข้าร่วมกับพรรคในที่สุด

ต่อมาในปี 1980 เขาได้รับปริญญาด้านกฎหมายและการเมืองจากมหาวิทยาลัย “กีเซน (Giessen) ” และเริ่มทำงานเป็นอาจารย์ที่นั่นในปี 1986 ในขณะที่ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกไปด้วย หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ออกจากแวดวงวิชาการและหันมาสนใจเรื่องการเมืองอย่างจริงจัง

ประวัติ ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์

ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1990 ชไตน์ไมเออร์ ได้เป็นผู้ช่วยที่ใกล้ชิดของ “แกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ (Gerhard Fritz Kurt Schröder)” นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีช่วงนั้น และในปี 1998 ชไตน์ไมเออร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศใน สถานเอกอัครราชทูตเยอรมันที่รับผิดชอบด้านบริการข่าวกรอง และปี1999 ถึงปี 2005 เขาดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี

ในการเลือกตั้งปี 2005 พรรคสหภาพคริสเตียนประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี (CDU) ซึ่งยึดจำนวนที่นั่งมากที่สุด (พร้อมกับพรรคน้องในบาวาเรีย คือ พรรคสหภาพสังคมคริสเตียน CSU) นั้น ไม่สามารถที่จะตั้งพรรคเสียงข้างมากร่วมกับพันธมิตรที่เป็นแนวร่วมที่ต้องการ นั่นคือ พรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) ได้

ทำให้ผู้นำ CDU คือ อังเกลา แมร์เคิล ซึ่งจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรี กลับหันไปหาพรรค SPD เพื่อจัดตั้งแนวร่วมที่ยิ่งใหญ่ เธอหันไปหาชไตน์ไมเออร์ ซึ่งเป็นคนสนิทของชโรเดอร์ ที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าและคู่แข่งทางการเมืองของเธอโดยไม่คาดคิด โดยเธอได้แต่งตั้งให้ชไตน์ไมเออร์ เป็นหัวหน้ากระทรวงการต่างประเทศ

แม้ว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะดูแหวกแนว แต่ในวงการการเมืองและการทูต การแต่งตั้งชไตน์ไมเออร์ก็ได้รับการอนุมัติ และในปี 2007 ชไตน์ไมเออร์ก็ได้เพิ่มบทบาทด้วยการเป็นรองนายกรัฐมนตรี และในปีเดียวกันนั้นเองเขายังดำรงตำแหน่งประธานสภายุโรปด้วย

ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ เครดิตภาพ : flickr / European Parliament

หลังจากนั้นในปี 2009 พรรค CDU-CSU และ FDP ได้รับที่นั่งในรัฐสภามากพอที่จะจัดตั้งแนวร่วมการปกครองได้โดยไม่มีพรรค SPD ส่วนชไตน์ไมเออร์ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้ารัฐสภาของ SPD ในบทบาทใหม่ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน และในเดือนสิงหาคม 2010 เขาก็ลาออกจากตำแหนง เพื่อบริจาคไตให้กับภรรยาที่ป่วย ซึ่งการปลูกถ่ายไตประสบความสำเร็จและเขาก็กลับมาสู่สนามการเมืองในปลายปีนั้น

ช่วงนั้นขั้ว CDU-CSU ล้มเหลวในการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐปี 2013แต่ FDP ล้มเหลวในการผ่านเกณฑ์ห้าเปอร์เซ็นต์ที่จำเป็นเพื่อให้ได้ที่นั่งในรัฐสภา การเจรจาหลายเดือนทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่ยิ่งใหญ่อีกชุดหนึ่ง จึงทำให้และชไตน์ไมเออร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอีกครั้ง แต่เมื่อ “โจอาคิม เกาต์ (Joachim Wilhelm Gauck) ” ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีในตอนนั้น ได้ประกาศว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 จึงทำให้ชไตน์ไมเออร์ก็กลายเป็นตัวเต็งที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อจากเขาอย่างรวดเร็ว

และในการประชุมพิเศษของสมาชิกรัฐสภาและผู้แทนจากสหพันธรัฐเยอรมนีซึ่งจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ชไตน์ไมเออร์ได้รับเลือกจากเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น ซึ่งเขาเข้าได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปีนั้น และดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ชไตน์ไมเออร์ จะได้รับความนิยมจากหลายฝ่าย แต่เขาก็ไม่รอดพ้นจากเสียงวิจารณ์ ซึ่งเขาถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายชาวเยอรมันที่ถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมและถูกส่งตัวไปยังอ่าวกวนตานาโมในคิวบา นั่นทำให้เขาเสียการยอมรับจากสาธารณชน และทำให้บางคนเกิดคำถามว่าเขามีความเป็นนักสังคมประชาธิปไตยมากพอที่จะกำหนดนิยามใหม่ของพรรค SPD ได้หรือไม่ 

ปธน.เยอรมัน มาเยือนไทยเพราะอะไร ?

ปธน.เยอรมัน มาเยือนไทยในรอบ 22 ปี เครดิตภาพ : reuters

ในส่วนของการมาเยือนประเทศไทย ชไตน์ไมเออร์ มีกำหนดพบหารือทวิภาคีกับ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีของไทย ระหว่างวันที่ 24 - 26 ม.ค. 2567 ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่า เป็นโอกาสของฝ่ายไทยและเยอรมนีในการเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรทั้งในด้านการเมือง การขยายโอกาสทางการค้า และการลงทุนของภาคเอกชนทั้งสองฝ่าย รวมทั้งต่อยอดความร่วมมือในมิติสำคัญต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การยกระดับความสัมพันธ์สู่ความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership)

ทั้งนี้ นายชไตน์ไมเออร์ ยังได้นำภาคเอกชน มา 12 บริษัท ซึ่งวันที่ 25 ม.ค. 2567 นายเศรษฐาได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) เพื่อชี้ให้เห็นว่า ไทยพร้อมสนับสนุนการลงทุนจากภาคเอกชนของเยอรมนี และหนึ่งในอาหารที่เลี้ยงในวันนั้น และได้รับการชื่นชมจากประธานาธิบดีเยอรมนี คือ “ต้มข่าไก่” ซึ่งนายชไตน์ไมเออร์กล่าวหลังจากได้ลิ้มลองว่า “ความอร่อยนี่เป็นเอกฉันท์ แต่เพิ่งจะเข้าใจความแตกต่างของคำว่า เผ็ด ของคนไทย กับเผ็ดของชาวต่างชาติ วันนี้เอง”

นอกจากนี้ ในงานแถลงวันเดียวกัน นายชไตน์ไมเออร์ยังแสดงความยินดีกับ นาย “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกลที่พ้นผิดในคดีถือครองหุ้นสื่อ และมีความคิดเห็นว่า การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คือพัฒนาการที่ดีของไทย

"ชไตน์ไมเออร์" มีกำหนดพบหารือทวิภาคีกับ "เศรษฐา ทวีสิน"  เครดิตภาพ : reuters

ส่วนวันที่ 26 ม.ค. 2567 ที่เป็นวันสุดท้าย ชไตน์ไมเออร์ และคณะจะเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำไฮบริดที่เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยโรงงานดังกล่าวมีศักยภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบไฮบริด จากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งช่วยส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทยภายในปี 2050 อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีและคณะผู้แทนเยอรมนีจะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

related