พาเปิด 5 เหตุผล ว่าทำไมดอกเบี้ยไม่ควรขึ้น ในการประชุมกนง.ครั้งหน้า! หลังดอกเบี้ยควรลด เงินเฟ้อลด -พ.ร.บ.งบรายจ่าย’67 ล่าช้า
ดอกเบี้ยขึ้น คือ ความทุกข์ร้อนของประชาชน โดยเฉพาะคนหาเช้ากินค่ำ ที่มีความจำเป็นต้องเป็นหนี้ แต่ต้องมาชดใช้กรรม ใช้หนี้ในยามที่บ้านเมืองดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่แบงก์กำไรอู้ฟู่ นี่คือคำถามจากประชาชนบนโลกออนไลน์ และในขณะที่เงินเฟ้อก็มีโอกาสลดลงต่อเนื่อง แต่… การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี เรื่องนี้ทำเอาค้านสายตานายกรัฐมนตรี และกระแสสังคม
แต่…ในเมื่อเป็นไปตามนั้นก็ไม่มีใครทำอะไรได้ วันนี้ #สปริงนิวส์ เลยจะพามาดูโอกาสในการประชุมกนง. ในครั้งหน้า ว่าหากดอกเบี้ยมีโอกาสจะลดลง จะมาจากปัจจัยใดสนับสนุนบ้าง ดังนี้
เหตุผลนี้เป็นมุมมองของนายกรัฐมนตรีที่อธิบายว่า ประเด็นเงินเฟ้อที่ติดลบอยู่ และอยู่ต่ำกว่ากรอบเงินเฟ้อที่รัฐบาล และ ธปท.หารือไว้ที่ 1 – 3% ดังนั้นหากปรับลดดอกเบี้ยลงมาเหลือ 2.25% ก็ยังมีพื้นที่อีกมาถ้าเกิดมีวิกฤติหรืออะไรเกิดขึ้นก็ยังสามารถลดดอกเบี้ยลงเพื่อบรรเทาวิกฤติลงได้อีกมาก
และล่าช้าไปกว่าปกติหลายเดือน รัฐบาลไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้มาตรการทางการคลังได้ หากมีมาตรการทางภาคการเงิน โดยลดดอกเบี้ยก็จะช่วยภาคเศรษฐกิจได้บางส่วน
ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับ 2.5% กับ 5.25 - 5.5% ถ้าหากอ้างอิงดอกเบี้ยที่แท้จริง (ดอกเบี้ย - เงินเฟ้อ) ก็จะเห็นว่า ทั้งไทยและสหรัฐฯจะอยู่ในระดับราว 3% ใกล้กัน ฉะนั้นไม่ได้แตกต่างกันมาก ทำให้มีช่องว่างที่จะสามารถลดดอกเบี้ยลงไปได้ในการประชุมรอบต่อไป ซึ่งนักวิเคราะห์หลักทรัพย์บางคนได้ชี้ให้เห็นประเด็นนี้แล้ว
เห็นได้จากข้อมูลการบริโภคภาคเอกชนในเดือน ธ.ค.ปีก่อนที่ขยายตัวได้ 5.9% ลดลงจากระดับ 2 เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ที่ระดับ 7.3% ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคชะลอตัว สืบเนื่องมาจากระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง ประชาชนมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยสูง
สอดคล้องกับข้อมูลของสภาหอการค้าฯ ที่ระบุว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบต่อเนื่อง 4 เดือน แม้ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการปรับลดเชิงเทคนิคตามนโยบายการลดภาระค่าครองชีพด้านพลังงานของภาครัฐ แต่บ่งชี้ให้เห็นถึงกำลังซื้อภายในประเทศที่อ่อนแอ
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะต้นทุนการกู้ยืมเงินของเอสเอ็มอี แม้ว่า ธปท.จะพยายามใช้มาตรการแก้หนี้แบบเฉพาะเจาะจง แต่ต้องยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นมาในช่วงปีที่ผ่านมา และยังคงที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน
ทั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการเอกชนมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่สูงเป็นความเสี่ยงต่อการทำธุรกิจ ซึ่งในประเด็นนี้ทำให้การคงดอกเบี้ยของ กนง.ในครั้งที่ผ่านมาทำให้ภาคเอกชนแสดงความผิดหวังต่อมติการคงดอกเบี้ยที่ไม่ได้ช่วยให้ต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชนลดลง
เรื่องดอกเบี้ย คนที่เป็นหนี้ หรือคนที่จะกู้รายใหม่ต้องลุ้น และจับตาต่อไปว่าการประชุม กนง.ในครั้งหน้าจะลดลงหรือไม่?
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง