SHORT CUT
เน้นทำงานหนักไม่พัฒนาบุคลากร ผลสำรวจของ PMAT ชี้ชัด องค์กรไทยไม่ลงทุนพัฒนาคน หวั่นกระทบศักยภาพแรงงานไทยและเศรษฐกิจในอนาคต
จากผลการสำรวจของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย หรือ PMAT พบว่า องค์กรไทยมีการลงทุนพัฒนาคนเพียง 2% ของเงินเดือนต่อปีเท่านั้น
โดยเน้นการทำงานหนัก แต่ความสามารถเท่าเดิม การสำรวจนี้จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ครอบคลุม 98 องค์กร และบุคลากรกว่า 95,000 คน ใน 10 กลุ่มธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์จริงเกี่ยวกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย
ประเด็นสำคัญที่พบในการสำรวจชี้ให้เห็นว่า
1.องค์กรไทยใช้เวลาเฉลี่ย 42 วัน ในการหาคนทำงาน โดยเฉพาะตำแหน่งระดับบริหาร อาจใช้เวลานานถึง 90 วัน
2.ทักษะที่องค์กรต้องการจากผู้จบใหม่ คือ ความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยี รวมถึง AI และทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การปรับตัว และความยืดหยุ่น
3.อัตราค่าจ้างเริ่มต้นของไทยแตกต่างกันไปตามวุฒิการศึกษา โดย ปวส. สายสังคม เริ่มต้นที่ 9,000 บาท ขณะที่ ป.โท สายเทคโนโลยี เริ่มต้นที่ 18,000 บาท
4.สวัสดิการขององค์กรไทยยังไม่ดึงดูดใจ เมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยมีเพียง 28% ที่มีสวัสดิการแบบยืดหยุ่นให้เลือก
5.พนักงานกว่า 76% เป็น Gen Y และ Z ซึ่งต้องการความอิสระในการทำงาน
6.มีเพียง 20% ขององค์กรเท่านั้นที่ประเมินสุขภาพใจพนักงาน
7.พนักงานลาออกมากที่สุดเนื่องจากค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และโอกาสการทำงานที่ดีขึ้น
8.องค์กรส่วนใหญ่ (73%) มีการลงทุนด้านเทคโนโลยี HR โดย 33% นำ AI มาใช้
ซึ่งเรื่องดังกล่าวผลกระทบจากการละเลยการพัฒนาคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่ององค์กรไทยอาจสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถไป ขาดความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ซึ่งหากไม่มีการปรับปรุงอาจส่งผลยาวต่อแรงงานและการพัฒนาประเทศ
ข้อเสนอแนะคือองค์กรควรเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาบุคลากร สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ให้ความสำคัญกับสุขภาพใจของพนักงาน ปรับปรุงสวัสดิการให้มีความยืดหยุ่นและตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานมากขึ้น
อ้างอิง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง