svasdssvasds

คนญี่ปุ่นทำงานน้อยลง เน้นสมดุลชีวิต บอกลาเทรนด์ทำงานหนักจนตาย !?

คนญี่ปุ่นทำงานน้อยลง เน้นสมดุลชีวิต บอกลาเทรนด์ทำงานหนักจนตาย !?

คนหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นกำลังหันหลังให้กับวัฒนธรรมการทำงานหนักแบบหามรุ่งหามค่ำแบบคนรุ่นพ่อแม่ มีสัปดาห์การทำงานสั้นลง ไม่ง้อบริษัท เพราะเลือกได้

SHORT CUT

  • The True Economy of Japan ในปลายปี 2024 เผยว่า คนงานญี่ปุ่นรุ่นใหม่กำลังมีชั่วโมงทำงานน้อยลง กว่าที่เคยเป็นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษนี้
  • การลดลงของชั่วโมงทำงานมีความเด่นชัดที่สุดในกลุ่มผู้ชายอายุ 20 ปี โดยในปี 2000 พวกเขาทำงานเฉลี่ย 46.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ในปี 2023 ลดลงเหลือเพียง 38.1 ชั่วโมง
  • คนรุ่นใหม่มีข้อได้เปรียบตรงที่ "อำนาจในการต่อรอง" เพราะญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหาขาดแคลดแรงงานอย่างหนัก บริษัทต่างๆ จึงพยายามแย่งตัวพนักงานรุ่นใหม่กัน

คนหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นกำลังหันหลังให้กับวัฒนธรรมการทำงานหนักแบบหามรุ่งหามค่ำแบบคนรุ่นพ่อแม่ มีสัปดาห์การทำงานสั้นลง ไม่ง้อบริษัท เพราะเลือกได้

เป็นที่รู้กันว่า คนญี่ปุ่นทำงานหนักจนมีคำที่เรียกว่า "คาโรชิ" (Karoshi) ซึ่งหมายถึง "การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก" สะท้อนความจริงอันโหดร้ายของสังคมที่หยั่งรากลึกในแนวคิดเรื่องความขยันและความทุ่มเท

เมื่อพนักงานจำนวนมากยอมเสียสละสุขภาพส่วนตัวเพื่อความจงรักภักดีต่อองค์กรและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ความมุ่งมั่นที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้มักนำไปสู่การทำงานล่วงเวลาที่มากเกินไป การขาดการพักผ่อน และความเครียดอันมหาศาล ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างร้ายแรง เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง และการฆ่าตัวตายที่เชื่อมโยงกับการทำงานหนักจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการปฏิวัติที่เงียบจะเกิดขึ้น ตามรายงานล่าสุดของ The True Economy of Japan ในปลายปี 2024 เผยว่า คนงานญี่ปุ่นรุ่นใหม่กำลังมีชั่วโมงทำงานน้อยลง กว่าที่เคยเป็นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษนี้ ซึ่งจุดประกายความหวังว่า ‘คาโรชิ’ อาจจะเริ่มลดลงในที่สุด

คนญี่ปุ่นทำงานน้อยลง เน้นสมดุลชีวิต บอกลาเทรนด์ทำงานหนักจนตาย !?

พอกันที่ ทำงานหนักเพื่ออะไร ? 

รายงานเผยว่า การลดลงของชั่วโมงทำงานมีความเด่นชัดที่สุดในกลุ่มผู้ชายอายุ 20 ปี โดยในปี 2000 พวกเขาทำงานเฉลี่ย 46.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ในปี 2023 ลดลงเหลือเพียง 38.1 ชั่วโมง

ผู้เชี่ยวชาญในญี่ปุ่นมองว่า คนหนุ่มสาวกำลังตัดสินใจไม่ต้องการเสียสละตัวเองเพื่อบริษัท และถือเป็นสิ่งที่ฉลาดมากๆ

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพราะเจเนอเรชันที่เปลี่ยนแปลง คนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ Work-life balance และปฏิเสธที่จะยอมรับสภาพการทำงานที่หนักหน่วง ซึ่งแตกต่างจากพ่อแม่ของพวกเขาที่ยอมทำงานหนักเพื่อแลกกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในหน้าที่การงาน

กล่าวคือ ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว และยิ่งคนทำงานมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งมีรายได้มากขึ้น แต่ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่มองว่า ยิ่งพวกเขาทำงานหนักมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ถูกเอาเปรียบมากขึ้นเท่านั้น

คนญี่ปุ่นทำงานน้อยลง เน้นสมดุลชีวิต บอกลาเทรนด์ทำงานหนักจนตาย !?

คนรุ่นใหม่ต้องการแค่ความมั่นคงในชีวิตประจำวัน 

คนรุ่นใหม่มีข้อได้เปรียบตรงที่ "อำนาจในการต่อรอง" เพราะญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหาขาดแคลดแรงงานอย่างหนัก บริษัทต่างๆ จึงพยายามแย่งตัวพนักงานรุ่นใหม่กัน ดังนั้นการย้ายงานเมื่อไม่พอใจที่ทำงานเดิมจึงไม่ใช่เรื่องยาก

คนหนุ่มสาวรู้สึกว่ามันยากที่จะมีความฝันเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการเพียงความมั่นคงในชีวิตประจำวันเท่านั้น พวกเขาแค่ต้องการหาเงินให้พอใช้ เพื่อให้ชีวิตสบายในปัจจุบันก็พอ

ที่มา : scmp 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related