svasdssvasds

พายุ แย้ง ดร.เอ้ เทียบ นายก กับ CEO สิงคโปร์แอร์ไลน์ ใครสอบตก ชี้สเกลงานต่างกัน

พายุ แย้ง ดร.เอ้ เทียบ นายก กับ CEO สิงคโปร์แอร์ไลน์ ใครสอบตก ชี้สเกลงานต่างกัน

พายุ แย้ง 'ดร.เอ้' เทียบภาวะผู้นำ ระหว่าง นายกฯ กับ ซีอีโอสิงคโปร์แอร์ไลน์ ชี้สเกลของความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน CEO ของสิงคโปร์แอร์ไลน์นั้น มีหน้าที่รับผิดชอบเพียงสายการบินเดียว แต่นายกฯเศรษฐา มีความรับผิดชอบทั้งประเทศ

จากกรณีที่ ดร.เอ้ สุชัชวีร์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเรื่อง "ภาวะผู้นำในการบริหารวิกฤติของ ซีอีโอสิงคโปร์แอร์ไลน์ vs. นายกรัฐมนตรีไทย ใครสอบตก ใครสอบผ่าน" โดยระบุว่า

"หนึ่งวัน" ในการจัดการวิกฤติของ ซีอีโอสิงคโปร์แอร์ไลน์ กรณีเครื่องบินตกหลุมอากาศ จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก เปรียบเทียบกับ "หนึ่งเดือน" ของ "ผู้นำไทย" กับวิกฤติโรงงานสารพิษ ที่มีชาวบ้านเดือดร้อนจำนวนมาก เราเรียนรู้อะไรบ้าง

  • "ซีอีโอสิงค์โปร์แอร์ไลน์" ออกแถลงการณ์ "ขอโทษ" ด้วยตนเอง "อย่างตรงไปตรงมา" ทันที ให้ข้อมูลฃโดยละเอียดพร้อมรับผิดชอบทุกกรณี ขณะที่ "นายกรัฐมนตรีไทย" ไม่เคยออกแถลงการณ์อย่างจริงใจว่า โรงงานเก็บสารเคมี "ไฟไหม้ได้อย่างไร" ใครเป็นเจ้าของตัวจริง ใครออกใบอนุญาต "หนึ่งเดือน" ยังเงียบ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่ชาวบ้านเดือนร้อนแสนสาหัส
  • "ซีอีโอสิงคโปร์แอร์ไลน์" ไปรับผู้โดยสารด้วยตนเอง และส่ง "ทีมใหญ่" มากรุงเทพ เพื่ออำนวยความสะดวก อย่างเต็มที่ โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ อยู่หน้างานตลอด "หนึ่งวัน" เต็ม เพื่อให้ความมั่นใจ ขณะที่ "นายกรัฐมนตรีไทย" ไปตรวจงานที่ระยอง แบบผ่านๆ "ครึ่งชั่วโมง" จากนั้น ไม่สนใจ ไม่ติดตาม ทำแบบขอไปที "ไม่รักประชาชน" ข้าราชการเห็นผู้นำไม่จริงจัง เขาก็ปล่อยเกียร์ว่าง "ไม่แก้ปัญหาเบ็ดเสร็จ"
  • "ซีอีโอสิงค์โปร์แอร์ไลน์" สัญญาจะ "เยียวยา" ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งผู้โดยสารและลูกเรือทุกคน ไม่มีข้อแก้ตัว ไม่ต้องให้มีการร้องเรียน ทั้งที่ "เป็นเหตุสุดวิสัยทางธรรมชาติ" ไม่ใช่ความผิดของใคร คือ แสดงออกถึง “ความจริงใจ” "ความรักลูกค้าและพนักงาน" ขณะที่ "นายกรัฐมนตรีไทย" ได้รับทั้งจดหมายร้องเรียนจากชาวบ้าน ได้ข่าวความเดือดร้อนรายวัน แต่ "ไม่เยียวยา" ไม่แก้ปัญหา คือ การแสดงออกว่า "ไม่รักประชาชน" "ไม่จริงใจ"

ข้อพิสูจน์ เปรียบเทียบภาวะผู้นำในการบริหารวิกฤติ ยืนยันว่า "นายกรัฐมนตรีไทยสอบตก" ทั้งที่มีเวลาถึงหนึ่งเดือน แต่ไม่แก้ปัญหา ขณะที่ "ซีอีโอสิงค์โปร์แอร์ไลน์สอบผ่าน" แก้ปัญหาได้เพียงหนึ่งวัน ด้วยความจริงใจและทุ่มเท

ท่านคิดว่า หลังวิกฤติ คนยังอยากขึ้นสิงคโปร์แอร์ไลน์หรือไม่ หรืออาจจะมีลูกค้าเยอะกว่าเดิมหรือไม่ เทียบกับประเทศไทย จะมีนักลงทุน และคนมีความรู้ความสามารถจากต่างประเทศ อยากมาลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยหรือไม่ ช่วยกันตอบทีครับ

พายุ แย้ง ดร.เอ้ เทียบ นายก กับ CEO สิงคโปร์แอร์ไลน์ ใครสอบตก ชี้สเกลงานต่างกัน

หลัง ดร.เอ้ ออกมาแสดงความคิดเห็นล่าสุดด้าน พายุ เนื่องจำนงค์ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง จ.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแย้งถึงความเห็นดังกล่าวผ่าน (X) @payunerng โดยระบุว่า มุมมองส่วนตัว: จากที่ได้อ่านบทความนี้ของทาง ดร.เอ้ สุชัชวีร์ ที่ผมมีโอกาสได้ทำความรู้จัก, เคารพและเห็นด้วยในแนวคิดหลายๆเรื่องของท่าน แต่ในกรณีการเปรียบเทียบสถานการณ์อุบัติเหตุทางอากาศของสายการบินสิงคโปร์ กับการบริหารจัดการเรื่องโรงงานไหม้ที่ระยอง ผมขออนุญาตเห็นต่างและมองว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือนเกณฑ์การวัดที่ทาง ดร.เอ้ นำมาใช้ในการประเมิณผลการบริหารของสองบุคคลที่ถูกกล่าวถึง

  1. หากยึดตาม logic การเปรียบเทียบของ ดร.เอ้ แล้ว.. ทาง CEO ของสิงคโปร์แอร์ไลน์นั้น มีหน้าที่รับผิดชอบเพียงสายการบินเดียวที่มีพนักงานอยู่ที่ 14,803 คน หรือหาก ดร. อยากรวมผู้โดยสารด้วยก็อยู่ที่ประมาณ 18.15 ล้านคน (ข้อมูลปี ‘22/’23).. แต่ในเวลาเดียวกัน นายกฯเศรษฐา นั้นมีความรับผิดชอบต่อทั้งประเทศที่มีประชากรอยู่ที่ 66,052,615 คน (ข้อมูลปี ‘23) หรือถ้ารวมนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวไทยในปีที่ผ่านมาไปด้วยก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 28.04 ล้านคน
  2. ที่ผมพูดถึงตัวเลขทั้งหมดนี้ในข้อที่ 1 ก็เพื่อเป็นตัวเลขเพื่อการเปรียบเทียบ scale ของความรับผิดชอบที่แตกต่างระหว่างสองบุคคลที่เห็นได้ชัด.. ซึ่งถ้าทาง ดร.เอ้ เองอยากจะเทียบให้ “สมน้ำสมเนื้อ” และแฟร์ต่อ ท่านนายกฯ ก็คงต้องให้ทาง CEO ของสิงคโปร์แอร์ไลน์นั้นมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทั้ง 26 สายการบินในเครือพันธมิตรการบิน Star Alliance ที่สิงคโปร์แอร์ไลน์นั้นเป็นสมาชิกอยู่รวมเข้าไปด้วยถึงจะเทียบกันได้
  3. กรณีวิกฤติที่ระยองนั้นเป็นเพียง 1 เรื่องของอีกหลากหลายวิกฤติที่ท่านนายกฯ ในฐานะ “CEO ของประเทศ” นั่นเฝ้าจับตาดูและแม้จะส่งผู้มีหน้าทีรับผิดชอบโดยตรงเข้าไปดูต่อในแต่ละเรื่อง ท่านก็ยังต้องบริหารจัดการและดูแลอยู่พร้อมๆกันให้แก่ประชาชน 66 ล้านชีวิตยังไม่รวมถึงนักท่องเที่ยว/ผู้ลี้ภัย/ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากไทย.. เช่น ผู้โดยสารและลูกเรือของไฟลท์สิงคโปร์แอร์ไลน์นี้ที่ต้องขอลงจอดฉุกเฉินในไทยนั้นรวมอยู่ด้วย
  4. การที่ CEO ของสิงคโปร์แอร์ไลน์นั้นบินมาไทยเพื่อมาดูแลผู้โดยสารของเขาเป็นสิ่งที่ดีและน่ายกย่องในฐานะผู้บริหารสายการบิน.. แต่โปรดอย่าลืมนะครับว่าก็เป็นทางรัฐบาลไทยภายใต้ความรับผิดชอบของท่านนายกฯเศรษฐา ที่เป็น first responder ที่ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือและดูแลผู้โดยสารและลูกเรือของเที่ยวบินนี้จนกระทั้งทางสิงคโปร์แอร์ไลน์สามารถมารับช่วงต่อ ที่แม้กระทั้งนายกฯของสิงคโปร์เองก็ได้ชื่นชมและขอบคุณรัฐบาลไทยในความช่วยเหลือนี้

ดังนั้นแม้กระทั้งตัวสถานการณ์วิกฤติของสิงคโปรแอร์ไลน์ที่ ดร.เอ้ เองได้นำมาเปรียบเทียบ “crisis management skills” ของท่านนายกฯเศรษฐา ก็ยังได้อานิสงส์จากการบริหารจัดการทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในไทย (ไม่ใช่แค่วิกฤติ) ของท่านนายกฯอยู่ดีครับ.. แล้วไม่สำคัญว่าท่านจะลงไปหน้างานกี่ครั้งในเมื่อท่านได้มีการสั่งการและติดตามเรื่องอยู่ตลอด behind the scene ในฐานะนักบริหาร.. ซึ่งสิ่งที่ ดร.เอ้ พูดถึงและใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยของเกณฑ์วัดการเปรียบเทียบในบทความนี้คือ skill การ “ประชาสัมพันธ์” มากกว่า skill การบริหารวิกฤติครับ.. ผมจึงขอฝากไว้ให้ ดร.เอ้ ลองพิจารณาดูอีกครั้ง 

พายุ แย้ง ดร.เอ้ เทียบ นายก กับ CEO สิงคโปร์แอร์ไลน์ ใครสอบตก ชี้สเกลงานต่างกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related